ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในกรุงเทพฯหลายแห่ง
ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรเป็นแห่งแรกที่วัดมหรรณพาราม เมื่อ พ.ศ.2427 ราษฎรเกรงว่ารัฐบาลตั้งโรงเรียนขึ้นก็เพื่อราษฎรไปเป็นทหาร เนื่องจากการเป็นทหารในสมัยนั้นมีความลำบากมาก พระองค์ต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศชี้แจง และชักชวนให้ราษฎรนิยมเรียนหนังสือ จึงทำให้การจัดตั้งโรงเรียนแพร่ออกสู่หัวเมืองมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาประกาศตั้งกรมศึกษาธิการขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2430
เพื่อให้ดูแลจัดการการศึกษาโดยเฉพาะ และเมื่อมีโรงเรียนเพิ่มมากยิ่งขึ้น จึงฐานะกรมศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมการ
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 แม้การโรงเรียนทั้งในกรุงเทพฯ
และหัวเมืองจะแพร่หลายกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก
ก็ยังไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย ทรงมีพระราชปรารภว่ายังสามารถให้การศึกษาแก่ราษฎรได้อย่างทั่วถึง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศตั้ง โรงเรียนมูลสามัญศึกษา ขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน
2435 ครูผู้สอนในสมัยนั้น ได้แก่พระภิกษุที่อยู่ในวัดและจัดสอนตามหลักสูตรสามัญ
แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือโรงเรียนมูลสามัญชั้นต่ำ และโรงเรียนมูลสามัญชั้นสูง
ในระยะแรกให้อาจารย์ผู้สอนจัดเก็บค่าธรรมเนียมเอง
ดังข้อความสำคัญที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 9 ร.ศ. 111 (2435) หน้า 93-95
ตอนหนึ่ง ความว่า
นอกจากนี้ในตอนท้ายของประกาศยังเน้นชัดอีกว่า
บรรดาโรงเรียนซึ่งตั้งในพระอารามแลวัดต่าง ๆ
ประกาศนี้ ถ้าสอนตามแบบเรียนหลวงแล้ว ให้นับเป็นโรงเรียนหลวงทั้งสิ้น จากประกาศฉบับนี้มีผลทำการตั้งโรงเรียนขึ้นตามวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร
รวมทั้งจังหวัดฉะเชิงเทราด้วย ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
แสดงว่าหลังประกาศตั้งโรงเรียนมูลสามัญศึกษาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2435 แล้ว
การศึกษาที่วัดสายชลฯ
จึงมีฐานะโรงเรียนมูลสามัญศึกษาโรงเรียนหนึ่งของเมืองฉะเชิงเทรา
ในชื่อแรกคงใช้ชื่อโรงเรียนตามชื่อวัด โดยใช้ศาลาการเปรียญของวัดเป็นสถานศึกษาเล่าเรียนเปิดสอนทั้งชั้นมูลและชั้นประถม
หรือกล่าวได้ว่า โรงเรียนวัดสายชล ณรังษี (แหลมบน)
เป็นโรงเรียนหลวงของเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งขณะนั้นเจ้าคณะจังหวัด คือ
ครูญาณรังษีมุนีวงษ์ (พระครูมี) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
ด้วยการศึกษาเริ่มแพร่หลาย มีผู้ส่งบุตรหลานให้เข้ารับการศึกษามากขึ้น
จึงต้องขยายที่เรียนให้เพียงพอแก่นักเรียน
จึงใช้โรงทึมที่หลวงอาณัติจีนประชาสร้างขึ้นเพื่อบำเพ็ญกุศลศพของวิสูตรจีนชาติแล้วถวายให้วัดเมื่อ
พ.ศ.2438
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงปฏิรูปการปกครองพร้อมกันไปด้วย โดยจัดแบ่งหัวเมืองออกเป็นมณฑล
(มณฑลเทศาภิบาล) และได้จัดตั้งมณฑลปราจีนขึ้นในปี 2437 ต่อมาทรงมีพระราชปรารภว่า เมืองฉะเชิงเทรามีราชการมากกว่าเมืองอื่นๆ ทั้งยังมีทางรถไฟ
และเป็นเมืองท่ามกลางมณฑล
สมควรย้ายที่ว่าการมณฑลมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทราจะเป็นการสะดวกแก่การปกครองและการบังคับบัญชา จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ว่าการมณฑลมาตั้งทีเมืองฉะเชิงเทราตั้งแต่วันที่
8 มกราคม 2445 ต่อมา ทรงมรพระราชประสงค์ที่จะจัดการการศึกษาให้เป็นแบบแผนเดียวกันทั่วทั้งประเทศ
จึงทรงมอบให้กระทรวงธรรมการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ โดยให้มีการศึกษาตาม
โครงการจัดการการศึกษาตามแบบอย่างอังกฤษ พ.ศ.2441 กล่าวคือแบ่งการศึกษาเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ชั้นมูล ชั้นประถม ชั้นมัธยม
และอุดมศึกษา
และจัดให้การศึกษาในโรงเรียนเพื่อให้เป็นแบบอย่างเฉพาะในเมืองที่เป็นที่ตั้งมณฑลขึ้นก่อน
กระทรวงธรรมการจึงได้ส่ง
ขุนวิธานดรุณกิจ ออกมาจัดการการศึกษาในมณฑลปราจีนบุรี ฉะเชิงเทราเป็นคนแรก
โดยมีท่านเจ้าคุณทักษิณคณิศร แม่กองการศึกษาและแม่กองสอบไล่มาเป็นประธานร่วมด้วย
เมือร่วมกันพิจารณากันว่าเห็นพ้องกันว่า โรงเรียนวัดสายชล
ณ รังษี (แหลมบน) มีความเหมาะสมที่จะเป็นตัวอย่างมากกว่าโรงเรียนวัดอื่นๆในละแวกเดียวกัน
ด้วยเหตุผล 3 ประการคือ
1.
วัดนี้เจ้าคณะแขวง คือ
ท่านพระครูคณานุกิจวิจารย์ (พระ ครูเฮ้ย) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
ประกอบกับท่านเป็นกำลังสำคัญและเอาใจใส่ดูแลการศึกษา ของเด็กเป็นอย่างดีมาโดยตลอด
2.
วัดนี้มีสถานที่เรียนกว้างขวาง โดยทางวัดได้มอบศาลาการเปรียญ
และโรงทึม ซึ่งทางวัดไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์อื่นใดมากนัก
ให้ใช้เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน และยังสามารถขยายการรับฝากเด็ก
ให้เพิ่มมากขึ้นได้อีกพอควร
3.
วัดนี้ได้เอาใจใส่หลักสูตรการเรียน
จนเข้ารูปเข้ารอยบ้างแล้ว และมีจำนวนเด็กเข้าเรียนมากกว่าวัดอื่นๆ
นอกจากเด็กที่อยู่ประจำในวัดแล้วยังมีเด็กชาวบ้านประเภทเดินเรียนอีกด้วย
เมื่อเห็นพ้องตรงกันดังนี้
จึงแจ้งให้กระทรวงธรรมการทราบเป็นทางการด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
โรงเรียนวัดสายชล ณ รังษี (แหลมบน) จึงได้รับเลือกและยกฐานะขึ้นเป็นโรงเรียนรัฐบาลตัวอย่างประจำมณฑลปราจีน
เมื่อปี พ.ศ. 2446 แบ่งนักเรียนตามประเภทความรู้ได้ 2 ระดับ
คือชั้นมูลและชั้นประถม แต่ยังคงเรียนรวมกันอยู่
บนศาลาการเปรียญของวัด ครันเมื่อกระทรวงธรรมการส่งครูมาให้ 2 คน คือ
ครูมั่ง พระปัญญา และครูต่ำ (ไม่ทราบนามสกุล) จึงได้แยกนักเรียนชั้นประถมลงมาที่โรงทึม
แล้วขนานนามโรงเรียนวัดสายชลฯ เสียใหม่ว่า โรงเรียนอาณัตยาคมโดยชื่อสกุลของพระวิสูตรจีนชาติ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เจ้าสกุลสืบ
นับว่าโรงเรียนวัดสายชล ณ รังษี
(แหลมบน) เป็นโรงเรียนที่เป็นรากฐานอันสำคัญอย่างยิ่ง
การศึกษาของเมืองฉะเชิงเทรา หลังจากเปิดทำการสอนได้ 2 ปี
โรงเรียนอาณัตยาคมกลายเป็นสนามสอบไล่ตามคำสั่งของท่านเจ้าคุณทักษิณคณิศร
เจ้าอาวาสวัดบางยี่เรือใต้คลองบางกอกใหญ่ ธนบุรี ซึ่งเป็นเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรีด้วย
ได้มีคำสั่งให้ครูโรงเรียนต่างในจังหวัดฉะเชิงเทรา
มาสมทบสอบไล่ที่โรงเรียนอาณัตยาคม
และท่านเจ้าคุณทักษิณคณิศรได้พาข้าหลวงและพนักงานสอบไล่มาทำการสอบเมื่อเดือนพฤษภาคมพ.ศ.2488
โดยมีหลวงบำนาญวรญาณเป็นหัวหน้าคณะสอบ โรงเรียนที่มาสอบไล่ดังนี้
·
โรงเรียนเทพพิทยาคม วัดเทพนิมิตร
·
โรงเรียนอุคมพิทยา วัดสมาน
·
โรงเรียนดรุณพิทยาคาร วัดแหลมล่าง
·
โรงเรียนอาณัตยาคม วัดสายชล ณ รังษี
แม้จะเปิดทำการสอน
แต่อยู่ได้ไม่นานนักก็จำเป็นต้องย้ายด้วยอุปสรรคทางด้านการคมนาคม
ช่วงที่
2 พ.ศ. 2450-พ.ศ.2480 (ที่วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์)
พ.ศ.2449
ทางราชการกำหนดให้มีการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯถึงฉะเชิงเทรา
จึงมีการจัดวางผังเมืองให้รับกับความเจริญ
ด้วยเหตุที่กล่าวทำให้ตัวเมืองเป็นย่านชุมชนมากกว่าที่วัดสายชล ณ รังษี
กระทรวงธรรมการจึงมีคำสั่งให้ย้ายโรงเรียนประจำมณฑลปราจีน มาอยู่ที่วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์
เมื่อ พ.ศ. 2450 โดยใช้ศาลาการเปรียญของวัดเป็นสถานที่เรียน
และครูที่กระทรวงธรรมการส่งให้ไปประจำที่โรงเรียนอาณัตยาคม คือครูมั่ง พระปัญญา
ก็มีคำสั่งให้ย้ายมาด้วย
เมื่อโรงเรียนประจำมณฑลย้ายมาที่วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์นักเรียนส่วนหนึ่งย้ายตามมา
บางส่วนยังเรียนที่เดิมและได้มีการขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้นทำให้สถานที่เรียนเดิมคือศาลาการเปรียญ
และหอสวดมนต์ไม่เพียงพอที่จะรองรับนักเรียนได้หลวงพ่อแก้วหรือพระอธิการแก้วซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
ขณะนั้นได้อนุญาตให้ใช้เงินของท่านเพื่อปลูกเรือนไมทรงปั้นหยา 2 ชั้น
ใกล้กับบริเวณสระน้ำ เรือนปั้นหยาที่ทรงสร้างขึ้นนี้
ชั้นบนเป็นที่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยม ส่วนชั้นล่างเป็นของนักเรียนชั้นประถม 2
และ3 ที่ศาลาการเปรียญให้เป็นที่เรียนของชั้นมูลและชั้นประถม 1
โรงเรียนได้ชื่อตามวัดคือโรงเรียนปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ และมีครูแปลกเป็นครูใหญ่คนแรกที่กระทรวงธรรมการส่งมา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑล ทรงปรารภมีความว่า จังหวัดนี้ก็เป็นที่ตั้งศาลามณฑล หากมีสถานศึกษาที่กว้างขวางและมั่นคงแล้วกุลบุตรกุลธิดาก็จะได้รับการอบรมสั่งสอนที่แพร่หลายออกไป
คู่ควรกับความเจริญของบ้านเมือง จึงโปรดเกล้าฯ
ให้ขุนวิธานดรุณกิจ เป็นผู้หาเงินสร้างโรงเรียนใหม่
ด้วยการบอกบุญเรี่ยไรบรรดาข้าราชการ พ่อค้าและประชาชนในจังหวัด ตามแต่ความปรารถนาและความศรัทธาในการศึกษาของกุลบุตรกุลธิดา
จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2453 ขุนวิธานดรุณกิจรวบรวมเงินฝากคลังไว้ได้ 1,433.66 บาท เงินจำนวนนี้ก็ยังไม่พอแก่ความต้องการที่จะสร้างโรงเรียนหลังใหม่ขึ้นได้ไม่บังเอิญขุนวิธานดรุณกิจ
ต้องย้ายไปรับราชการที่อื่น การก่อสร้างจำต้องชะงักไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ทางราชการได้แต่งตั้งขุนบรรหารวรอรรถ มาดำรงตำแหน่งแทน
จึงได้รับงานนี้มาดำเนินต่อไป จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2455 รวบรวมเงินเพิ่มได้อีก
2,205.43 บาท เมื่อรวมกับเงินที่หาได้คราวแรกจะเป็นเงิน 3,639.09 บาท ก็ยังไม่พอเพียงแก่การสร้างอาคารเรียน
กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์
สมุหเทศาภิบาลมณฑลจึงโปรดอนุญาตประทานเงินที่เหลือจากการทำสังเค็ด (
ของที่ถวายแก่พระสงฆ์เมื่อเวลาปลงศพ)
เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช เป็นเงิน 2,930.32 บาท กับเงินของพระอธิการแก้ว เจ้าอาวาสวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์
(เวลามรณภาพแล้ว) ซึ่งเป็นเงินสงฆ์อีก 2,888.82 บาท
ในการเสด็จในกรม (กรมขุนมรุพงษ์ ฯ) ยังประทานกระแสรับสั่งว่า
หากเงินจำนวนนี้ยังไม่พอแก่การก่อสร้างโรงเรียนหลังใหม่ขึ้นแล้วก็ทรงยินดีจะสละทรัพย์ส่วนพระองค์เข้าร่วมสมทบเพิ่มเติมให้สร้างขึ้นจนสำเร็จจงได้
ธรรมการมณฑล (ขุนบรรหารวรอรรถ)
จึงทำการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างในวงเงิน 9,458.23 บาท ปรากฏผู้เสนอราคาต่ำสุดเป็นเงิน
9,000บาท จึงทำสัญญาก่อสร้างโรงเรียนขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์
พ.ศ. 2455 ตามแบบรูปรายการ (ในเนื้อของสระว่ายน้ำโรงเรียนในปัจจุบัน)เป็นเรือนไม้ชั้นเดียวใต้ถุนเตี้ยในระหว่างการก่อสร้างซึ่งตั้งเสาวางเครื่องบนไว้เสร็จแล้วนั้นเกิดพายุพัดโหมอย่างแรงกล้า
ทำให้โครงสร้างหักพังลงมาทั้งหลัง การก่อสร้างจึงล่าช้ามาถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.
2456 อาคารเรียนหลังนี้จึงสำเร็จเรียบร้อย
เสด็จในกรม
(กรมขุนมรุพงษ์ ฯ ) จึงแจ้งไปยังกระทรวงธรรมการ
เพื่อนำความกราบขึ้นบังคมทูลพระราชกรุณาขอพระราชทานนามโรงเรียนหลังนี้ และในวันที่
30 ธันวาคม พ.ศ.2456 กระทรวงธรรมการแจ้งกลับมาว่า ได้นำความกราบขึ้งบังคมทูลแล้ว
พระองค์ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนว่า เบญจมราชูทิศ ทางโรงเรียนได้ทำพิธีเปิดป้ายนามโรงเรียนไปก่อนแล้ว
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2456 ใช้เป็นสถานที่เรียนสืบมา
ขุนบรรหารวรอรรถ
ผู้เป็นกำลังสำคัญคนหนึ่งให้ เบญจมราชูทิศ ยืนเด่นขึ้นมาได้นั้นต้องย้ายไปรับราชการในตำแหน่งข้าหลวงตรวจการศึกษาภาคตะวันออกเสีย
เมื่อต้นปี 2460 ทางราชการได้เลื่อนหลวงอำนวยศิลปศาสตร์ (ธรรมการจังหวัด)
ขึ้นเป็นกรรมการมณฑล ท่านผู้นี้มีความสนใจเรื่องการศึกษาเป็นอันมาก
เป็นเหตุให้การศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทราเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ โรงเรียนเบญจมราชูทิศมีสถานที่ไม่เพียงพอแก่การรับนักเรียนที่ทวีมากขึ้นแม้ว่าจะมีโรงเรียนอยู่ที่วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์
ท่านธรรมการมณฑลจึงมีความดำริว่า จะต้องสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้นอีกหลังหนึ่ง
มิฉะนั้นนักเรียนจะประสบอุปสรรคสถานที่เรียน
ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สมควรจะต้องรอต่อไปให้ล่าช้า จึงนำความขึ้นทูล ม.จ.ธำรงศิริ
ศรีธวัช (สมุหเทศาภิบาล) ให้ทราบถึงความดำรินั้น
ปรากฏว่ามีความศึกษาของมณฑลขึ้นจำนวนหนึ่ง
และเรียกช่างมารับเหมาก่อสร้างโรงเรียนหลังใหม่ช่างประมูลได้ในราคา 20,00.00 บาท ดำเนินการก่อสร้าง
(ในเนื้อที่ทางด้านตะวันออกของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
คือสนามฟุตบอลของโรงเรียนในปัจจุบัน) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2462
เป็นต้นไปจนแล้วเสร็จ เปิดเป็นอาคารเรียนได้เมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ.2463
ลักษณะอาคารเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวมีมุขกลางใต้ถุนสูงโปร่ง มีบันไดขึ้นลงสองข้างมุข
ม.จ.ธำรงศิริ ศรีธวัช
จึงแจ้งไปยังกระทรวงธรรมการเพื่อนำความกราบขึ้นบังคมทูลขอพระทานนามโรงเรียน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ
พระราชทานนามว่า ฉะเชิงเทรารังสฤษฎิ์
จึงได้จัดงานพิธีฉลองอาคารใหม่ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
เสด็จมาชักแพรเปิดป้าย
พ.ศ.
2478 ขณะที่หลวงอาจวิชาสรร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
และรั้งตำแหน่งข้าหลวงตรวจการศึกษาธิการด้วย ได้ปรึกษาปัญหากับนายสุบิน พิมพยะจันทร์
ธรรมการจังหวัด ว่าทั้งโรงเรียนเบญจมราชูทิศและโรงเรียนฉะเชิงเทรารังสฤษฎิ์
สร้างมานานปีชำรุดทรุดโทรมลงมาก นักเรียนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สภาพอาคารขาดความมั่นคงแข็งแรง
ควรจะยุบโรงเรียนสองหลังแล้วปลูกสร้างขึ้นใหม่ในที่ดินของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
รวมชื่อโรงเรียนทั้งสองหลังตั้งเป็นชื่อใหม่ว่า เบญจมฉะเชิงเทรา
โดยใช้นามเดิมของโรงเรียนเก่าทั้งสองหลังรวมกันสมควรกว่า
ช่วงที่
3 พ.ศ.2480 จนถึงปัจจุบัน
วันที่
22 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ทางราชการมีคำสั่งย้ายหลวงอาจวิชาสรร
ไปดำรงตำแหน่งเลขานุการกรมการศาสนา และแต่งตั้งนายศิริพล (ย้อย) วรสินธุ์
มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน จึงเริ่มดำเนินการเรื่องนี้ต่อจากโครงการเดิมร่วมกับนายสุบิน พิมพยะจันทร์
ธรรมการจังหวัด โดยรื้อโรงเรียนทั้งสองหลังลงเมื่อ พ.ศ.2480
เพื่อนำวัสดุเก่าที่ใช้ได้ มีเสา พื้น ฝา และกระเบื้อง เป็นต้นไปก่อสร้างร่วมกับโรงเรียนหลังใหม่
ในระหว่างที่ไม่มีอาคารเรียนนั้น
คณะครู 13 คน และนักเรียน 310 คน ได้รับเมตตาจิตจาก ร.อ.หลวงกำจัดไพริน
ผู้บังคับกองพันทหารช่างที่ 2 (ค่ายศรีโสธร) ให้ยืมเรือนนอนทหาร 1 หลัง
เพื่อใช้เป็นสถานศึกษาจนตลอดปีการศึกษา 2481
ความหวังที่จะได้อาคารเรียนใหม่เริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นด้วยความเห็นชอบของหลวงนรกิจบริหาร
ข้าหลวงประจำจังหวัด นายสุบิน
พิมพยะจันทร์ ธรรมการจังหวัด และนายศิริพล (ย้อย) วรสินธุ์
ครูใหญ่ เป็นอาคารเรียน (เรือนไม้) 2 ชั้น เมื่อ พ.ศ. 2480 เริ่มย้ายจากค่ายทหาร
ช.พัน 2 กลับมายังอาคารเรียนหลังใหม่ในเดือน กรกฎาคม สิงหาคม พ.ศ.2481
ต่อมานายสุบิน พิมพยะจันทร์
ธรรมการจังหวัดได้ทำสัญญากับนายสุวรรณ แสงส่งเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2481
ทำการกั้นฝาชั้นล่างด้วยเงินการจรอีก 1,895.00 บาท ให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน หลังจากวันทำสัญญา ฉะนั้น เบญจมราชรังสฤษฎิ์
ก็สำเร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะใช้เป็นอาคารเรียนสมบูรณ์ มีห้องเรียนทั้ง 2 ชั้น รวม
20 ห้อง มีห้องประชุมอยู่กลางอาคาร (ชั้นกลาง) ในเวลาเดียวกันนี้ได้ทำสัญญาทาสี
อาคารเรียนทั้งหลังระหว่างนายสุบิน พิมพยะจันทร์ กับนายเค็งคุน แซ่อุ๊ย
ด้วยเงินการจรอีก 2,650.00 บาท ให้เสร็จภายใน 150
วันนับจากวันทำสัญญา
พล.ร.ร.หลวงสินธุ์สงครามชัย
(สินธุ์ กมลนาวิน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการได้มาเป็นประธานพิธีชักแพรเปิดป้ายนามโรงเรียน
มีชื่อเต็ม ๆ ว่า โรงเรียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา เบญจมราชรังสฤษฎิ์ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน
พ.ศ.2482
ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง การเปลี่ยนชื่อโรงเรียนรัฐบาลเพื่อความเหมาะสม ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.
2494 และตามหนังสือของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 16542/2494 ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.
2494 ในสมัยนายเลียง ไชยกาล
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยเปลี่ยนชื่อจากเดิมเป็น
โรงเรียนประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา เบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ปี พ.ศ. 2496 เป็นโรงเรียนหนึ่งที่อยู่ในข่ายปรับปรุงขององค์การส่งเสริมการศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา
มีแผนกเรียนจัดไว้เป็นวิชาเลือก แยกเรียน 4 แผนก คือแผนกวิสามัญ (แผนกหนังสือ)
แผนกช่าง แผนกพาณิชย์ และแผนกเกษตร โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศประจำองค์การฯ
ชื่อ ดร.ออสเซี่ยน ฟล้อค
(Dr. Ossian Flock)
คอยให้ความช่วยเหลือและแนะนำอยู่เสมอ เรียกกันในสมัยนั้นว่าโรงเรียนมัธยมวิสามัญแบบประสม
(Comprehensive
High School) นับเป็นโรงเรียนแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการปรับปรุงทางด้านการศึกษา
ต้นปีการศึกษา
2501 ได้เปิดสอนระดับเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์เป็นแบบสหศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากเดิมเป็น โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
สืบมาจนปัจจุบันนี้
ปีการศึกษา
2511 เข้าโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสม (ค.ม.ส.) รุ่นที่ 2 เป็นโรงเรียนที่ 7
ของโครงการใช้หลักสูตร ค.ม.ส. ในระดับมศ.ต้น
ปีการศึกษา
2515 เริ่มใช้หลักสูตร ค.ม.ส.ในระดับ มศ.ปลาย
แผนกทั่วไปและเริ่มเปิดรับนักเรียนเป็นสหศึกษา ตั้งแต่ชั้น มศ.1 เป็นต้นมา
ปีการศึกษา
2518 เริ่มใช้หลักสูตรมัธยมศึกษา ตอนปลาย พ.ศ.2518 ในชั้น มศ.4
ปีการศึกษา
2521 เริ่มใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ.2521 ในชั้นม.1
ปีการศึกษา 2524 เริ่มใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
พ.ศ.2524 ในชั้น ม.4
|