> |
Home :>News | จดหมายข่าว |
|
|
รายงานการเข้าร่วมกิจกรรม THE 3th TPA ROBOT GRAND-PRIX JUNIOR 2003 ระหว่างวันที่ 24-25 เมษายน 2546 ณ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (สสสท.) กรุงเทพมหานคร
ความเป็นมา ผู้จัดการแข่งขัน THE 3th TPA ROBOT GRAND-PRIX JUNIOR 2003 คือ มูลนิธิส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ได้ดำเนินการจัดการให้ความรู้ และจัดการแข่งขันหุ่นยนต์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แก่เยาวชน ซึ่งมูลนิธิได้เชิญให้โรงเรียนมัธยมศึกษาทุกโรงที่มีความพร้อมส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันโรงเรียนละ 3 ทีม ๆ ละ 3 คน ซึ่งโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์โดยหมวดวิชาคอมพิวเตอร์ ได้ส่งนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันจำนวน 3 ทีม เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 คน และ มัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 3 คน ได้แก่ ทีมที่ 1 1. นายสิทธิโชค ศรีบริบูรณ์ 2. นายกิตติคุณ ตันติวาณิชกิจ 3. นายกมล วัฒนอรุณวงศ์ ทีมที่ 2 1. นายนพรัตน์ เซ่งฮวด 2. นายธนะชัย แสงวงศ์ทอง 3. น.ส.เบญจพร พรมลี ทีมที่ 3 1. นายนิรุตต์ อรรถศิริปัญญา 2. น.ส.กชมน รัตนวราหะ 3. น.ส.วันวิสาข์ คงสกุล
การแข่งขัน จัดเข้ารับการอบรมรุ่นที่ 1 วันที่ 24-25 เมษายน 2546 ณ อาคารสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (สสสท.) ซอย 18 ถนนพัฒนาการ กรุงเทพมหานครฯ ประกาศผลการเข้ารอบแข่งขัน 32 ทีม ที่ เดอะมอลล์ บางกะปิ ระหว่างวันที่ 7-8 มิถุนายน 2546 ผลการเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 24-25 เมษายน 2546 1. นักเรียนทั้ง 3 ทีมเข้าร่วมกิจกรรมรับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหุ่นยนต์ในวันที่ 24 2. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมรับความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมกำกับหุ่นยนต์ในวันที่ 25 3. นักเรียนร่วมกิจกรรมแข่งขันเก็บคะแนนจากสนามที่ 1 และ 2 มีรายละเอียดดังนี้ 1. เตรียมโปรแกรมบังคับหุ่นยนต์ตามโจทย์กำหนดเป็นเวลา 2.30 ชั่วโมง 2. จับฉลากเพื่อจัดลำดับการแข่งขัน 3. แข่งขันตามลำดับที่ 3 และ 4 และ 6 ผลการแข่งขัน ได้ 4 และ 2 และ 0 คะแนน ซึ่งผลการแข่งขันของทีมทั้ง 15 ทีมใกล้เคียงกัน 4. ผลการแข่งขันจะประกาศและแจ้งให้ทราบในวันที่ 13 พฤษภาคม 2546
ผลสำเร็จ 1. นักเรียนของเราได้รับการฝึกทักษะเพิ่มเติมในเรื่องเทคโนโลยีหุ่นยนต์ มีความชำนาญเพิ่มขึ้นซึ่งจะสามารถถ่ายทอดให้กับเพื่อนนักเรียนที่สนใจต่อไปได้ 2. นักเรียนรู้จักตนเอง และรู้จักเพื่อนต่างโรงเรียน ทำให้มีความมั่นใจในเรื่องการเรียนรู้มากขึ้น 3. มีโอกาสได้ประเมินความสามารถของตนเอง โดยเปรียบเทียบความรู้ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับเพื่อนต่างโรงเรียน 4. ประกาศชื่อของโรงเรียนให้กับเพื่อนต่างโรงเรียนและบุคลทั่วไปได้รู้จัก 5. ความคาดหวังที่จะได้รับคือการได้เข้ารอบเพื่อไปร่วมแข่งขันในรอบ 32 ทีม ณ สนามคอนเวนชั่นฮอลล์ เดอะมอลล์บางกะปิ ระหว่างวันที่ 7-8 มิถุนายน 2546 ค่าใช้จ่าย 1. มูลนิธิส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น บริการให้การอบรม และอาหารกลางวัน 2 มื้อ และของว่าง 4 มื้อ 2. โรงเรียนให้ใช้รถโรงเรียน 3. เบิกเงิน บ.กศ. เพื่อจัดซื้อแบตตารี่อัลคาไลด์ 1.2 โวลท์ AA จำนวน 24 ก้อน ๆ 20 บาท เป็นเงิน 480 บาท
|
ประสบการณ์ที่ได้จากการอบรมปฏิบัติจริง นับเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของพวกเราที่นำไปพัฒนาศักยภาพของตนเองในโอกาสต่อไป |