e-Paper อบรมครูเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับประถมศึกษา วันที่ 1 เมษายน 2547 จัดทำโดย ณรงค์ นันทวิจิตร งานเทคโนโลยีการศึกษา เบญจมราชรังสฤษฎิ์


 

  ย่อมาจาก  Random  Access  Memmory) เป็นหน่วยความจำที่ทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลร่วมกับซีพียูอยู่ตลอดเวลาข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่จะต้องมาพักที่แรมเสมอ  ก่อนจะถูกส่งไปยังซีพียู  ดังนั้นยิ่งแรมมีขนาดมากขึ้นเท่าไร ก็สามารถพักข้อมูลไว้กับแรมได้มาก  ทำให้ซีพียูไม่ต้องเรียกข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์บ่อย  ซึ่งฮาร์ดดิสก์มีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลน้อยกว่าแรม ส่งผลให้ระบบของเราทำงานได้เร็วขึ้นหน่วยความจำของแรม มีหน่วยเป็นไบท์  ขนาดของแรมในปัจจุบันมีตั้งแต่  8,  16,  32,  64,  128  และ  512    เมกะไบท์ (1 เมกะไบท์ เท่ากับ 1 ล้านไบท์)  แรมมีหลายชนิดตามประสิทธิภาพและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล

                ชนิด ซิมม์ (SIMM)  เป็นแรมแบบ  30  ขา และ  72  ขา  มี 2 แบบได้แก่  ดีแรม  และอีดีโอแรม  เป็นแรมแบบเก่าและช้ามาก  ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว

                 ชนิดดิมม์  (DIMM)   มีอยู่สองชนิดใหญ่ ๆ คือ เอสดีแรม  (SDRAM)  หรือ ดีดีอาร์เอสดีแรม  (DDRSDRAM)  เป็นแรมแบบ 184  ขา  มีหลายความเร็วให้เลือกคือPC 1600  (200 เมกะเฮิรตซ์)  PC 2100  (266 เมกะเฮิรตซ์)   PC 2600  (333 เมกะเฮิรตซ์)  เป็นต้น

       

                 ชนิดริมม์  (RIMMs)  ได้แก่  อาร์ดีแรม (RDAM)  หรือดีอาร์ดีแรม เป็นแรมที่มีความเร็วสูงมากและความเร็วสูงที่สุดในขณะนี้คือมีความเร็วถึง  800  เมกะเฮิรตซ์  แต่ราคาก็แพงที่สุดในขณะนี้  ด้วยประมาณ สองเท่าของดีดีอาร์แรม  อาร์ดีแรมต้องใส่เป็นคู่ไม่สามารถใส่แถวเดียวได้ ช่องเสียบหรือสล๊อต สำหรับใส่แรมที่เหลือนั้นต้องใส่ตัวหลอกลงไปไว้ให้ว่างด้วย

   

bar03_dot3x3_green.gif
สามารถแสดงผลได้ดีที่สุดกับจอภาพที่มีความละเอียด 800 x 600 pixel
 สร้างสรรค์งานโดย ณรงค์ นันทวิจิตร
20/03/2004 ไม่สงวนลิขสิทธิ์
Email : rong_nan@hotmail.com
222 Choompol Road Muang Cachoengsao 24000 Thailand ...Tel. 0-3851-1249 call 129   FAX 0-3851-1249 call 201