:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ICT » IEC : international e-learning conferent 2008
IEC : international e-learning conferent 2008
ผมมีโอกาสเข้าร่วมประชุมทางวชิการกับโครงการ Thailand Cyber Univercity (TCU) ภายใต้หัวข้อ "e-learning in the Generation 2.0" ที่อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2551 ผมเข้าประชุมในฐานะผู้ร่วมรับฟังการประชุมโดยสมัครใจที่จะเข้าไปเก็บเกี่ยวหาความรู้ว่าโลกการศึกษาที่ใช้ ICT เค้าเดินไปถึงไหนกันแล้ว แล้วก็ไม่ผิดหวังครับ

จากการที่ได้รับฟังผู้เชี่ยวชาญด้าน e-learning หลายประเทศมาคุยให้ฟังแล้ว สรุปว่า

สถานการณ์อีเลิร์นนิ่งในประเทศไทยนั้น ดร.ภาวิช ทองโรจน์ จาก สกอ. สรุปว่า อีเลิร์นนิ่งสำหรับการศึกษาในประเทศไทย มีความจำเป็นที่จะต้องมีการใช้ห้องสมุด หรือแหล่งเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆที่มีความจำเป็น โดยเฉพาะพื้นที่ไกลๆ เช่น มหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค เครือข่าย PULINET จึงถูกก่อตั้งขึ้น ส่วนเครือข่าย ThaiLINET ก่อตั้งเพื่อขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกมหาวิทยาลัย หากเป็นไปได้สำหรับโครงข่ายพื้นฐานการเชื่อมต่อระหว่างมหาวิทยาลัยต้องพัฒนาให้เป็น UNINET ซึี่งจะครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

ส่วน ดร.บรูช เอ็น ซาลูกซ์ จากอเมริกา บอกว่าการเรียนรู้แบบออนไลน์ในอเมริกาเติบโตกว่า 20% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งการเติบโตนี้ทำให้เกิดโอาสมากมายสำหรับผู้เรียน แหล่งงานต่างๆเพื่อรองรับผู้เรียนหรือสถาบันต่างๆ และนโยบายหลายอย่างที่ท้าทายต่อการบริหารจัดการ
The Saloan Consortium เป็นสถาบันและองค์กรบริหารจัดการมืออาชีพที่ส่งเสริมการศึกษาออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา ซึ่ง องค์กรนี้จะจัดเตรียมความรู้ การฝึกปฏิบัติ ชุมชน และทิศทางสำหรับนักการศึกษา เตรียมความพร้อมเพื่อรอรับการท้าทายของสถาบันต่างๆสำหรับการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง การกำหนดทฤษฏี การเรียนรู้อย่างตื่นตัว การเรียนแบบเคลื่อนที่ และตัวช่วยต่างๆที่ชาญฉลาด การรวมการศึกษาและบันเทิงเข้าด้วยกันที่เรียกว่า Edutainment การร่างนโยบายเพื่อสนับสนุนผู้เรียนในยุค 2.0 และคิดแบบสากลในการเข้าถึงโดยการออนไลน์

สำหรับผู้เชี่ยวชาญของไทยคนหนึ่งคือ ดร.ทินศิริ ศิริโพธิ์ จาก SEAMEO กล่าวว่า ประเด็นที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาครูมืออาชีพในยุคอีเลิร์นนิ่ง อันดับแรกต้องมีการถกถึงรูปแบบการเรียนรู้ของครูปและนักเรียนในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอีเลิร์นนิ่ง ประการที่สองจะต้องให้ความสนใจกับทักษะที่จำเป็นสำหรับครูที่เป็นผู้ใช้อีเลิร์นนิ่งได้อย่างเป๋็นมรรคเป็นผล ประการที่สามต้องมีการนำเสนอหลักสูตรในการพัฒนาครู ต้องเน้นบูรณาการใช้ ICT และประการท้ายสุดต้องมีการสนับสนุนให้มีการแนะนำในการพัฒนาความเป็นมืออาชีพอย่างมีประสิทธิผล

ดร. แด จูน วาง จากเกาหลี กล่าวถึงการวิเคราะห์ภาคส่วนของอีเลิร์นนิ่งในประเทศเกาหลี ว่า อีเลิร์นิ่งใน 4 ภาคส่วนของเกาหลี ได้แก่ ส่วนบุคคล บริษัทต่างๆ สถาบันต่างๆ ของรัฐ และสถาบันการศึกษาทั่วไป อีเลิร์นนิ่งเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนของสังคมเกาหลี ในความร่วมมือหลักยุค 2.0 มุ่งให้ความสนใจอย่างมากไปที่ HRD โดยการใช้การจัดการความรู้จากการฝึกฝนทักษะอาชีพต่างๆ แสดงให้เห็นว่าทั้ง e-learning และ ICT ใช้ในการสนับสนุนหรือทำงานให้เสร็จลุล่วง ทำให้บังเกิดผล งานในสำนัก และงานสังคม ของรัฐบาลประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงเป็นจุดแข็งในการแข่งขันบนเวทีโลก โดยใช้อีเลิร์นนิ่งที่ได้มาตรฐาน

นอกจากนั้นยังมีวิทยากรจากประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ มาให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ e-learning generation 2.0 กันอย่างกว้างขวาง ทำให้มองเห็นว่าประเทศของเรานั้นจะต้องก้าวไปให้ทันโลก มิฉะนั้นเราจะตกยุค เพราะประเทศอื่นๆเดินไปถึง generation 2.0 แล้ว เรายังอยู่ที่ generation 1.0 ก็เท่ากับว่าประเทศของเราจะไม่มีวันทัดเทียมกับประเทศต่างๆเลย

และเมื่อมองลงมาที่เบญจมราชรังสฤษฎิ์ สิ่งที่กังวลคือ บุคลากรของเราทั้งครูและนักเรียน ส่วนมากยังย่ำอยู่ที่ generation 1.0 ทั้งๆที่โรงเรียนของเราได้นำ e-learning และ ICT เข้ามาใช้ตั้งแต่ปี 2528 เรียกว่าเป็นผู้นำมาก่อน แต่เมื่อมาถึงวันนี้ผ่านไปนับ 10 ปี เรายังไม่มีทีท่าจะสามารถจะก้าวไปสู่ generation 2.0 ได้ในเวลาอันใกล้ เหตุผลเพราะเรายังขาดความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้ และเฉพาะอย่างยิ่ง เราไม่มีวิสัยทัศน์ที่จะมากำกับให้มีการนำ e-learning และ ICT มาใช้อย่างมีเป้าหมาย จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเพราะโรงเรียนของเรามีระบบเครือข่าย ICT มีเครื่องมือที่จะสร้าง และใช้ e-learning เพื่อการเรียนรู้ แต่บุคลากรไม่ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการใช้ได้ จึงทำให้เกิดความสูญเปล่าในการลงทุน

คาดว่าแผนพัฒนาโรงเรียนในปี 2552-2555 จะมีเป้าหมายที่ทำให้มีการใช้ e-learning และ ICTทั้งส่วนของครูและนักเรียน อย่างชัดเจน
คลิกไปดูภาพการประชุมครับ Link
Comments
#1 | rong_nan on November 21 2008 16:00:11
สำหรับการเข้าร่วมประชุมในวันที่ 2 นั้น ได้มีโอกาสเข้ารับฟังรายงานของอาจารย์พานิตา วรรณพิรุณ อาจารย์จากสถาบันพระจอมเกล้า ธนบุรี ที่กำลังเรียนต่ออยู่ที่ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และเธอเป็นศิษย์เก่าของเบญจมฯ คนหนึ่งที่มีความสามารถและเชียวชาญเรื่องเกี่ยวกับสื่อออนไลน์ และ e-learning เธอได้นำเสนอบทคัดย่อและรายงานผลการวิจัยในเรื่อง Development of a problem-based blended learning model to develop Undergraduate student's cristical thinking

ได้ฟังการรายงานของเธอเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ก็ทำให้คิดถึงลูกเบญจมฯทุกคน อยากให้ทุกคนสนใจเรื่องภาษาอังกฤษกันมากๆ อย่างน้อยให้อ่านออกเขียนได้ ฟังได้บ้าง พูดได้บ้าง ก็ยังดี ที่สุดก็อยากให้หลายๆคนใช้ภาษาอังกฤษจนสามารถสื่อสารกับผู้คนได้ ซึ่งจะทำให้ตนเองประสบความสำเร็จในการเรียนและการงานในที่สุดครับ
#2 | rong_nan on November 25 2008 00:51:14
ข้อแตกต่างระหว่าง e-learning generation 1.0 และ 2.0 ที่ชัดเจนที่สุดคือ
เรื่องของ web ที่ก้าวไปสู่ eg 2.0 คือ web นั้นสามารถตอบสนองได้ทั้งอ่านและเขียน , สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ , สามารถแบ่งปันความรู้แก่กันได้ เช่น wiki และ blog

เราสามารถก้าวไปสู่จุดนี้โดยสามารถทั้งอ่านและเขียนได้หรือยัง

โรงเรียนของเราสร้างเครื่องมือเหล่านี้มาตอบสนอง e-learning generation 2.0 แล้ว โดยมีทั้ง CMS , LMS , DATABASE , DocMS , blog , web board แต่การเรียนรู้เพื่อใช้ประโยชน์ยังไม่ได้ทุกคน

ชาวเบญจมฯทั้งมวลจะต้องพยายามเรียนรู้เพื่อก้าวไปสู่ generation 2.0 ให้ทันเพื่อนนะครับ
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< March 2025 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
          1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
31            

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 23 2024 00:45:02