:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
IEC : international e-learning conferent 2008
ผมมีโอกาสเข้าร่วมประชุมทางวชิการกับโครงการ Thailand Cyber Univercity (TCU) ภายใต้หัวข้อ "e-learning in the Generation 2.0" ที่อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2551 ผมเข้าประชุมในฐานะผู้ร่วมรับฟังการประชุมโดยสมัครใจที่จะเข้าไปเก็บเกี่ยวหาความรู้ว่าโลกการศึกษาที่ใช้ ICT เค้าเดินไปถึงไหนกันแล้ว แล้วก็ไม่ผิดหวังครับ
จากการที่ได้รับฟังผู้เชี่ยวชาญด้าน e-learning หลายประเทศมาคุยให้ฟังแล้ว สรุปว่า
สถานการณ์อีเลิร์นนิ่งในประเทศไทยนั้น ดร.ภาวิช ทองโรจน์ จาก สกอ. สรุปว่า อีเลิร์นนิ่งสำหรับการศึกษาในประเทศไทย มีความจำเป็นที่จะต้องมีการใช้ห้องสมุด หรือแหล่งเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆที่มีความจำเป็น โดยเฉพาะพื้นที่ไกลๆ เช่น มหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค เครือข่าย PULINET จึงถูกก่อตั้งขึ้น ส่วนเครือข่าย ThaiLINET ก่อตั้งเพื่อขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกมหาวิทยาลัย หากเป็นไปได้สำหรับโครงข่ายพื้นฐานการเชื่อมต่อระหว่างมหาวิทยาลัยต้องพัฒนาให้เป็น UNINET ซึี่งจะครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
ส่วน ดร.บรูช เอ็น ซาลูกซ์ จากอเมริกา บอกว่าการเรียนรู้แบบออนไลน์ในอเมริกาเติบโตกว่า 20% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งการเติบโตนี้ทำให้เกิดโอาสมากมายสำหรับผู้เรียน แหล่งงานต่างๆเพื่อรองรับผู้เรียนหรือสถาบันต่างๆ และนโยบายหลายอย่างที่ท้าทายต่อการบริหารจัดการ
The Saloan Consortium เป็นสถาบันและองค์กรบริหารจัดการมืออาชีพที่ส่งเสริมการศึกษาออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา ซึ่ง องค์กรนี้จะจัดเตรียมความรู้ การฝึกปฏิบัติ ชุมชน และทิศทางสำหรับนักการศึกษา เตรียมความพร้อมเพื่อรอรับการท้าทายของสถาบันต่างๆสำหรับการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง การกำหนดทฤษฏี การเรียนรู้อย่างตื่นตัว การเรียนแบบเคลื่อนที่ และตัวช่วยต่างๆที่ชาญฉลาด การรวมการศึกษาและบันเทิงเข้าด้วยกันที่เรียกว่า Edutainment การร่างนโยบายเพื่อสนับสนุนผู้เรียนในยุค 2.0 และคิดแบบสากลในการเข้าถึงโดยการออนไลน์
สำหรับผู้เชี่ยวชาญของไทยคนหนึ่งคือ ดร.ทินศิริ ศิริโพธิ์ จาก SEAMEO กล่าวว่า ประเด็นที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาครูมืออาชีพในยุคอีเลิร์นนิ่ง อันดับแรกต้องมีการถกถึงรูปแบบการเรียนรู้ของครูปและนักเรียนในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอีเลิร์นนิ่ง ประการที่สองจะต้องให้ความสนใจกับทักษะที่จำเป็นสำหรับครูที่เป็นผู้ใช้อีเลิร์นนิ่งได้อย่างเป๋็นมรรคเป็นผล ประการที่สามต้องมีการนำเสนอหลักสูตรในการพัฒนาครู ต้องเน้นบูรณาการใช้ ICT และประการท้ายสุดต้องมีการสนับสนุนให้มีการแนะนำในการพัฒนาความเป็นมืออาชีพอย่างมีประสิทธิผล
ดร. แด จูน วาง จากเกาหลี กล่าวถึงการวิเคราะห์ภาคส่วนของอีเลิร์นนิ่งในประเทศเกาหลี ว่า อีเลิร์นิ่งใน 4 ภาคส่วนของเกาหลี ได้แก่ ส่วนบุคคล บริษัทต่างๆ สถาบันต่างๆ ของรัฐ และสถาบันการศึกษาทั่วไป อีเลิร์นนิ่งเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนของสังคมเกาหลี ในความร่วมมือหลักยุค 2.0 มุ่งให้ความสนใจอย่างมากไปที่ HRD โดยการใช้การจัดการความรู้จากการฝึกฝนทักษะอาชีพต่างๆ แสดงให้เห็นว่าทั้ง e-learning และ ICT ใช้ในการสนับสนุนหรือทำงานให้เสร็จลุล่วง ทำให้บังเกิดผล งานในสำนัก และงานสังคม ของรัฐบาลประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงเป็นจุดแข็งในการแข่งขันบนเวทีโลก โดยใช้อีเลิร์นนิ่งที่ได้มาตรฐาน
นอกจากนั้นยังมีวิทยากรจากประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ มาให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ e-learning generation 2.0 กันอย่างกว้างขวาง ทำให้มองเห็นว่าประเทศของเรานั้นจะต้องก้าวไปให้ทันโลก มิฉะนั้นเราจะตกยุค เพราะประเทศอื่นๆเดินไปถึง generation 2.0 แล้ว เรายังอยู่ที่ generation 1.0 ก็เท่ากับว่าประเทศของเราจะไม่มีวันทัดเทียมกับประเทศต่างๆเลย
และเมื่อมองลงมาที่เบญจมราชรังสฤษฎิ์ สิ่งที่กังวลคือ บุคลากรของเราทั้งครูและนักเรียน ส่วนมากยังย่ำอยู่ที่ generation 1.0 ทั้งๆที่โรงเรียนของเราได้นำ e-learning และ ICT เข้ามาใช้ตั้งแต่ปี 2528 เรียกว่าเป็นผู้นำมาก่อน แต่เมื่อมาถึงวันนี้ผ่านไปนับ 10 ปี เรายังไม่มีทีท่าจะสามารถจะก้าวไปสู่ generation 2.0 ได้ในเวลาอันใกล้ เหตุผลเพราะเรายังขาดความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้ และเฉพาะอย่างยิ่ง เราไม่มีวิสัยทัศน์ที่จะมากำกับให้มีการนำ e-learning และ ICT มาใช้อย่างมีเป้าหมาย จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเพราะโรงเรียนของเรามีระบบเครือข่าย ICT มีเครื่องมือที่จะสร้าง และใช้ e-learning เพื่อการเรียนรู้ แต่บุคลากรไม่ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการใช้ได้ จึงทำให้เกิดความสูญเปล่าในการลงทุน
คาดว่าแผนพัฒนาโรงเรียนในปี 2552-2555 จะมีเป้าหมายที่ทำให้มีการใช้ e-learning และ ICTทั้งส่วนของครูและนักเรียน อย่างชัดเจน
คลิกไปดูภาพการประชุมครับ Link
Please Login to Post a Comment.
<< June 2025 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)