:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
เรื่องเก่า..การศึกษาของไทยที่น่าเป็นห่วง
ภาพประกอบจาก http://guideclub.212cafe.com/user_blog/guideclub/Banpukem%20school%20133.jpg
จากข้อมูลด้านการเรียนของเด็กไทย ตามข่าวหน้าการศึกษาของหนังสือพิมพ์
"ไทยได้เข้าร่วมวิจัยโครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ร่วมกับนานาชาติ ปี 2550 (Trends in International Mathematics and Science Study 2007, TIMSS - 2007) ซึ่งดำเนินการภายใต้สมาคมการประเมินผลนานาชาติ IEA (The International Association for the Evaluation of Educational Achievement) และเก็บรวบรวมข้อมูล จากนักเรียนชั้น ม.2 ทั่วประเทศ จำนวน 5,412 คน จาก 150 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร (สนศ.) สำนักบริหารการศึกษาท้องถิ่น (สศท.) และโรงเรียนสาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) พบว่า วิชาคณิตศาสตร์ ไทยอยู่ในอันดับที่ 29 โดยได้ 441 คะแนน ถือว่าต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติ ซึ่งอยู่ที่ 500 คะแนน ซึ่งประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรกอยู่ในทวีปเอเชียทั้งสิ้น ได้แก่ สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฮ่องกง ส่วนมาเลเซียอยู่อันดับที่ 20 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ ไทยอยู่อันดับที่ 21 เท่ากับมาเลเซีย โดยได้ 471 คะแนน ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติ ซึ่งอยู่ที่ 500 คะแนน ซึ่งประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก 5 ได้แก่ สิงคโปร์ จีน-ไทเป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอังกฤษ�นายปรีชาญ กล่าว และว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 2 วิชาของไทยนี้ ถือว่าลดต่ำลงกว่าช่วงปี 2542-2546 โดยครั้งที่แล้ว ไทยได้วิชาคณิตศาสตร์ 467 คะแนน และวิทยาศาสตร์ 482 คะแนน"
เมื่อผลเป็นอย่างนี้ ฝ่ายวางแผนเรื่องการศึกษาชาติคิดอย่างไร
จาก ประสบการณ์ ผมยังยืนยันว่าระดับประถมตั้งแต่ ป.1-4 ควรจัดระบบการศึกษาใหม่ เน้นเรื่องภาษาไทยและการคำนวณเป็นหลัก วิชาประกอบอื่นๆนั้นลดการเรียนลงไป ที่คิดอย่างนี้มีเหตุผลว่า วิชาภาษาไทย และ การคำนวณ เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ของทุกวิชา ถ้าเด็กอ่านออกเขียนได้คล่อง คำนวณพื้นฐานได้ไม่ผิดพลาด จะนำไปสู่การเรียนในระดับสูงขึ้นได้อย่างมีปัญหาน้อยที่สุด ส่วนเรื่องสติปัญญาของเด็กก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องแก้ปัญหาเป็นรายคน อย่าเอามาปนกันกับเรื่องวิชาพื้นฐานที่ผมกล่าวนะครับ
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< December 2029 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)