:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
ถลำเข้ามาในวังวนเครือข่ายได้อย่างไรกันนะ????
ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา (2549-2550) ผมเดินเข้ามาในวังวนของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างไม่รู้ตัว
ก่อนที่จะเข้ามาในวังวนนี้ ตั้งแต่ปี 2524 ผมมีหน้าที่ทำระบบเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา เรื่อยมาจนปี 2546
ผมติดตั้งระบบโทรทัศน์ตามสายภายในโรงเรียน เดินระบบห้องสตูดิโอเพื่อนำไปใช้ในเรื่องการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ไปยังเครื่องรับที่ตึกต่างๆในโรงเรียน
และแล้วระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็เข้ามา ด้วยความสนใจ ผมพยายามเดินเมียงมอง พร้อมทั้งศึกษาหาความรู้ไปเรื่อยๆ จากเพื่อนที่นั่งทำอยู่
การเรียนรู้เกิดจากความสนใจนี้มันเป็นเรื่องที่น่าสนุก น่าติดตาม เพราะมันท้าทายความสามารถ
หลังจากนั่งดูเพื่อนทำแบบรู้บ้างไม่รู้บ้าง แต่แกล้งทำเป็นว่ารู้ ก็พยายามศึกษาเรื่องราวจำเป็นเกี่ยวกับเครือข่ายมากขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งได้รับผิดชอบเว็บโรงเรียน มีโอกาสทำเว็บกับลูกศิษย์ที่มาช่วยงาน AV ก็เริ่มจากรูปแบบธรรมดา
ที่น่าสนใจคือระบบของ web server พยายามเรียนรู้ถามบ้าง อ่านบ้างเรื่อยมา พร้อมๆกันก็มองหาระบบที่จะอำนวยความสะดวกในการทำเว็บไปด้วย
จนเมื่อปี 2546 จึงได้เริ่มเรียนรู้ CMS ตัวหนึ่งชื่อ phpNUKE ไปซื้อหนังสือมาอ่าน แล้วก็ทำตาม ค่อยๆรู้เรื่องมากขึ้น
ที่ทำมาแต่ต้น ผมยังไม่ได้รับผิดชอบเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์บริการ(server computer) จนในที่สุดปี 2547 โรงเรียนปรับปรุงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งโรงเรียน เพื่อให้สามารถเชื่อมระบบกันอย่างทั่วถึง
ตรงนี้เองผมจึงมีโอกาสเข้าไปร่วมดูแลระบบทั้งหมดกับเพื่อนรุ่นน้องที่มีนิสัยไม่ถามไม่บอก
ผมถือว่านั่นคือประสบการณ์ครั้งแรกสุดที่ได้เรียนรู้การเชื่อมต่อระบบหลักของเครือข่าย แต่ก็รู้ตัวว่าความรู้ที่ผมมีนั้นมันเล็กน้อยมาก ... เจ้าหน้าที่จะมาติดตั้งค่าอะไรในระบบก็ได้แต่นั่งดู นั่งจ้อง โดยบางขั้น บางตอนไม่รู้เรื่องเลย
แต่ต้องขอบอกว่าเรื่องพื้นฐานที่เป็นกรณีหลักๆของการเชื่อมต่อนั้นผมเข้าใจมากขึ้น รู้ว่าจากตรงไหน ไปตรงไหน เชื่อมต่อกับอะไร
กระนั้นก็ยังถือว่ามีความรู้นิดเดียว ประกอบกับเวลางานที่จะต้องทำอย่างอื่นมันก็มีด้วยจึงทำให้บางครั้งต้องวางมือไปทำงานอย่างอื่นก่อน
เมื่อการวางระบบครั้งแรกเสร็จ ทดสอบระบบว่าเชื่อมต่อได้ กลับมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการจัดการภายหลังการส่งงานเรียบร้อย เพราะคนที่ทำงานกับบริษัทลาออก จึงไม่สามารถให้คำปรึกษาได้ จึงเป็นความลำบากในการจัดการระบบ เพราะจะต้องทวงสัญญาเรื่องการดูแลภายหลังการส่งงาน
ระบบที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้วถูกรบกวนจากเหล่า hacker เป็นประจำ จนทำให้ระบบล่มแล้วล่มอีก
ประกอบกับความเชี่ยวในเรื่อง CMS ขยายไปสู่ LMS มีการติดตั้งระบบโปรแกรมเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า e-learning ทำให้มีความจำเป็นจะต้องปรับปรุงระบบกันอีกครั้ง เพราะความเร็วอย่างหนึ่ง และการป้องกันการรบกวนอีกอย่างหนึ่ง
ก่อนปรับปรุงระบบมีความยุ่งยากในการใช้งานของระบบ LMS เป็นอย่างมาก คือ เมื่อมีการ connect มากกว่า 50 คน ระบบจะเกิดอาการดาวน์ ใช้ไม่ได้ จะต้องเสียเวลาปิด/เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์บริการมาโดยตลอด แม้จะเพิ่ม RAM ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์บริการเครื่องนั้นแล้วก็ตาม จนทำให้ครูหลายคนบ่นว่าระบบไม่ดี (เพราะท่านไม่รู้ปัญหา)
ต่อมาเมื่อประมาณเมษายน ปี 2548 ได้รับการติดต่อจากคุณหมอสมนึก หมอใจดีที่เกษียณอายุงานแล้วจากอเมริกา จะนำทีมมาถ่ายทอดวิชาระบบ freeBSD ให้กับกลุ่มครูในจังหวัดฉะเชิงเทรา จึงรีบรับอาสาเป็นสถานที่ดำเนินการอบรมเพื่อรับความรู้ในเรื่องระบบนี้มาเพื่อใช้กับระบบของโรงเรียน
นี่เองเป็นจุดเปลี่ยนทำให้ผมมีความรู้เรื่องระบบ UNIX เพิ่มมากขึ้นอีกหลายกิโล จนสามารถเปลี่ยนระบบปฏิบัติการให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์บริการที่ใช้ระบบ LINUX Redhat 9 มาเป็นระบบ freeBSD ทั้งหมด
เวลาผ่านไป ระบบก็สามารถใช้แบบมีปัญหาก็แก้ไขกันไป จนมาถึงวันหนึ่ง ถึงจุดเปลี่ยน.....ที่ต้องจัดการกับระบบทั้งหมด....
ลองติดตามนะครับว่าเป็นอย่างไร
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< May 2025 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)