:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ประสบการณ์ประทับใจ » ถลำเข้ามาในวังวนเครือข่ายได้อย่างไรกันนะ????
ถลำเข้ามาในวังวนเครือข่ายได้อย่างไรกันนะ????
ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา (2549-2550) ผมเดินเข้ามาในวังวนของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างไม่รู้ตัว

ก่อนที่จะเข้ามาในวังวนนี้ ตั้งแต่ปี 2524 ผมมีหน้าที่ทำระบบเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา เรื่อยมาจนปี 2546

ผมติดตั้งระบบโทรทัศน์ตามสายภายในโรงเรียน เดินระบบห้องสตูดิโอเพื่อนำไปใช้ในเรื่องการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ไปยังเครื่องรับที่ตึกต่างๆในโรงเรียน

และแล้วระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็เข้ามา ด้วยความสนใจ ผมพยายามเดินเมียงมอง พร้อมทั้งศึกษาหาความรู้ไปเรื่อยๆ จากเพื่อนที่นั่งทำอยู่

การเรียนรู้เกิดจากความสนใจนี้มันเป็นเรื่องที่น่าสนุก น่าติดตาม เพราะมันท้าทายความสามารถ

หลังจากนั่งดูเพื่อนทำแบบรู้บ้างไม่รู้บ้าง แต่แกล้งทำเป็นว่ารู้ ก็พยายามศึกษาเรื่องราวจำเป็นเกี่ยวกับเครือข่ายมากขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งได้รับผิดชอบเว็บโรงเรียน มีโอกาสทำเว็บกับลูกศิษย์ที่มาช่วยงาน AV ก็เริ่มจากรูปแบบธรรมดา

ที่น่าสนใจคือระบบของ web server พยายามเรียนรู้ถามบ้าง อ่านบ้างเรื่อยมา พร้อมๆกันก็มองหาระบบที่จะอำนวยความสะดวกในการทำเว็บไปด้วย

จนเมื่อปี 2546 จึงได้เริ่มเรียนรู้ CMS ตัวหนึ่งชื่อ phpNUKE ไปซื้อหนังสือมาอ่าน แล้วก็ทำตาม ค่อยๆรู้เรื่องมากขึ้น

ที่ทำมาแต่ต้น ผมยังไม่ได้รับผิดชอบเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์บริการ(server computer) จนในที่สุดปี 2547 โรงเรียนปรับปรุงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งโรงเรียน เพื่อให้สามารถเชื่อมระบบกันอย่างทั่วถึง

ตรงนี้เองผมจึงมีโอกาสเข้าไปร่วมดูแลระบบทั้งหมดกับเพื่อนรุ่นน้องที่มีนิสัยไม่ถามไม่บอก

ผมถือว่านั่นคือประสบการณ์ครั้งแรกสุดที่ได้เรียนรู้การเชื่อมต่อระบบหลักของเครือข่าย แต่ก็รู้ตัวว่าความรู้ที่ผมมีนั้นมันเล็กน้อยมาก ... เจ้าหน้าที่จะมาติดตั้งค่าอะไรในระบบก็ได้แต่นั่งดู นั่งจ้อง โดยบางขั้น บางตอนไม่รู้เรื่องเลย

แต่ต้องขอบอกว่าเรื่องพื้นฐานที่เป็นกรณีหลักๆของการเชื่อมต่อนั้นผมเข้าใจมากขึ้น รู้ว่าจากตรงไหน ไปตรงไหน เชื่อมต่อกับอะไร

กระนั้นก็ยังถือว่ามีความรู้นิดเดียว ประกอบกับเวลางานที่จะต้องทำอย่างอื่นมันก็มีด้วยจึงทำให้บางครั้งต้องวางมือไปทำงานอย่างอื่นก่อน

เมื่อการวางระบบครั้งแรกเสร็จ ทดสอบระบบว่าเชื่อมต่อได้ กลับมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการจัดการภายหลังการส่งงานเรียบร้อย เพราะคนที่ทำงานกับบริษัทลาออก จึงไม่สามารถให้คำปรึกษาได้ จึงเป็นความลำบากในการจัดการระบบ เพราะจะต้องทวงสัญญาเรื่องการดูแลภายหลังการส่งงาน

ระบบที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้วถูกรบกวนจากเหล่า hacker เป็นประจำ จนทำให้ระบบล่มแล้วล่มอีก

ประกอบกับความเชี่ยวในเรื่อง CMS ขยายไปสู่ LMS มีการติดตั้งระบบโปรแกรมเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า e-learning ทำให้มีความจำเป็นจะต้องปรับปรุงระบบกันอีกครั้ง เพราะความเร็วอย่างหนึ่ง และการป้องกันการรบกวนอีกอย่างหนึ่ง

ก่อนปรับปรุงระบบมีความยุ่งยากในการใช้งานของระบบ LMS เป็นอย่างมาก คือ เมื่อมีการ connect มากกว่า 50 คน ระบบจะเกิดอาการดาวน์ ใช้ไม่ได้ จะต้องเสียเวลาปิด/เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์บริการมาโดยตลอด แม้จะเพิ่ม RAM ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์บริการเครื่องนั้นแล้วก็ตาม จนทำให้ครูหลายคนบ่นว่าระบบไม่ดี (เพราะท่านไม่รู้ปัญหา)

ต่อมาเมื่อประมาณเมษายน ปี 2548 ได้รับการติดต่อจากคุณหมอสมนึก หมอใจดีที่เกษียณอายุงานแล้วจากอเมริกา จะนำทีมมาถ่ายทอดวิชาระบบ freeBSD ให้กับกลุ่มครูในจังหวัดฉะเชิงเทรา จึงรีบรับอาสาเป็นสถานที่ดำเนินการอบรมเพื่อรับความรู้ในเรื่องระบบนี้มาเพื่อใช้กับระบบของโรงเรียน

นี่เองเป็นจุดเปลี่ยนทำให้ผมมีความรู้เรื่องระบบ UNIX เพิ่มมากขึ้นอีกหลายกิโล จนสามารถเปลี่ยนระบบปฏิบัติการให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์บริการที่ใช้ระบบ LINUX Redhat 9 มาเป็นระบบ freeBSD ทั้งหมด

เวลาผ่านไป ระบบก็สามารถใช้แบบมีปัญหาก็แก้ไขกันไป จนมาถึงวันหนึ่ง ถึงจุดเปลี่ยน.....ที่ต้องจัดการกับระบบทั้งหมด....

ลองติดตามนะครับว่าเป็นอย่างไร
Comments
No Comments have been Posted.
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< September 2023 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
        1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30  

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 27 2024 20:15:15