:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ICT » ทำงานดูแลระบบไอที..คุณถึกและอึดแค่ไหน
ทำงานดูแลระบบไอที..คุณถึกและอึดแค่ไหน
หลายคนมองคนทำงานด้านไอทีว่าเป็นคนที่ทำงานสบายๆ

ใช่ครับ ถ้าคนๆนั้นเพียงแค่นั่งหน้าจอคอมฯ ใช้แอพลิเคชั่นสำเร็จรูปที่มีวางขายได้อย่างชำนาญ แล้วก้อลงระบบปฏิบัติการได้เมื่อเครื่องคอมฯมีปัญหา ถึงเวลาเลิกงานก็กลับบ้านพักผ่อน ถ้าเป็นแค่นี้ละก้อ โอเค!! สบาย ไม่เถียงสักคำ

แต่ความหมายของไอที ที่ผมนำมาเป็นประเด็นในวันนี้นั้น มันลึกกว่าที่กล่าวมาแต่ต้น

งานของคนไอทีที่จะต้องทำ และแก้ปัญหาให้ได้คือ สามารถวิเคราะห์ระบบ และหาทางแก้ปัญหาให้ได้อย่างรวดเร็วเมื่อระบบเกิดปัญหา

เช่นระบบเครือข่ายของตึกนั้น ตึกนี้ ไม่สามารถติดต่อกับระบบกลางได้ คนไอทีจะต้องเข้าไปตรวจสอบ วิเคราะห์ปัญหาว่าน่าจะเกิดปัญหา ณ จุดใด มันเกิดจากความบกพร่องของฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ หรือเกิดจากจุดเชื่อมต่อของสายสัญญาณ เมื่อรู้แล้วลงมือแก้ปัญหาให้คนในองค์กรสามารถได้งานได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด

นอกจากนั้นคนไอทียังจะต้องมีความสามารถพัฒนาระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอ สามารถสร้างสรรค์งานเครือข่ายให้กับองค์กรได้ใช้อย่างสะดวกง่ายดาย

และที่หนักหนาสาหัสมากคือเมื่อเครื่องลูกข่ายมีปัญหาติดไวรัส จะต้องจัดการแก้ปัญหาได้อย่างไรจึงจะประคองระบบให้เดินไปได้โดยไม่ล่มสลาย

จึงจั่วเป็นหัวเรื่องว่า "ทำงานดูแลระบบไอที...คุณถึกและอึดแค่ไหน"

คนทำงานด้านนี้แม้จะจำเจน่าเบื่อ แต่ต้องอดทน สามารถให้เวลางานได้มากกว่าคนทำงานปกติ 1 เท่า หรือมากกว่า

การทำงานของคนไอทีบางครั้งไม่มีคนเห็นว่าทำงาน เพราะเวลาทำงานนั้นคือเวลาที่คนส่วนใหญ่พักผ่อนหลับนอน แต่คนไอทีจะต้องทำงานที่วางแผนไว้ให้เสร็จก่อนเวลาทำงานในวันรุ่งขึ้น

ดังนั้นคนทั่วไปเมื่อตื่นมาทำงานตอนเช้าเข้าระบบได้ตามปกติ ก็จะดูเหมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นเมื่อวานนี้หรือเมื่อคืนนี้ แต่เมื่อไรเข้าใช้ระบบไม่ได้ คนส่วนใหญ่จะมุ่งประเด็นไปที่คนดูแลทันทีว่าทำอะไรจึงใช้ระบบไม่ได้

โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนผู้นำด้านไอทีโรงเรียนหนึ่ง มีระบบไอทีที่อำนวยความสะดวกแก่ทั้งนักเรียนและครูอย่างครบถ้วนและพอเพียง ไม่ขาดแคลน จนบางครั้งมองดูว่ามันมากเกินไปหรือเปล่ากับการใช้งานระดับนี้

งานไอทีสอนให้คนเรียนรู้ออกไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า เด็กของเรามีความรู้ด้านไอทีมากมายที่กระจายกันทำงานด้านนี้ทั่วประเทศ

แต่งานไอทีของที่นี่ยังมีคนทำงานที่ชำนาญการน้อยมากเหมือนเดิม ในขณะที่เครือข่ายมันขยายตัวกว้างขวางออกไป มีเครื่องคอมพิวเตอร์รวมกันแล้วถึงเกือบ 500 เครื่อง

โดยสภาพของงานแล้ว จะต้องมีคนรับผิดชอบด้านไอทีอย่างน้อย 2 คน ที่มีความสามารถดูแลแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบได้ นอกนั้นก็จะเป็นทีมงานซ่อมบำรุงซึ่งก็น่าจะมีอีกอย่างน้อย 2 คน เพื่อจะได้ช่วยซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบ

คนน้อยงานมาก เป็นเรื่องที่ไม่สนุกสำหรับคนทำงาน แต่ก็อย่างที่บอก "ทำงานดูแลระบบไอที..คุณถึกและอึดแค่ไหน"

อย่างเมื่อคืนนี้ (23 มค.52) ต้องปิดระบบเพื่อติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม กว่าจะเสร็จก็ปาเข้าไป ตี 2 กับคนทำงานหลัก 2 คน ยังดีที่มีลูกศิษย์มาอยู่ช่วยทำงานอีก 2 คน ไม่อย่างนั้นงานคงไม่เสร็จตามแผนที่วางไว้

และที่ีสำคัญ การติดตั้งระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นระบบ Open Source ยิ่งจะต้องใช้คนที่มีความรู้มีความสามารถทำการติดตั้ง นี่เป็นคุณสมบัติของคนไอทีที่จะต้องเป็นคนไฝ่หา ไฝ่รู้ เพื่อนำมาใช้กับงานของตน

ที่กล่าวมามิใช่อวดว่าเก่งว่าดี แต่กล่าวเอาไว้เพื่อให้โรงเรียนใช้เป็นข้อมูลในการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถกับงานมาทำงานด้านนี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน มิฉะนั้นเมื่อหมดรุ่นทำงานรุ่นหนึ่งไปแล้วโรงเรียนจะมีปัญหาทำให้งานระบบชงักงันไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ แล้วในที่สุดโรงเรียนจะต้องใช้วิธีจ้างกลุ่มบริษัทไอทีเข้ามาดูแลรับผิดชอบ

หรือต้องการอย่างนั้นเพราะสะดวกสบายดี...ก็ไม่ว่ากันครับ
Comments
No Comments have been Posted.
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< March 2026 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
            1
2 3 4 5 6 7 8
9 10 11 12 13 14 15
16 17 18 19 20 21 22
23 24 25 26 27 28 29
30 31          

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 27 2024 08:01:10