:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ICT » ทำไมจึงไม่อยากใช้ของฟรี ???
ทำไมจึงไม่อยากใช้ของฟรี ???
เมื่อผมเดินมาบนเส้นทางสาย ICT นานมาก ถ้านับเวลาแล้วนานกว่า 20 ปี แต่เนื่องจากเริ่มต้นช้า บนพื้นฐานเท่ากับ 0 จึงทำให้ไม่สามารถพัฒนางานได้มากอย่างที่ตั้งใจ

ผมใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ตั้งแต่ยังใช้ DOS ที่บันทึกอยู่ในแผ่นดิสเก็ตขนาด 5 นิ้ว ต่อมาเป็น 3 นิ้ว ความจุเพียง 1.44 MB มีความสามารถใช้คำสั่ง DOS ได้คล่องพอสมควร การจะทำอะไร สั่งการอะไรจะต้องใช้คำสั่งที่เรียกว่า text command คือพิมพ์คำสั่งลงไปให้เครื่องทำงานตามที่ต้องการ เช่นคำสั่ง copy คำสั่ง del คำสั่ง format ฯลฯ

การสอนให้นักเรียนใช้คอมพิวเตอร์ในยุกต์ 20 กว่าปีที่แล้ว ถือว่าเป็นเรื่องสนุกและท้าทายความสามารถทั้งครู และนักเรียน เพราะจะต้องแม่นในคำสั่งปฏิบัติงาน

โปรแกรมปฏิบัติงานเช่นโปรแกรมเวิร์ด ก็รันบนดอสเช่นเดียวกัน เช่นโปรแกรม CU Word โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เช่น dBASE เป็นต้น

ซึ่งล้วนแล้วแต่รันบน MS DOS ทั้งสิ้น

เมื่อเวลาผ่านไป โปรแกรมระบบของไมโครซอฟต์ ถูกพัฒนามาเป็นวินโดว์ เพิ่มความสะดวกในการใช้ให้ผู้คน

ระบบถูกพัฒนามาให้คนใช้อย่างที่เห็นทุกวันนี้

ผู้ใช้ระบบนี้จะมองไม่ค่อยเห็นคุณค่าของระบบมากสักเท่าไร แม้จะใช้งานมันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ทั้งนี้เพราะคนใช้ได้เพียงแต่คลิกที่สัญลักษณ์ไอค่อนแทนการพิมพ์โค้ดคำสั่งด้วยตนเอง จึงไม่เห็นความยุ่งยากของคนที่พยายามสร้างโปรแกรมมาให้ใช้

และด้วยการที่ระบบของไมโครซอฟต์ฝังรากลึกในผู้ใช้ของประเทศไทย จึงทำให้ยากที่จะเปลี่ยนแปลงการใช้เป็นระบบอื่น

เมื่อเริ่มจะนำระบบอื่นมาใช้สอนเด็กบ้างก็ถูกตั้งคำถามว่า เด็กที่เรียนระบบอื่นนอกจากของไมโครซอฟต์แล้วจะนำไปใช้ได้ที่ไหนอย่างไร ทำให้ความคิดของหลายคนที่จะอยากเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ของคนในประเทศไทยต้องสดุด เดินหน้าต่อไปไม่ได้

ตามความเป็นจริงแล้ว จะต้องบอกว่า ระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จะใช้ตัวไหนก็ได้ทั้งนั้น เพราะหลักการทำงานเป็นเช่นเดียวกัน คือทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานให้เราได้ จะต่างกันคือหน้าตา และแอพพลิเคชั่นที่ใช้ ซึ่งแท้จริงแล้วเด็กรุ่นใหม่จะสามารถรับได้ ไม่ว่าจะใช้ระบบอะไรก็ตามที เนื่องจากพวกเขามีฐานความรู้เรื่อง IT มาตั้งแต่ระดับประถม มากบ้างน้อยบ้าง ส่วนคนที่กังวลมากที่สุดคือผู้ใหญ่นี่เอง เพราะฐานความรู้เรื่อง IT มีน้อยกว่าเด็ก ทำให้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่เคยใช้แล้วไม่สามารถจะใช้งานต่อไปได้นั่นเอง

อย่าลืมว่า ในขณะนี้เราอยู่ในโลกของ ICT ทุกอย่างล้วนมีราคาถ้าผลิตภัณฑ์ตัวนั้นสงวนลิขสิทธิ์ และมันจะมีราคาเพิ่มมากกว่าเท่าตัวเมื่อถูกจับดำเนินคดีฐานละเมิดลิขสิทธิ์

ในขณะที่ระบบปฏิบัติการ และแอพพลิเคชั่น ส่วนหนึ่งมีลิขสิทธิ์ โลกใบนี้ก็มีคนที่มีความเมตตากรุณาสร้างระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นให้กับคนใช้ให้มีทางเลือกว่าจะต้องจ่าย หรือไม่ต้องจ่าย

ในเมื่อมีของฟรีให้ใช้แล้ว เพราะเหตุอันใดจึงจะไม่ใช้เล่า

ทั้งระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์บริการ หรือที่เรียกว่า Server Computer และเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่เรียกว่า PC รวมถึงโน้ตบุ๊ค

ที่กล่าวนี้มีระบบและโปรแกรมทำงานต่างๆให้ใช้ได้เหมือนกับระบบของไมโครซอฟต์

เรียนรู้การใช้นิดเดียวก็สามารถใช้งานได้อย่างฉลุย เพราะพื้นฐานโปรแกรมที่ทำมาใช้นั้นแทบจะไม่ต่างกันเลย ต่างกันหน่อยตรงหน้าตาเท่านั้นส่วนพวกเครื่องมือในการใช้งานทั้งหลายแทบจะเรียกได้ว่า 90% เหมือนกันครับ

และมาถึงวันนี้ผมดีใจที่ได้เริ่มต้นใช้ระบบปฏิบัติการที่ไม่ใช่ไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ได้ง่ายมาก เพียงศึกษาระบบของเค้าให้มากสักนิด

ระบบที่ว่าคือ LINUX freeBSD ubuntu

ระบบที่ว่านี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพียงดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์ของเขาก็ใช้ได้แล้ว

และกำลังจะนำมาใช้ในห้องเรียนอินเตอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบในปีการศึกษา 2552 นี้ ให้เป็นทางเลือกของนักเรียนที่ใฝ่รู้สามารถใช้ระบบปฏิบัติการเหล่านี้เพื่อการเรียนรู้เรื่อง ไอที ต่อไป

ขอเชิญมาร่วมขบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติการรมการใช้คอมพิวเตอร์กันเถอะครับ
Comments
No Comments have been Posted.
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< August 2025 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
        1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30 31

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 23 2024 23:56:38