:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
เชื่อว่าคุณครูทั้งประเทศที่เรียนรู้จนจบการศึกษาวิชาการศึกษา วิชาเอกต่างๆมา จะต้องเป็นผู้มีทักษะในสาขาวิชาเอกนั้นๆมากกว่าใคร
และเมื่อแต่ละท่านเข้ามาทำงานสอนโดยใช้ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ลูกศิษย์ทั้งตัวน้อยตัวใหญ่ ก็จะยิ่งเพิ่มทักษะในวิชาชีพให้กล้าแข็งขึ้น
ประเด็นนี้ทุกคนยอมรับว่ายิ่งมีประสบการสอนนานปี ความเชี่ยวชาญชำนาญจะเพิ่มมากขึ้น
แต่ เมื่อมาพิจารณาลึกลงไปอีกนิด มันมีเรื่องที่น่าคิด เพราะมีการเปรียบเปรยจากหลายๆคนว่า การสอนอยู่ที่เดิมระดับเดิมนานเกินไป ความรู้ทางวิชาการที่ได้ร่ำเรียนมาก็จะหดหายไปเหลืออยู่เท่ากับระดับที่ตนเองสอน (ยกเว้นประสบการณ์ชีวิต) จริงหรือไม่อันนี้ต้องช่วยกันพิจารณาครับ
หลายๆคนบอกว่าไม่สามารถที่จะไปสอนระดับอื่นได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ชวนคิด ว่าเพราะเหตุใดคุณครูบางท่านจึงบอกเช่นนั้น
โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เชื่อว่าจะเป็นเช่นนั้น
เพราะการสอนในวิชาที่เกี่ยวข้องกับทักษะวิชาเอกที่ได้เรียนมาซึ่งคุณครูมีพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว เพียงรื้อฟื้นเรื่องที่จะต้องสอน ก็จะสามารถสอนได้อย่างดี อย่างชำนาญในไม่ช้า มิใช่ว่าจะต้องสอนในวิชาเอกอื่นที่ตนไม่ได้เรียนรู้มาเสียเมื่อไร ผมจึงไม่เชื่อว่าคุณครูจะสอนไม่ได้
เว้นเสียแต่ว่าจะมีสาเหตุอื่นมาเป็นเหตผล เช่นการไม่อยากเตรียมการสอนใหม่ เป็นต้น
ถ้าระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ มีผลตอบแทนให้ครูมากพอ น่าจะเป็นแรงจูงใจให้คุณครูมีมานะที่จะทำงานในสายของตนเองไม่ว่าจะทำหน้าที่สอนในระดับใดโดยไม่เป็นปัญหาอุปสรรค
และถ้าระบบแผนการสอนมีมาตรฐาน ก็ยิ่งจะทำให้การสอนต่างระดับง่ายขึ้นเพราะมีตัวแผนเป็นแม่บทในการสอนให้อยู่แล้ว เพียงแต่ปรับปรุงให้เข้ากับสไตล์การสอนของตนเองเท่านั้น
แต่เมื่อมองไปที่งานของของครูนอกเหนืองานสอนในปัจจุบันที่มีมากมาย มันน่าจะเป็นเหุผลหนึ่งที่ทำให้คุณครูเกิดความอ่อนล้าที่จะขยับปรับเปลี่ยน ถ้านำงานของครูมากองตรงหน้าขณะนี้ และนำเวลาในตารางงานมากางออกดู จะเห็นว่างานที่วางกองตรงหน้านั้นมันมากจนล้นตาราง หากไม่ทำนอกตารางงานรับรองว่าไม่เสร็จแน่ ผิดกับธรรมชาติของงานอย่างอื่นที่จะสามารถจัดการให้เสร็จได้เป็นวันๆ เมื่อถึงวันหยุดก็สามารถใช้เวลานั้นเป็นเวลาส่วนตัวไม่ยุ่งเกี่ยวกับงาน
ถ้าปฏิบัติภาระงานอย่างจริงจัง รับรองได้ว่าครูจะต้องทำงานทุกวันโดยไม่มีวันหยุด ทั้งงานสอน งานตรวจการบ้าน งานธุรการประจำชั้น งานประเมินผล งานประเมินมาตรฐาน งานเตรียมสื่อการสอน งานตามคำสั่งโรงเรียน งานช่วยเหลือดูแลทั้งนักเรียนประจำชั้นและประจำวิชา ฯลฯ แต่ละงานก็โหดหินทั้งนั้น โดยเฉพาะงานสอน และงานดูแลช่วยเหลือ
นี่น่าจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ครูอ่อนล้า บางรายเบื่อจนกระทั่งขอปลดตัวเองให้พ้นไปจากงานที่หนักหนาสาหัสตรงหน้าด้วยการลาออกบ้าง ด้วยการเข้าโครงการเออรี่ รีไทร์บ้าง
อย่างไรก็ตามย้อนมาเข้าประเด็นเดิม คือ ผมเชื่อว่าคุณครูทุกท่านจะสามารถใช้ทักษะวิชาชีพของตนสอนต่างระดับได้โดยไม่มีปัญหาครับ
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< March 2024 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)