:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
ภาษา คือ หัวใจของการเรียนรู้
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าการศึกษาของเยาวชนของชาติในภาพรวม "ยิ่งเรียนยิ่งแย่"
เหคุผลหนึ่งที่กังวลกันมากคือ ทักษะความรู้ในด้านภาษาของเยาวชนไทยนั้นอยู่ในสภาพที่ีย่ำแย่
ทั้งภาษาไทย ที่เป็นภาษาแม่ และภาษาอังกฤษ ที่เป็นภาษาที่สองมีความจำเป็นต้องใช้สื่อสารในยุคปัจจุบัน
เมื่อเยาวชนมีทักษะความรู้ในด้านภาษาน้อย สิ่งที่ตามมาคือปัญหาใหญ่หลวง ให้นักการศึกษาที่ไหนในโลกมาสั่งมาสอนเยาวชนเหล่านี้ก็คงไม่มีอะไรที่ดีขึ้น
ผมสงสัยมานานนับ 10 ปี ที่เห็นลูกศิษย์ผ่านเข้ามาในสายพานการสอนรุ่นต่อรุ่น เห็นพัฒนาการด้านภาษาไม่ได้กระเตื้องขึ้นเลย มีแต่จะย่ำแย่ลง
เราจะโทษใคร
ระบบการจัดการศึกษาของบ้านเรานั้นลักลั่นกันอยู่อย่างมาก สถานศึกษาบางแห่งมีนักเรียนแค่ไม่กี่ร้อยคน แต่ส่งผ่านเด็กขึ้นมาทั้งๆที่อ่านเขียนไม่คล่องเขียนไม่คล่อง บางรายหนักถึงขั้นอ่านไม่ได้ เขียนไม่ถูก และเด็กเหล่านี้ก็จะถูกส่งผ่านขึ้นไปอีกขั้น อีกขั้น และอีกขั้น
ลองวิเคราะห์กันว่ามันเกิดอะไรขึ้นในประเทศนี้ ประเทศที่ปฏิรูปการศึกษามาแล้ว 10 ปี แต่ยังไม่มีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหานี้ให้ดีขึ้นได้ (แม้จะมองเห็นความพยายาม)
การทุ่มเทจัดการศึกษาในระดับต้น นั้นควรเน้นที่ภาษาและการคำนวณ ซึ่งเรื่องนี้เคยเขียนมาหลายครั้งมาก
เพราะคิดกันง่ายๆแบบชาวบ้านๆ สิ่งที่จะทำให้เด็กๆเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืนนั้น จะต้องให้เขารู้ภาษา ทั้งภาษาไทย และภาษาเลข และภาษาอังกฤษ
ให้เขามีความเข้าใจในหลักการ ฟังพูดอ่านเขียน และการบวกลบคูณหาร อย่างมากๆสัก 4 ปี (ป.1-4)โดยลดสัดส่วนของวิชาอื่นๆลงไป
เชื่อเถอะว่า เมื่อภาษาดี คำนวณได้ มันจะเป็นตัวนำเยาวชนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองตามมาในระดับสูงขึ้นไปนอกเหนือจากการเรียนรู้กับครู
แต่ที่เป็นอยู่ เขียนก็ไม่เป็น แถมยังเขียนผิดเขียนถูก พูดแบบมีสาระก้ไม่เป็น อ่านหนังสือก็ไม่แตกฉาน บวก ลบ คูณ หาร ก็ไม่คล่อง บางคนไม่เป็นเลยด้วยซ้ำ
แล้วอย่างนี้ลูกหลานไทยจะไปสู้อะไรกับชาวโลกเขาได้ จะให้คนเก่งแค่หยิบมือเดียวมาช่วยฉุด มันคงเป็นไปไม่ได้
ผมอยากเห็นการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน มากกว่ามุ่งไปที่เพิ่มวิทยฐานะให้กับบุคลากรครู
เพราะยิ่งเพิ่มดูเหมือนกับมันผกผันกัน นั่นคือไปเพิ่มอย่างหนึ่งกลับไปลดอีกอย่างหนึ่ง และสิ่งที่ลดลงนั้นเป็นเรื่องคอขาดบาดตายของประเทศชาติเสียด้วย นั่นคือเยาวชนของชาติจำนวนมากไม่มีความรู้ทางวิชาการที่ดีพอติดตัวไปจนตลอดชีวิตของเขา
Please Login to Post a Comment.
<< October 2029 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)