:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ขอคิดด้วยคน » ภาษา คือ หัวใจของการเรียนรู้
ภาษา คือ หัวใจของการเรียนรู้
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าการศึกษาของเยาวชนของชาติในภาพรวม "ยิ่งเรียนยิ่งแย่"

เหคุผลหนึ่งที่กังวลกันมากคือ ทักษะความรู้ในด้านภาษาของเยาวชนไทยนั้นอยู่ในสภาพที่ีย่ำแย่

ทั้งภาษาไทย ที่เป็นภาษาแม่ และภาษาอังกฤษ ที่เป็นภาษาที่สองมีความจำเป็นต้องใช้สื่อสารในยุคปัจจุบัน

เมื่อเยาวชนมีทักษะความรู้ในด้านภาษาน้อย สิ่งที่ตามมาคือปัญหาใหญ่หลวง ให้นักการศึกษาที่ไหนในโลกมาสั่งมาสอนเยาวชนเหล่านี้ก็คงไม่มีอะไรที่ดีขึ้น

ผมสงสัยมานานนับ 10 ปี ที่เห็นลูกศิษย์ผ่านเข้ามาในสายพานการสอนรุ่นต่อรุ่น เห็นพัฒนาการด้านภาษาไม่ได้กระเตื้องขึ้นเลย มีแต่จะย่ำแย่ลง

เราจะโทษใคร

ระบบการจัดการศึกษาของบ้านเรานั้นลักลั่นกันอยู่อย่างมาก สถานศึกษาบางแห่งมีนักเรียนแค่ไม่กี่ร้อยคน แต่ส่งผ่านเด็กขึ้นมาทั้งๆที่อ่านเขียนไม่คล่องเขียนไม่คล่อง บางรายหนักถึงขั้นอ่านไม่ได้ เขียนไม่ถูก และเด็กเหล่านี้ก็จะถูกส่งผ่านขึ้นไปอีกขั้น อีกขั้น และอีกขั้น

ลองวิเคราะห์กันว่ามันเกิดอะไรขึ้นในประเทศนี้ ประเทศที่ปฏิรูปการศึกษามาแล้ว 10 ปี แต่ยังไม่มีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหานี้ให้ดีขึ้นได้ (แม้จะมองเห็นความพยายาม)

การทุ่มเทจัดการศึกษาในระดับต้น นั้นควรเน้นที่ภาษาและการคำนวณ ซึ่งเรื่องนี้เคยเขียนมาหลายครั้งมาก

เพราะคิดกันง่ายๆแบบชาวบ้านๆ สิ่งที่จะทำให้เด็กๆเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืนนั้น จะต้องให้เขารู้ภาษา ทั้งภาษาไทย และภาษาเลข และภาษาอังกฤษ

ให้เขามีความเข้าใจในหลักการ ฟังพูดอ่านเขียน และการบวกลบคูณหาร อย่างมากๆสัก 4 ปี (ป.1-4)โดยลดสัดส่วนของวิชาอื่นๆลงไป

เชื่อเถอะว่า เมื่อภาษาดี คำนวณได้ มันจะเป็นตัวนำเยาวชนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองตามมาในระดับสูงขึ้นไปนอกเหนือจากการเรียนรู้กับครู

แต่ที่เป็นอยู่ เขียนก็ไม่เป็น แถมยังเขียนผิดเขียนถูก พูดแบบมีสาระก้ไม่เป็น อ่านหนังสือก็ไม่แตกฉาน บวก ลบ คูณ หาร ก็ไม่คล่อง บางคนไม่เป็นเลยด้วยซ้ำ

แล้วอย่างนี้ลูกหลานไทยจะไปสู้อะไรกับชาวโลกเขาได้ จะให้คนเก่งแค่หยิบมือเดียวมาช่วยฉุด มันคงเป็นไปไม่ได้

ผมอยากเห็นการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน มากกว่ามุ่งไปที่เพิ่มวิทยฐานะให้กับบุคลากรครู

เพราะยิ่งเพิ่มดูเหมือนกับมันผกผันกัน นั่นคือไปเพิ่มอย่างหนึ่งกลับไปลดอีกอย่างหนึ่ง และสิ่งที่ลดลงนั้นเป็นเรื่องคอขาดบาดตายของประเทศชาติเสียด้วย นั่นคือเยาวชนของชาติจำนวนมากไม่มีความรู้ทางวิชาการที่ดีพอติดตัวไปจนตลอดชีวิตของเขา
Comments
#1 | rong_nan on February 26 2009 23:24:11
หลังจากที่ได้เขียนเรื่อง ภาษาและคำนวณ กับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมานานมาก

วันนี้บังเอิญดูข่าวเช้า ไดรู้ว่า รมต.กระทรวงศึกษา ได้เห็นความสำคัญเรื่องภาษาและการคำนวณ เพราะพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ

ก็จะไม่ให้ต่ำกว่าได้อย่างไร ในเมื่อเด็กไทยเดี๋ยวนี้อ่านภาษาไทยไม่คล่อง ตีโจทย์ไม่เป็น และจะแก้ปัญหาโจทย์ได้อย่างไร

ก็มีความยินดีที่ รมต.ศธ. ให้ความสำคัญ ในเรื่องดังกล่าว และมอบเป็นนโยบายให้ สพฐ. ไปดำเนินการแก้ปัญหา

ขอบคุณครับ ขอบคุณแทนเด็กๆของประเทศไทยจริงๆ

ถ้าให้ดีควรสนับสนุนเรื่องครูที่มีความสามารถด้านภาษา และการคำนวณ ลงไปสอนเด็กๆ แม้จะต้องลงทุนมากแต่คิดว่าคุ้ม ดีกว่าปล่อยไปตามยถากรรมอย่างที่เป็นอยู่นี้
#2 | rong_nan on February 27 2009 06:06:37
เรียนคุณครูที่สอนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษนะครับ

เมื่อเจ้ากระทรวง ศธ. เห็นความสำคัญของวิชาภาษา อย่างนี้แล้ว เอาอย่างนี้ดีไหม

ในยุคปัจจุบันนี้ เด็กๆเค้าชอบที่จะใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเรามาร่วมมือกันจัดกิจกรรมด้านภาษาให้เด็กๆได้ฝึกฝนกันผ่านอินเตอร์เน็ตกันดีไหม

เครื่องมือที่จะใช้ของโรงเรียนเราก็มีอยู่พร้อมแล้ว

เรามานั่งคุยกันหาวิธีการ หากิจกรรมอะไรที่สนุกๆ โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เชื่อมระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อสอนเด็กๆให้เรียนรู้ภาษากัน

เมื่อเขาได้อ่านมาก เขียนมาก บ่อยครั้ง เขาจะมัทักษะขึ้นมาเองโดยไม่รู้ตัว

ครูเป็นพี่เลี้ยงช่วยติ ช่วยชม ให้กำลังใจ คอยจัดกิจกรรมให้เขา และบางครั้งเข้าร่วมวงไพบูลย์โดยใช้คุณสมบัติของห้องสนทนาในการคุยกับลูกศิษย์

อีกอย่างหนึ่งวิชาการด้านอื่นๆควรบูรณาการกับภาษาไทย พยายามเข้มงวดเรื่องการใช้ภาษาทั้งพูดและเขียนกับลูกศิษย์ ช่วยกันคนละไม้ละมือ เชื่อว่าแม้เราจะต้องมารับผิดชอบเด็กในวัยมัธยมที่มีพื้นฐานด้านนี้ไม่ค่อยดีมาแต่ต้น ก็น่าจะบรรเทาปัญหาหนักอกของคนทั้งประเทศลงได้บ้างนะครับ
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< June 2026 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30          

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 29 2024 20:00:39