:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ขอคิดด้วยคน » อยากช่วยฉุดเด็กด้อยทักษะภาษาไทย
อยากช่วยฉุดเด็กด้อยทักษะภาษาไทย
วันนี้ได้ขายความคิดเกี่ยวกับการที่จะพัฒนาทักษะความรู้ด้านภาษาไทย โดยได้มีโอกาสพูดคุยกับหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และครูผู้สอนชั้น ม.1

สิ่งที่ได้คิดและคุยเพื่อขยายความคิดให้เห็นภาพว่า

ภายหลังจากที่ประกาศผลการสอบเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 แล้ว ผมจะขอข้อมูลคะแนนสอบของนักเรียนชั้น ม.1 ที่สอบได้ทั้งหมด มาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย เพื่อให้เห็นข้อมูลที่ชัดเจนว่านักเรียนแต่ละคนนั้นมีพื้นฐานด้านภาษาไทยมากน้อยอย่างไร ทั้งนี้เพราะเครื่องมือที่ใช้ทดสอบนักเรียนนั้นเป้นข้อสอบมาตรฐานจากสำนักทดสอบของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรตม์ ประสานมิตร ถือว่าเป็นเครื่องมือที่เชื่อว่ามีความเที่ยงตรง

สมมุติฐานจากคะแนนเต็ม 100 น่าจะตัดเอานักเรียนที่ได้คะแนนภาษาไทยต่ำกว่า เกณฑ์(ช่วยกันกำหนด) ออกมา จะได้นักเรียนจำนวนเท่าไรก็นำนักเรียนทั้งหมดนี้ มาวัดทักษะพื้นฐานด้านภาษาไทย ฟัง พูด อ่าน เขียน โดยเฉพาะทักษะด้านการอ่าน และการเขียนเป็นสำคัญ ด้วยเครื่องมือที่ช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อวัด

หลังจากนั้นจัดกลุ่มความสามารถด้านภาษาที่เป็นปัญหาออกเป็น 2 กลุ่ม คือด้านการอ่าน และเขียน

นักเรียนทั้ง 2 กลุ่มนี้ควรที่จะได้รับการเยียวยารักษาโรคบกพร่องทางภาษาไทย ครูในระดับชั้น ม.1 ควรเป็นแกนหลัก ในการจัดกิจกรรมเพื่อมาฝึกทักษะของพวกเขา ครูทุกคนในกลุ่มสาระก็ควรจะเป็นกำลังหนุนที่จะช่วยส่งเสริมกิจกรรมนี้ เพราะถือว่าเป็นการช่วยกันรักษาเด็ก ๆ ให้มีทักษะด้านภาษาไทยมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

หมายความว่า กิจกรรมที่จะฝึกทักษะเด็กเหล่านี้นั้น คงต้องจัดเป็นโครงการระยะยาว อย่างน้อย 1 ภาคเรียน ฝึกทักษะพวกเขาอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆกันก็สังเกตุพัฒนาการของเด็กเหล่านี้ไปด้วย โดยใช้เครื่องมือวัดง่ายๆ เช่นการอ่าน หรือการเขียนจากแบบประเมินที่เตรียมเอาไว้

เชื่อว่าถ้าได้กระทำอย่างต่อเนื่อง พัฒนาการของเด็กเหล่านี้น่าจะเห็นชัดเจนมากขึ้น

ประโยชน์ที่ได้คือเราจะสามารถส่งผ่านนักเรียนที่มีทักษะความรู้ด้านภาษาไทยที่ใช้ได้ ให้กับคุณครูระดับสูงขึ้นไปได้สอนต่ออย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และนอกเหนือจากนั้น ผลวิจัยเหล่านนี้ยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของกลุ่มภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบคำถามเพื่อนครู และเพื่อนครูต่างโรงเรียนได้อย่างชัดเจน

และด้วยเหตุนี้ ผมในฐานะที่ดูแลงานด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จะสามารถช่วยเหลือได้ด้วยการนำเครื่องมือสื่อสารด้านอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีการศึกษาเข้ามาเป็นส่วนกระตุ้นความน่าสนใจ และให้เกิดความสนุกที่จะเรียนรู้ภาษาไทย

หวังว่านี่คือความฝันที่จะต้องเป็นจริง เพราะน้องๆที่คุยด้วยบอกว่า พี่สามารถจะฝันให้เป็นอย่างไรก็ได้ แต่ความเป็นจริงอาจจะไม่ใช่

แต่ฝันเอาไว้ และมุ่งมั่นที่จะเดินไปตามฝัน ดีกว่าไม่ฝันเอาไว้เลย...จริงไหมครับ

Comments
#1 | rong_nan on March 24 2009 12:50:23
นายพินิติ รตะนานุ****ล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง "การผลิตครูมืออาชีพ" ในการสัมมนาเพื่อเตรียมการบรรจุนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้น ฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) รุ่นปีการศึกษา 2547 ว่า ครูรุ่นใหม่ต้องรู้ถึงปัญหาการศึกษาของประเทศ เช่น ปัญหาคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย โดยขณะนี้ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ปีการศึกษา 2551 พบว่า 3 วิชาหลักคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คือ ภาษาอังกฤษ 30.93 เต็ม 100 คะแนน คณิตศาสตร์ 32.49 วิทยาศาสตร์ 34.62 ส่วนคะแนนสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นสูง หรือเอเน็ต คณิตศาสตร์ 21.96 ภาษาอังกฤษ 32.52 วิทยาศาสตร์ 33.94 ส่วนภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 50.26 ดังนั้น ในฐานะครูพันธุ์ใหม่ต้องเตรียมตัวที่จะพัฒนาคุณภาพเด็ก
#2 | rong_nan on March 24 2009 12:54:30
จากบางส่วนของข่าวข้างบน อาการน่าเป็นห่วงก็คือ เด็กไทยอ่อนด้อยในเรื่องภาษา ทั้งไทยทั้งอังกฤษ เป็นปัญหาที่ครูจะต้องช่วยกันฉุดให้เด็กมีทักษะด้านภาษาให้มากขึ้น

เมื่อภาษาดี การเรียนด้านอื่นๆก็น่าจะดีตามไปด้วย ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เด็กที่เรียนอ่อนปรากฏว่าภาษาไทยก็อ่อนด้วย เขียน อ่านไม่ได้เรื่องได้ราว บางคนเขียนหนังสือไม่เป็นตัว สะกดคำไม่ถูกต้อง ซ้ำยังอ่านหนังสือติดๆขัดๆผิดมากกว่าถูก

น่าอนาจใจเหมือนกันนะครับ
#3 | rong_nan on March 27 2009 10:10:37
รายงานผลการประเมินของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ว่า ขณะนี้พบว่าเกณฑ์ของภาษาไทยนั้นต่ำกว่าเกณฑ์ถึงร้อยละ 70 รองลงมาคือ วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือว่าวิชาภาษาไทยนั้น น่าเป็นห่วงมาก เพราะว่าเป็นพื้นฐานหลักของวิชาอื่นๆ ซึ่งถ้าไม่เข้าใจภาษาไทยแล้ว ก็จะไม่สามารถตีความหมายในวิชาอื่นๆ ได้


ผมเขียนเรื่องนี้มาอย่างน้อย 3 ปี ที่บอกว่า ภาษาไทย เป็นรากฐาน พื้นฐาน ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาเรียนรู้ของทุกวิชา ... แต่ความรู้สึกของฝ่ายวิชาการของ สพฐ. ช้ามาก ไม่สามารถจัดการแก้ปัญหาเรื่องด้อยภาาาของเด็กไทยได้ทันท่วงที ปล่อยมาจนกระทั่งมันแทบจะสายเกินไป เด็กที่จบไปรุ่นแล้วรุ่นเล่าเป็นจำนวนมาก ขาดทักษะภาษาไทยอย่างรุนแรง เด็กบางคนจบการศึกษาไปแต่ อ่าน เขียน แทบไม่ได้ ..... ถึงเวลาที่เราชาวมัธยมจะต้องมาช่วยกันฝึกทักษะด้านภาษาให้กับเด็กอย่างขนานใหญ่แล้วครับ แม้ว่าผลผลิตของเราที่ได้มาจะด้อยภาษา แต่ก็ต้องมาช่วยกันพัฒนานั่นแหลครับ

และฝากไปยังผู้ดูแลระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะ ป.1 - 4 ให้เน้นหนัก 2 เรื่อง 2 รายวิชา คือ ทักษะภาษาไทย และ ทักษะภาษาเลข (เลขคณิตนั่นแหละครับ) หากท่านทำฐาน 2 เรื่องนี้ได้ดี ลูกศิษย์ตัวน้อยๆของท่านจะเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้แน่นอน กิจกรรมอื่นลดลงพอประมาณเถอะครับ หากท่านสามารถบูรณาการภาษาไทย และ เลขคณิตไปยังกิจกรรมวิชาอื่นๆได้จะยิ่งดีใหญ่
#4 | rong_nan on March 27 2009 15:02:07
นายจุรินทร์ กล่าวว่า การยกระดับคุณภาพวิชาคณิต วิทย์ และภาษาไทยนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของคณะทำงานจัดทำข้อเสนอนโยบาย "อ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขเป็น" มีนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.เป็นประธาน ได้ข้อสรุปว่า จะปรับเป้าหมายที่จะทำให้เด็กเรียน ป.3-4 ต้องอ่าน เขียน และคิดเลขเป็น เพื่อไปสู่การเป็นเด็กที่เก่งในวิชาวิทย์ คณิต ภาษาไทย โดยกำหนดแผนดำเนินการไว้ 7 ปี เริ่มในปีการศึกษา 2552-2558 มีแนวทางเบื้องต้น 5 ประการ ได้แก่ 1.มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกมิติที่จะเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหา ทั้งในส่วนของครู ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน องค์กร และกระทรวงต่างๆ ที่มีสถานศึกษาในสังกัด 2.การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน 3.เน้นการผลิตครูพันธุ์ใหม่หลักสูตร 5 ปีมาช่วยเสริม รวมทั้งจัดอบรมพัฒนาครูที่มีอยู่ให้สามารถสอนวิชาวิทย์ คณิต และภาษาไทย 4.นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน และ 5.ต้องติดตามประเมินผล และการทำการวิจัยผลสัมฤทธิ์ที่ออกมา

สิ่งที่ท่าน รมต. กล่าวมาทั้งหมดนั้น ผมได้คิดและกำลังลงมือทำ ด้วยการทำโครงการพัฒนาทักษะภาษาไทยนักเรียนชั้น ม.1 ที่สอบเข้ามาเรียนที่เบญจมฯ ในปีการศึกษา 2552 นี้ ด้วยการพิจารณาจากข้อมูลคะแนนที่สอบเข้าวิชาภาษาไทย ใครต่ำกว่า 50% จะต้องขอให้เข้าร่วมโครงการตลอดภาคเรียน

ความจริงเราตั้งใจทำเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา แต่เพราะความไม่เข้าใจในแนวคิดของโครงการจึงไม่ได้ผล

ปีนี้เราจะทำและเชื่อว่านักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะมีการพัฒนาทักษะภาษาไทยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
#5 | narong on December 18 2009 14:18:33
และแล้วความฝันก็ล่มสลาย เพราะ...
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< February 2025 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
          1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28    

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 23 2024 00:28:22