:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
อยากช่วยฉุดเด็กด้อยทักษะภาษาไทย
วันนี้ได้ขายความคิดเกี่ยวกับการที่จะพัฒนาทักษะความรู้ด้านภาษาไทย โดยได้มีโอกาสพูดคุยกับหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และครูผู้สอนชั้น ม.1
สิ่งที่ได้คิดและคุยเพื่อขยายความคิดให้เห็นภาพว่า
ภายหลังจากที่ประกาศผลการสอบเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 แล้ว ผมจะขอข้อมูลคะแนนสอบของนักเรียนชั้น ม.1 ที่สอบได้ทั้งหมด มาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย เพื่อให้เห็นข้อมูลที่ชัดเจนว่านักเรียนแต่ละคนนั้นมีพื้นฐานด้านภาษาไทยมากน้อยอย่างไร ทั้งนี้เพราะเครื่องมือที่ใช้ทดสอบนักเรียนนั้นเป้นข้อสอบมาตรฐานจากสำนักทดสอบของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรตม์ ประสานมิตร ถือว่าเป็นเครื่องมือที่เชื่อว่ามีความเที่ยงตรง
สมมุติฐานจากคะแนนเต็ม 100 น่าจะตัดเอานักเรียนที่ได้คะแนนภาษาไทยต่ำกว่า เกณฑ์(ช่วยกันกำหนด) ออกมา จะได้นักเรียนจำนวนเท่าไรก็นำนักเรียนทั้งหมดนี้ มาวัดทักษะพื้นฐานด้านภาษาไทย ฟัง พูด อ่าน เขียน โดยเฉพาะทักษะด้านการอ่าน และการเขียนเป็นสำคัญ ด้วยเครื่องมือที่ช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อวัด
หลังจากนั้นจัดกลุ่มความสามารถด้านภาษาที่เป็นปัญหาออกเป็น 2 กลุ่ม คือด้านการอ่าน และเขียน
นักเรียนทั้ง 2 กลุ่มนี้ควรที่จะได้รับการเยียวยารักษาโรคบกพร่องทางภาษาไทย ครูในระดับชั้น ม.1 ควรเป็นแกนหลัก ในการจัดกิจกรรมเพื่อมาฝึกทักษะของพวกเขา ครูทุกคนในกลุ่มสาระก็ควรจะเป็นกำลังหนุนที่จะช่วยส่งเสริมกิจกรรมนี้ เพราะถือว่าเป็นการช่วยกันรักษาเด็ก ๆ ให้มีทักษะด้านภาษาไทยมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
หมายความว่า กิจกรรมที่จะฝึกทักษะเด็กเหล่านี้นั้น คงต้องจัดเป็นโครงการระยะยาว อย่างน้อย 1 ภาคเรียน ฝึกทักษะพวกเขาอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆกันก็สังเกตุพัฒนาการของเด็กเหล่านี้ไปด้วย โดยใช้เครื่องมือวัดง่ายๆ เช่นการอ่าน หรือการเขียนจากแบบประเมินที่เตรียมเอาไว้
เชื่อว่าถ้าได้กระทำอย่างต่อเนื่อง พัฒนาการของเด็กเหล่านี้น่าจะเห็นชัดเจนมากขึ้น
ประโยชน์ที่ได้คือเราจะสามารถส่งผ่านนักเรียนที่มีทักษะความรู้ด้านภาษาไทยที่ใช้ได้ ให้กับคุณครูระดับสูงขึ้นไปได้สอนต่ออย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และนอกเหนือจากนั้น ผลวิจัยเหล่านนี้ยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของกลุ่มภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบคำถามเพื่อนครู และเพื่อนครูต่างโรงเรียนได้อย่างชัดเจน
และด้วยเหตุนี้ ผมในฐานะที่ดูแลงานด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จะสามารถช่วยเหลือได้ด้วยการนำเครื่องมือสื่อสารด้านอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีการศึกษาเข้ามาเป็นส่วนกระตุ้นความน่าสนใจ และให้เกิดความสนุกที่จะเรียนรู้ภาษาไทย
หวังว่านี่คือความฝันที่จะต้องเป็นจริง เพราะน้องๆที่คุยด้วยบอกว่า พี่สามารถจะฝันให้เป็นอย่างไรก็ได้ แต่ความเป็นจริงอาจจะไม่ใช่
แต่ฝันเอาไว้ และมุ่งมั่นที่จะเดินไปตามฝัน ดีกว่าไม่ฝันเอาไว้เลย...จริงไหมครับ
Please Login to Post a Comment.
<< April 2026 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)