:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
เป็นห่วง...เรื่องที่น่าห่วง
ใครจะเป็นเหมือนผมหรือเปล่าไม่ทราบ
ถ้าเราตั้งสมมุติฐานว่ามีเรื่องหนึ่งที่น่าห่วง แล้วเมื่อได้ข้อมูลที่ชัดเจนมาว่าสิ่งที่เราตั้งสมมุติฐานนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้คิดไปเอง มันเป็นเรื่องที่น่าห่วงจริงๆ จะยิ่งทำให้เราต้องคิดวิตกกังวลมากมาย คิดหาวิธีที่จะช่วยทุกเวลานาทีที่สมองว่าง
เรื่องที่ผมยกมาเป็นวาระสำคัญของคนบ้านเบญจมฯ คือเรื่องที่ลูกๆคนเล็กของเราชั้น ม.1 ที่เพิ่งผ่านการคัดเลือกประกาศรายชื่อไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ โดยผมตั้งสมมุติฐานไว้ว่า นักเรียน ม.1 เหล่านี้ จะมีจำนวนหนึ่งที่มีทักษะด้านภาษาไทยต่ำกว่าเกณฑ์ อย่างน้อย 70-80 คน จากนักเรียนที่สอบเข้าทั้งในและนอกเขตพื้นที่
เมื่อผมได้ข้อมูลคะแนนสอบเข้าวิชาภาษาไทยมาจากฝ่ายวิชาการ ผมนำข้อมูลมาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย และหาค่าเฉลี่ยกลาง หรือ mean ปรากฏว่าสมมุติฐานที่ผมตั้งเอาไว้นั้นเป็นเรื่องจริง มีนักเรียนจำนวนกว่า 100 คน มีคะแนนที่ต่ำกว่าเฉลี่ยกลาง
ผมจะแจกแจงคะแนนวิชาภาษาไทยที่มีคะแนนเต็ม 40 คะแนน ให้เห็นดังนี้นะครับ
จำนวนนักเรียนที่ผ่านการสอบเข้าประเภทนอกเขตพื้นที่ 180 คน ได้คะแนนสูงสุด 26 คะแนน คะแนนต่ำสุด 10 คะแนน คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลาง 18 คะแนน มีนักเรียนต่ำกว่ามีน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 43.88 ของนักเรียนนอกเขต
นักเรียนที่ผ่านการสอบประเภทในเขตพื้นที่ 180 คน ไดัคะแนนสูงสุด 27 คะแนน คะแนนต่ำสุด 8 คะแนน คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลาง 16 คะแนน มีนักเรียนต่ำกว่ามีน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 51.66 ของนักเรียนในเขต
นำมาเปรียบเทียบกับค่าสถิติที่สำนักทดสอบประสานมิตรทำไว้ว่า ข้อสอบที่นำมาใช้สอบเข้าชุดนี้ มีค่าเฉลี่ยดังนี้คือ ...จากการใช้แบบทดสอบสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้น ป.6 ปรากฏว่าได้คะแนนสูงสุด 40 คะแนน คะแนนต่ำสุด 21 คะแนน ค่าเฉลี่ยกลางอยู่ที่ประมาณ 30 คะแนน ดังนั้นข้อสอบนี้ไม่ยากไม่ง่ายจนเกินไป
เมื่อมองเห็นข้อมูลอย่างนี้แล้วต้องบอกว่า .... น่าตกใจ และต้องอุทานต่อไปว่า...แย่แล้ว มันน่าเป็นห่วงมากกว่าที่ผมคาดการณ์ไว้เสียอีก
แสดงถึงการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยในระดับประถมที่ผ่านมาทั้งหมด 6 ปี แทบจะเรียกว่าล้มเหลว แล้วอย่างนี้คุณภาพของนักเรียนที่จะเรียนสูงขึ้นไปนั้นจะเกิดคุณภาพทางวิชาการได้อย่างไร ในเมื่อวิชาพื้นฐานหลักซึ่งเป็นหัวใจของการเรียนรู้คือภาษาไทยของนักเรียนไม่เข็มแข็ง
มันถึงเวลาแล้วละครับที่ครูทุกคน ทุกกลุ่มสาระจะต้องร่วมด้วยช่วยกัน จัดบูรณาการด้านภาษาเข้าไปในสาระการเรียนรู้ของตนเองให้ได้ เน้นเรื่องการใช้ทักษะการเขียน ทักษะการอ่าน ให้เป็นเรื่องเป็นราว
ในส่วนของกลุ่มสาระภาษาไทย จะเป็นตัวนำร่องในการทำโครงการสนับสนุนช่วยเหลือนักเรียนด้อยทักษะภาษาเหล่านี้ ซึ่งจะไม่ทำเพียงให้ได้ชื่อว่าทำ 2-3 วัน ที่บอกว่าเป็นการปรับพื้นฐานซึ่งไม่เกิดผลอะไรเลย แต่เราจะทำต่อเนื่องตลอดเทอม ฝึกกันอย่างมีหลักการกระบวนการ จะได้มาเปรียบเทียบกันว่าเมื่อทำอย่างที่ตั้งเป้าหมายทำกันแล้วจะเกิดผลต่อนักเรียนมากน้อยเพียงใด
ในเรื่องของเลขคณิต ที่ผมบอกว่ามันคือภาษาอย่างหนึ่งที่เรียกว่าภาษาเลข ก็อยากให้ฝึกทักษะเด็กที่ด้อยทักษะการคำนวณด้วยเหมือนกัน อย่างน้อยทำให้พวกเขาบวก ลบ คูณ หาร ให้คล่อง ก็น่าพอใจแล้วครับ
หากผู้อ่านบทความนี้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษา น่าจะได้นำไปขบคิดและหาทางช่วยเหลือนักเรียนในระดับก่อนมัธยมให้มีพื้นฐานด้านภาษาไทยให้มีทักษะมากขึ้น เพื่อคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนไทยจะได้มีมาตรฐานสูงขึ้นนั่นเอง....
Please Login to Post a Comment.
<< May 2023 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)