:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ขอคิดด้วยคน » เป็นห่วง...เรื่องที่น่าห่วง
เป็นห่วง...เรื่องที่น่าห่วง
ใครจะเป็นเหมือนผมหรือเปล่าไม่ทราบ
ถ้าเราตั้งสมมุติฐานว่ามีเรื่องหนึ่งที่น่าห่วง แล้วเมื่อได้ข้อมูลที่ชัดเจนมาว่าสิ่งที่เราตั้งสมมุติฐานนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้คิดไปเอง มันเป็นเรื่องที่น่าห่วงจริงๆ จะยิ่งทำให้เราต้องคิดวิตกกังวลมากมาย คิดหาวิธีที่จะช่วยทุกเวลานาทีที่สมองว่าง

เรื่องที่ผมยกมาเป็นวาระสำคัญของคนบ้านเบญจมฯ คือเรื่องที่ลูกๆคนเล็กของเราชั้น ม.1 ที่เพิ่งผ่านการคัดเลือกประกาศรายชื่อไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ โดยผมตั้งสมมุติฐานไว้ว่า นักเรียน ม.1 เหล่านี้ จะมีจำนวนหนึ่งที่มีทักษะด้านภาษาไทยต่ำกว่าเกณฑ์ อย่างน้อย 70-80 คน จากนักเรียนที่สอบเข้าทั้งในและนอกเขตพื้นที่

เมื่อผมได้ข้อมูลคะแนนสอบเข้าวิชาภาษาไทยมาจากฝ่ายวิชาการ ผมนำข้อมูลมาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย และหาค่าเฉลี่ยกลาง หรือ mean ปรากฏว่าสมมุติฐานที่ผมตั้งเอาไว้นั้นเป็นเรื่องจริง มีนักเรียนจำนวนกว่า 100 คน มีคะแนนที่ต่ำกว่าเฉลี่ยกลาง

ผมจะแจกแจงคะแนนวิชาภาษาไทยที่มีคะแนนเต็ม 40 คะแนน ให้เห็นดังนี้นะครับ

จำนวนนักเรียนที่ผ่านการสอบเข้าประเภทนอกเขตพื้นที่ 180 คน ได้คะแนนสูงสุด 26 คะแนน คะแนนต่ำสุด 10 คะแนน คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลาง 18 คะแนน มีนักเรียนต่ำกว่ามีน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 43.88 ของนักเรียนนอกเขต

นักเรียนที่ผ่านการสอบประเภทในเขตพื้นที่ 180 คน ไดัคะแนนสูงสุด 27 คะแนน คะแนนต่ำสุด 8 คะแนน คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลาง 16 คะแนน มีนักเรียนต่ำกว่ามีน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 51.66 ของนักเรียนในเขต

นำมาเปรียบเทียบกับค่าสถิติที่สำนักทดสอบประสานมิตรทำไว้ว่า ข้อสอบที่นำมาใช้สอบเข้าชุดนี้ มีค่าเฉลี่ยดังนี้คือ ...จากการใช้แบบทดสอบสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้น ป.6 ปรากฏว่าได้คะแนนสูงสุด 40 คะแนน คะแนนต่ำสุด 21 คะแนน ค่าเฉลี่ยกลางอยู่ที่ประมาณ 30 คะแนน ดังนั้นข้อสอบนี้ไม่ยากไม่ง่ายจนเกินไป

เมื่อมองเห็นข้อมูลอย่างนี้แล้วต้องบอกว่า .... น่าตกใจ และต้องอุทานต่อไปว่า...แย่แล้ว มันน่าเป็นห่วงมากกว่าที่ผมคาดการณ์ไว้เสียอีก


แสดงถึงการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยในระดับประถมที่ผ่านมาทั้งหมด 6 ปี แทบจะเรียกว่าล้มเหลว แล้วอย่างนี้คุณภาพของนักเรียนที่จะเรียนสูงขึ้นไปนั้นจะเกิดคุณภาพทางวิชาการได้อย่างไร ในเมื่อวิชาพื้นฐานหลักซึ่งเป็นหัวใจของการเรียนรู้คือภาษาไทยของนักเรียนไม่เข็มแข็ง

มันถึงเวลาแล้วละครับที่ครูทุกคน ทุกกลุ่มสาระจะต้องร่วมด้วยช่วยกัน จัดบูรณาการด้านภาษาเข้าไปในสาระการเรียนรู้ของตนเองให้ได้ เน้นเรื่องการใช้ทักษะการเขียน ทักษะการอ่าน ให้เป็นเรื่องเป็นราว

ในส่วนของกลุ่มสาระภาษาไทย จะเป็นตัวนำร่องในการทำโครงการสนับสนุนช่วยเหลือนักเรียนด้อยทักษะภาษาเหล่านี้ ซึ่งจะไม่ทำเพียงให้ได้ชื่อว่าทำ 2-3 วัน ที่บอกว่าเป็นการปรับพื้นฐานซึ่งไม่เกิดผลอะไรเลย แต่เราจะทำต่อเนื่องตลอดเทอม ฝึกกันอย่างมีหลักการกระบวนการ จะได้มาเปรียบเทียบกันว่าเมื่อทำอย่างที่ตั้งเป้าหมายทำกันแล้วจะเกิดผลต่อนักเรียนมากน้อยเพียงใด

ในเรื่องของเลขคณิต ที่ผมบอกว่ามันคือภาษาอย่างหนึ่งที่เรียกว่าภาษาเลข ก็อยากให้ฝึกทักษะเด็กที่ด้อยทักษะการคำนวณด้วยเหมือนกัน อย่างน้อยทำให้พวกเขาบวก ลบ คูณ หาร ให้คล่อง ก็น่าพอใจแล้วครับ

หากผู้อ่านบทความนี้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษา น่าจะได้นำไปขบคิดและหาทางช่วยเหลือนักเรียนในระดับก่อนมัธยมให้มีพื้นฐานด้านภาษาไทยให้มีทักษะมากขึ้น เพื่อคุณภาพทางวิชาการของนักเรียนไทยจะได้มีมาตรฐานสูงขึ้นนั่นเอง....

Comments
#1 | rong_nan on April 01 2009 16:44:39
จากประสบการณ์ที่ทำงานในโรงเรียนมานานกว่า 30 ปี ผมมองเห็นว่า ถ้าเด็กชอบอ่าน รักการอ่าน การเรียนของเด็กคนนั้นจะดีตามไปด้วย

ผมเขียนทุกครั้งมักจะบอกว่า การวางพื้นฐานให้เด็กๆมีทักษะด้านการฟังพูด อ่าน เขียน โดยเฉพาะอ่าน และเขียนได้อย่างดีนั้นจะต้องปูพื้นมาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 4 ใน 4 ปีนี้เด็กจะต้องมีความชำนาญในเรื่องตัวอักษร สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกด เด็กจะต้องมีความสามารถในการแตกคำได้ ประสมคำได้ เขียนเรียงความได้ เพราะมันคือสิ่งที่จะทำให้เขาอ่านได้ เขียนได้ อย่างไม่ติดขัด

หลังจาก 4 ปีนี้แล้ว การเรียนรู้ก็น่าจะสามารถเดินไปได้ตามหลักสูตรที่ต้องการ แต่ทักษะภาษาก็ยังจะต้องได้รับการดูแลจากครูภาษาไทยต่อไป รวมถึงครูสาระวิชาอื่นๆด้วยที่จะต้องช่วยตามสภาพของแต่ละวิชา โดยไม่ทิ้งภาระให้ครูภาษาไทยฝ่ายเดียว

หากทำได้ จะถือเป็นบุญเป็นกุศลอย่างยิ่งของคุณครูที่สามารถฉุดเด็กเหล่านี้ให้พ้นจากความไม่รู้ในทางวิชาการ

โปรดติดตามการกำหนดกิจกรรมกันต่อไปครับ
#2 | rong_nan on April 02 2009 02:30:27
แนวดำเนินการคร่าวๆ ที่ผมและเพื่อนครูจะร่วมมือกันพัฒนาทักษะภาษาอ่านและเขียนให้กับนักเรียน ม.1 ที่ด้อยทักษะครับ (อาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้อีก)

1. เสนอโครงการพัฒนาทักษะต่อฝ่ายบริหารเพื่อให้ความเห็นชอบ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2552
2. ตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดกรอบงาน และกิจกรรม
3. พิจารณาข้อมูลความด้อยด้านภาษาไทย จากคะแนนที่สอบเข้าเรียนต่อชั้น ม.1
4. นำนักเรียนที่มีผลการสอบต่ำกว่าเกณฑ์มาจำแนกปัญหาความด้อยทักษะภาษาไทยด้านการอ่าน และการเขียน
5. ชี้แจงปัญหาให้กับผู้ปกครองนักเรียนได้รับทราบ เพื่อขอความร่วมมือช่วยเหลือดูแลนักเรียนด้านทักษะภาษา
6. คณะกรรมการร่วมมือสร้างกิจกรรมเพื่อฝึกฝนทักษะภาษาตามข้อมูลที่สำรวจได้
7. คณะกรรมการพิจารณาการใช้เครื่องมือที่เป็นสื่อเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการฝึกฝนทักษะภาษา
8. คณะกรรมการร่วมมือสร้างเครื่องมือวัดผลการฝึกตามกิจกรรมที่กำหนด
9. คณะกรรมการสรรหาบุคลากรเพื่อช่วยสนับสนุนในการดูแลนักเรียนฝึกทักษะ
10. กำหนดตารางจัดกิจกรรมตามโครงการ
11. ดำเนินการตามตารางงาน
12. ประเมินผลการปฏิบัติตามโครงการจากการวัดทักษะความรู้ด้านการอ่านและเขียน พร้อมทั้งวิเคราะห์ว่าจะดำเนินการโครงการนี้ต่อไปหรือไม่
13. รายงานผลสำเร็จต่อฝ่ายบริหาร
#3 | rong_nan on April 04 2009 15:17:35
วันนี้อ่านพบการวิเคราะห์ของ นายวิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงผลการสอบเอเน็ต ตอนหนึ่งว่า ผลการสอบที่ปรากฏในปี 2552 นี้ มีผลคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่าปีที่ผ่านมาเกือบทุกวิชา โดยเฉพาะวิชาหลัก

นายวิรุณกล่าว่า ถึงเวลาแล้วที่ระบบการศึกษาไทยต้องปรับเปลี่ยน แต่เดิมมีการเรียนคณิตศาสตร์โดยการคิดเลขในใจ เพื่อฝึกสมองให้เด็กคุ้นเคยกับตัวเลข หรือวิชาภาษาไทย เดิมมีการเรียนผันวรรณยุกต์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนภาษาไทย แต่ปัจจุบันไม่มีการสอนผันวรรณยุกต์ เด็กไทยใช้วิธีจำเป็นคำๆ เมื่อเจอคำแปลกๆ จึงอ่านไม่ถูก เขียนผิด ทั้งที่การเขียนตามคำบอก เขียนย่อความ เขียนเรียงความ อ่านจับใจความ และท่องบทอาขยาน ล้วนแต่เป็นการฝึกสมองคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำให้เด็กรู้จักแยกแยะได้ แต่การเรียนการสอนภาษาไทยในรูปแบบนี้ไม่มีอีกแล้ว ถึงเวลาแล้วที่ครูรุ่นใหม่และศธ.ต้องกลับมาทบทวนดูว่า อะไรคือพื้นฐานสำคัญของระบบการศึกษา


"ผมอยากเสนอว่า มีงานวิจัยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในระดับปริญญาเอก ซึ่งได้ศึกษาที่มศว เป็นต้นฉบับแบบเรียน 9-10 แบบเรียน ได้พูดถึงการเรียนภาษาไทยเอาไว้อย่างละเอียด เป็นแนวทางการสอนภาษาไทยให้เข้มแข็ง ถือเป็นพื้นฐานในเรื่องภาษาไทยที่ดีมาก จึงขอเชิญชวนให้ครูภาษาไทยและครูไทยทุกคนได้ศึกษา ซึ่งทางมศวได้ขอพระราชานุญาตนำมาพิมพ์เมื่อหลายปีก่อน ผู้ที่สนใจสามารถหาอ่านหรือศึกษาได้ที่สำนักหอสมุดกลาง มศว"นายวิรุณกล่าว
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< September 2026 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
  1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30        

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional January 07 2025 12:11:19