:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
หากจะต้องพัฒนาบุคลากรครูให้ใช้ ICT ไปให้ถึงเป้าหมายในทุกด้านในปัจจุบัน ทั้งด้านธุรการ ด้านการจัดการเรียนการสอนด้วย ICT โรงเรียนโดยคณะผู้บริหารจะต้องออกแรงมากเป็น 2 เท่า
เพราะว่าอะไร ลองตามผมมาแล้วช่วยกันวิเคราะห์ว่าจริงหรือไม่
ประการสำคัญที่สุดคือ บุคลากรครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนทุกแห่งยังมีบุคลากรที่ไม่ได้ใช้ หรือไม่เคยใช้เครื่องไม้เครื่องมือ ICT อยู่เป็นประจำ หรืออาจจะใช้บ้างนานๆครั้ง แล้วก็ลืมวิธีใช้ไปเรียบร้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจจะพอช่วยเหลือได้ถ้าโรงเรียนนั้นมีเครื่องไม้เครื่องมือให้ใช้ได้ง่ายๆ มีคนคอยแนะนำการใช้
ในจำนวนบุคลากรที่กล่าวในวรรคก่อน จะเป็นบุคลากรสูงวัย มีปัญหากับ ICT เนื่องจากไม่ถนัด ไม่มีความรู้พื้นฐาน แม้จะได้รับการพัฒนากี่ครั้งบางท่านก็ไม่สามารถรับได้ เนื่องจากเมื่อรับการพัฒนาแล้วไม่ได้ฝึกฝนต่อเนื่องจากที่ทำงานไม่มีคนคอยช่วยเหลือ ทำให้ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ในที่สุดก็ละวาง
ผมเคยเปรียบเทียบระหว่างคนที่มีอาชีพเป็นหมอ กับคนที่มีอาชีพเป็นครู ทั้ง 2 อาชีพต่างทำหน้าที่รักษาและป้องกันโรคเหมือนกัน เพียงแต่หมอนั้นรักษาคนให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนครูนั้นรักษาโรคไม่รู้ภาษาให้เป็นคนรู้ภาษาจนเป็นผู้รู้วิทยาการต่างๆ
อาชีพหมอต้องคลุกคลีอยู่กับเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ๆที่ทันสมัย ตลอดเวลา ทำให้หมอสามารถรักษาคนไข้ได้อย่างดีมีมาตรฐาน
ส่วนอาชีพครูคลุกคลีกับตำรา กับวิธีการสอน กับสื่อการสอน เพื่อรักษาโรคไม่รู้ให้กับนักเรียน ซึ่งก่อนหน้านี้ มีคำกล่าวว่าครูใช้ชอล์คแอนด์ทอล์ค กล่าวคือเหมือ่นไม่ใช้สื่อประกอบอืนใดๆเลย แต่ความจริงแล้วมีสื่อแต่เป็นสื่ออื่นที่ไม่ใช่สื่อ ICT
โดยความเป็นจริงแล้วเมื่อมาถึงยุคนี้ ยุคที่ทั้งเด็กทั้งครูอยู่ในยุคดิจิตอล มีการใช้สื่อต่างๆที่เป็นสื่อ ICT กันอยู่แล้ว
เพียงแต่หลายคนมีความคิดมุ่งไปที่สื่อที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เท่านั้น ซึ่งความจริงก็ถูกต้องในส่วนหนึ่ง
โทรศัพท์มือถือ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ครูและนักเรียนแทบทุกคนต้องมีและต้องใช้ หากเป็นคนช่างคิด ก็จะสามารถประยุกต์ใช้คุณสมบัติของโทรศัพท์มือถือให้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้ เพียงแต่บางอย่างต้องมีค่าใช้จ่าย เช่นการส่ง SMS หรือการส่งคลิปรูปภาพ เป็นต้น
เครื่องมือทุกอย่างที่แสดงภาพ และเสียง ล้วนเป็นสื่อ ICT ทั้งนั้น
เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคลากรครูทั้งที่อ่อนวัย และสูงวัย ก็น่าจะใช้เครื่องมือที่เป็นสื่อได้ เพียงเรียนรู้วิธีใช้จากคู่มือของเครื่องมือแต่ละชนิดเท่านั้น
แต่ในความเป็นจริงมิใช่เป็นเช่นนั้น ก็อย่างที่กล่าวมาข้างต้น บุคลากรครูจำนวนมากขาดทักษะความรู้พื้นฐานการใช้เครื่องมือ ICT ทำให้ดูเหมือนการใช้เครื่องมือเป็นเรื่องยาก ทั้งที่ความจริงเป็นเรื่องง่ายมาก
การที่จะนำบุคลากรครูเหล่านั้นให้มีความสามารถใช้ ICT เพื่องานธุรการ และงานสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น
1.ฝ่ายบริหารจัดการต้องจริงจัง มีนโยบาย มีเป้าหมายเกี่ยวกับเรื่องการใช้ ICT อย่างชัดเจน
2.มีบุคลากรที่มีความรู้คอยแนะนำการใช้ และชวนใช้ อย่างสม่ำเสมอ
เชื่อว่า ICT ถูกสร้างมาให้มนุษย์ใช้ จึงไม่น่าจะยากที่มนุษย์จะเรียนรู้วิธีใช้ให้เกิดประโยชน์ในทุกด้านครับ
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< March 2023 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)