:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ขอคิดด้วยคน » ครูกับ ICT
ครูกับ ICT
หากจะต้องพัฒนาบุคลากรครูให้ใช้ ICT ไปให้ถึงเป้าหมายในทุกด้านในปัจจุบัน ทั้งด้านธุรการ ด้านการจัดการเรียนการสอนด้วย ICT โรงเรียนโดยคณะผู้บริหารจะต้องออกแรงมากเป็น 2 เท่า

เพราะว่าอะไร ลองตามผมมาแล้วช่วยกันวิเคราะห์ว่าจริงหรือไม่

ประการสำคัญที่สุดคือ บุคลากรครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนทุกแห่งยังมีบุคลากรที่ไม่ได้ใช้ หรือไม่เคยใช้เครื่องไม้เครื่องมือ ICT อยู่เป็นประจำ หรืออาจจะใช้บ้างนานๆครั้ง แล้วก็ลืมวิธีใช้ไปเรียบร้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจจะพอช่วยเหลือได้ถ้าโรงเรียนนั้นมีเครื่องไม้เครื่องมือให้ใช้ได้ง่ายๆ มีคนคอยแนะนำการใช้

ในจำนวนบุคลากรที่กล่าวในวรรคก่อน จะเป็นบุคลากรสูงวัย มีปัญหากับ ICT เนื่องจากไม่ถนัด ไม่มีความรู้พื้นฐาน แม้จะได้รับการพัฒนากี่ครั้งบางท่านก็ไม่สามารถรับได้ เนื่องจากเมื่อรับการพัฒนาแล้วไม่ได้ฝึกฝนต่อเนื่องจากที่ทำงานไม่มีคนคอยช่วยเหลือ ทำให้ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ในที่สุดก็ละวาง

ผมเคยเปรียบเทียบระหว่างคนที่มีอาชีพเป็นหมอ กับคนที่มีอาชีพเป็นครู ทั้ง 2 อาชีพต่างทำหน้าที่รักษาและป้องกันโรคเหมือนกัน เพียงแต่หมอนั้นรักษาคนให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนครูนั้นรักษาโรคไม่รู้ภาษาให้เป็นคนรู้ภาษาจนเป็นผู้รู้วิทยาการต่างๆ

อาชีพหมอต้องคลุกคลีอยู่กับเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ๆที่ทันสมัย ตลอดเวลา ทำให้หมอสามารถรักษาคนไข้ได้อย่างดีมีมาตรฐาน

ส่วนอาชีพครูคลุกคลีกับตำรา กับวิธีการสอน กับสื่อการสอน เพื่อรักษาโรคไม่รู้ให้กับนักเรียน ซึ่งก่อนหน้านี้ มีคำกล่าวว่าครูใช้ชอล์คแอนด์ทอล์ค กล่าวคือเหมือ่นไม่ใช้สื่อประกอบอืนใดๆเลย แต่ความจริงแล้วมีสื่อแต่เป็นสื่ออื่นที่ไม่ใช่สื่อ ICT

โดยความเป็นจริงแล้วเมื่อมาถึงยุคนี้ ยุคที่ทั้งเด็กทั้งครูอยู่ในยุคดิจิตอล มีการใช้สื่อต่างๆที่เป็นสื่อ ICT กันอยู่แล้ว

เพียงแต่หลายคนมีความคิดมุ่งไปที่สื่อที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เท่านั้น ซึ่งความจริงก็ถูกต้องในส่วนหนึ่ง

โทรศัพท์มือถือ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ครูและนักเรียนแทบทุกคนต้องมีและต้องใช้ หากเป็นคนช่างคิด ก็จะสามารถประยุกต์ใช้คุณสมบัติของโทรศัพท์มือถือให้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้ เพียงแต่บางอย่างต้องมีค่าใช้จ่าย เช่นการส่ง SMS หรือการส่งคลิปรูปภาพ เป็นต้น

เครื่องมือทุกอย่างที่แสดงภาพ และเสียง ล้วนเป็นสื่อ ICT ทั้งนั้น

เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคลากรครูทั้งที่อ่อนวัย และสูงวัย ก็น่าจะใช้เครื่องมือที่เป็นสื่อได้ เพียงเรียนรู้วิธีใช้จากคู่มือของเครื่องมือแต่ละชนิดเท่านั้น

แต่ในความเป็นจริงมิใช่เป็นเช่นนั้น ก็อย่างที่กล่าวมาข้างต้น บุคลากรครูจำนวนมากขาดทักษะความรู้พื้นฐานการใช้เครื่องมือ ICT ทำให้ดูเหมือนการใช้เครื่องมือเป็นเรื่องยาก ทั้งที่ความจริงเป็นเรื่องง่ายมาก

การที่จะนำบุคลากรครูเหล่านั้นให้มีความสามารถใช้ ICT เพื่องานธุรการ และงานสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น

1.ฝ่ายบริหารจัดการต้องจริงจัง มีนโยบาย มีเป้าหมายเกี่ยวกับเรื่องการใช้ ICT อย่างชัดเจน
2.มีบุคลากรที่มีความรู้คอยแนะนำการใช้ และชวนใช้ อย่างสม่ำเสมอ

เชื่อว่า ICT ถูกสร้างมาให้มนุษย์ใช้ จึงไม่น่าจะยากที่มนุษย์จะเรียนรู้วิธีใช้ให้เกิดประโยชน์ในทุกด้านครับ
Comments
No Comments have been Posted.
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< August 2022 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30 31        

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional January 10 2025 17:29:12