:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
"รักการอ่าน" วาระแห่งโรงเรียนเบญจมฯ
"คน ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตล้วนแล้วแต่เป็นคนที่รักการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นบิล เกตส์, โอบามา หรือแม้แต่ ฮิตเลอร์ การอ่านทำให้เกิดความรู้และจินตนาการ การอ่านจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องปลูกฝังให้คนไทยรักการอ่านกันตั้งแต่ เด็กๆ" บางส่วนจากการให้สัมภาษณ์ของ "ดร.ป๊อป" ฐาวรา สิริพิพัฒน์ ผู้เขียน "เดอะ ไวท์โร้ด"
จากคำกล่าวข้างต้นนี้ เป็นเรื่องที่ครูและนักเรียนทุกคนจะต้องตระหนัก เนื่องจากเป็นเรื่องของวิชาชีพทั้งปัจจุบันและอนาคต
การหาความรู้ใส่ตนด้วยการอ่านนั้น ดีกว่าการให้ผู้อื่นหยิบยื่นให้ เนื่องเพราะการอ่านเกิดจากความต้องการใฝ่รู้จากตนเอง แถมดีกว่าที่ได้ความรู้ครบถ้วนเชื่อถือได้ไม่คลาดเคลื่อน
ประเด็นอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้เกิดการรักการอ่านขึ้นโดยเฉพาะในหมู่นักเรียน ที่ตอนนี้ค่าเฉลี่ยของการอ่านหนังสือของคนไทยอยู่ที่ 5 เล่มต่อปี
จากประสบการณ์ที่เคยสอนวิชาภาษาไทยในระดับ ม.ต้น เมื่อเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา จำได้ว่ามีรายวิชาเลือกวิชาหนึ่งชื่อ การอ่านและพิจารณาหนังสือ ไม่มีรายละเอียดมากมีเพียงคำอธิบายรายวิชาว่าจะต้องให้นักเรียนสามารถวิจารณ์วิเคราะห์ว่าหนังสือที่อ่านนั้นมีดี ในเรื่องการใช้ภาษาและมีแง่คิดอยู่ในส่วนใดบ้าง เป็นหนังสือประเภทใด คนเขียนมีแรงบันดาลใจอย่างไรที่เขียนเรื่องนั้นๆขึ้นมา ฯลฯ
จากวิชานี้เองเราสามารถจะให้นักเรียนได้อ่านหนังสือคนละอย่างน้อยเท่ากับจำนวนนักเรียนที่เรียนในชั้นนั้น
หมายความว่าให้นักเรียนซื้อหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คตามความสนใจของนักเรียนเองคนละ 1 เล่ม เพื่ออ่านแล้วเขียนรายงานตามรูปแบบที่กำหนด เสร็จแล้วแลกเปลี่ยนหนังสือกับเพื่อนเพื่ออ่านต่อและเขียนรายงานตามรูปแบบเดิม ครูตรวจสอบว่าอ่านจริงด้วยการสุ่มถามในชั้นเรียนให้นักเรียนเล่าเรื่องย่อๆให้เพื่อนฟังเป็นต้น
ถามว่าได้ผลหรือไม่....ก็ได้ผลนะ แม้ว่านักเรียนบางคนอาจจะเห็นว่าเป็นการบังคับให้อ่านก็ตาม อย่างน้อยมันก็มีกรอบให้เด็กเดินตามความต้องการของหลักสูตร ซึ่งเมื่อเวลาผ่านเลยไป นักเรียนเหล่านั้นหลายๆคนจะมีประสบการณ์จากการอ่านและอยากจะอ่านหนังสือมากขึ้น
ผมไม่รู้ว่าหลักสูตรภาษาไทยวันนี้เกี่ยวกับเรื่องอย่างนี้ยังใช้หรือไม่ ถ้าไม่มีก็น่าจะเปิดหลักสูตรนี้ขึ้นมาเพื่อสนองนโยบายการศึกษาของรัฐที่ต้องการให้นักเรียนเกิดการรักการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ... เราก็นำเรื่องนี้มาจัดการเสียก่อนเป็นวาระแห่งเบญจมฯก็ไม่เลวนะ ว่ามั้ย
<< June 2025 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)