:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
การสอบกลางภาคเรียนของเด็กเบญจมฯเสร็จสิ้นลงแล้วในวันนี้
เห็นความตั้งใจของเด็กๆหลายๆคนแล้วอดชื่นใจแทนคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองของเด็กคนนั้นๆไม่ได้ ที่เด็กเหล่านั้นมีเป้าหมายในการเรียน
แต่กับเด็กอีกหลายๆคน เห็นแล้วก็อดขื่นขมใจไม่ได้ เพราะสิ่งที่แสดงออกนั้นไม่ได้มีเป้าหมายในการเรียนเอาเสียเลย ยังทำเล่นๆกับการสอบวัดผลเหมือนเดิมๆ
ได้รับคำบอกเล่าจากคุณครูหลายต่อหลายคน บอกว่า นักเรียนบางคน บางห้อง เห็นการสอบวัดผลนั้นเป็นเหมือนกิจกรรมอะไรก็ไม่รู้ ที่ไม่มีความสำคัญต่อชีวิตพวกเขาเอาเสียเลย .. เห็นว่าการเข้าห้องสอบนั้นเพียงแค่ไปนั่งกาคำตอบไม่กี่วินาที เพื่อให้ชื่อว่าผ่านการสอบ จะได้หรือตกไม่สนใจ โดยเฉพาะวิชาหลัก
ได้ฟังเรื่องอย่างนี้มานานนมกาเล แต่สิ่งหนึ่งที่ต่างไปจากอดีตคือจำนวนของเด็กที่คิดอย่างที่กล่าวนับวันจะมีมากขึ้น แม้ฝ่ายวิชาการจะขู่ว่าจะต้องซ้ำชั้นไม่จบหลักสูตรถ้าติดศูนย์ และยิ่งถ้าเป็นตัวประโยคคือ ม.3 หรือ ม.6 จะต้องเรียนซ้ำอีกปี พวกนี้ก็ไม่สนใจ
จึงมีคำถามว่า เด็กเหล่านี้เข้ามานั่งเรียนไปเพื่ออะไร
ลองวิเคราะห์เล่นๆ
1.ไม่รู้ตัวเองว่าจะเรียนอะไร อย่างไร
2.ผู้ปกครองบางคนกลัวลูกจะเสียคนถ้าให้ไปเรียนวิชาชีพ เลยให้มานั่งเรียนวิชาสามัญดีกว่า เผื่อจะได้ไม่เสียคน (เป็นเหตุเป็นผลหรือเปล่านะ)
3.เขาว่าเรียนวิชาสามัญ ถึงสอบตกก็มีตัวช่วย
ฯลฯ ลองคิดต่อนะครับ
การเรียนในโรงเรียนที่เปิดสอนวิชาสามัญ ที่มุ่งเน้นวิชาการ อย่างที่เบญจมฯแห่งนี้นั้น ผู้ปกครองนักเรียนทุกคนก็รู้ว่าลูกหลานจะต้องใส่ใจในเรื่องการอ่าน การฝึกปฏิบัติ และผู้ปกครองก็รู้สมรรถนะของลูกหลานตนเองอยู่แล้วว่าในเชิงวิชาการนั้นเป็นอย่างไร แต่บางคนก็ยังเคี่ยวเข็ญให้ลูกหลานมาเรียนสายสามัญทั้งๆที่ความสามารถไปไม่ได้ เป็นการทำร้ายพวกเขาทางอ้อม เพราะเมื่อเขาเรียนไม่ได้ เรียนไม่รู้เรื่อง สิ่งที่ตามมาคือปัญหาร้อยแปด และยิ่งมาอยู่ในหมู่เพื่อนที่มีอาการเดียวกันด้วยแล้ว ปัญหายิ่งมากขึ้นเป็นทวีคูณ โรงเรียนก็เอาไม่อยู่ แม้แต่ผู้ปกครองเองก็เถอะ
จะมีไม้แข็ง ไม้อ่อนอย่างไร พวกเขาก็ไม่สน จนต้องเดือดร้อนตัวช่วยคือผู้ปกครอง ... หรือไม่ก็คนที่ผู้ปกครองคิดว่าจะช่วยได้ ซึ่งจะมีให้เห็นกันทุกปี กลายเป็นข้อขัดแย้งระหว่างผู้สอนกับผู้ปกครองไปในที่สุด
ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหรือไม่อย่างไรนั้นขึ้นกับความรู้ความเข้าใจของนักเรียน ของผู้ปกครองนักเรียน คือนักเรียนจะต้องรู้ความสามารถของตนเองว่าจะเรียนต่อในสายวิชาการได้หรือไม่ และผู้ปกครองก็จะต้องรู้ศักยภาพของลูกหลานตนเองด้วยว่าจะส่งเสริมให้พวกเขาเรียนต่อในสายใด
แต่เชื่อเถอะ...เรื่องอย่างนี้จะยังมีให้เห็นกันทุกปี ส่วนจะมากหรือน่อยนั้นขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของทั้งผู้ปกครองและตัวนักเรียนเองครับ
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< November 2029 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)