:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
งานใครก็งานใคร แต่ถ้า งานของใครคืองานของฉันแล้วยุ่งแน่
ในภาวะที่กำลังงานในโรงเรียนลดน้อยถอยลง ถ้าการจัดการไม่ดีงานหนักจะเกิดกับคนแฏิบัติที่มีน้อยอยู่แล้วให้แบกรับงานมากขึ้น... ในระบบจัดการจึงมีการนำเครื่องทุ่นแรง หรือทำระบบทุ่นแรงขึ้นมาให้คนใช้กำลังงานน้อยที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงความเบื่อหน่ายและละทิ้งงาน ไม่อยากทำงาน
จากประสบการณ์ที่ไปดูงานในที่ต่างๆ ทั้งหน่วยงานรัฐ หรือเอกชน ผมมักจะแอบดูเรื่องวัสดุอุปกรณ์และการจัดระบบการเก็บการใช้อุปกรณ์ในที่แห่งนั้นเสมอๆ
เท่าที่สังเกตคือแต่ละงานที่ไปดูนั้นมีคนน้อย แต่มีเครื่องทุ่นแรงให้คนทำงานได้ใช้ เช่น ลิฟท์ยกของ ล้อเลื่อนขนของ วัสดุคุรุภัณฑ์ประจำที่ วัสดุครุภัณฑ์ส่วนกลางที่ฝ่ายเกี่ยวข้องสามารถเบิกไปใช้งานและนำกลับคืนอย่างเป็นระบบ เห็นแล้วก็อยากทำบ้าง
ก่อนหมดวาระงาน พยายามทำโครงการจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ประจำที่คือโต๊ะและเก้าอี้ โดยเฉพาะโต๊ะที่ใช้ในงานห้องโสตฯนั้นได้ปรึกษากับรองผู้อำนวยการสั่งสร้างพิเศษโดยให้มีความยาวของโต๊ะมากกว่าโต๊ะทั่วไปที่มี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นที่รองเขียนของนักเรียน หรือผู้ที่เข้าใช้ห้องเพื่อการประชุมสัมมนา นั่นคือสามารถใส่เก้าอี้ได้ 4 ตัวต่อ 1 โต๊ะ จึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้เพื่อวางสิ่งของหนักต่างๆ
และเพื่อการบริหารจัดการที่เป็นระบบเป็นสัดส่วนไม่ปนเปกันไปมา จึงขอความร่วมมือว่าไม่ให้นำโต๊ะเก้าอี้ดังกล่าวออกจากพื้นที่งานชั้น 2 อาคารสมเด็จพระเทพฯ และพยายามจะขายความคิดว่าแต่ละงานนั้นสามารถที่จะทำโครงการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ไว้ใช้ในแต่ละหน่วยให้พอเพียงพอใช้
ถ้าแต่ละหน่วยงานบริหารงานอย่างสร้างสรรค์ ดูแลรักษาอย่างเป็นระบบ ความขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่ถ้ายังต้องดึงตรงนั้นตรงนี้ไปใช้จนปนเปกันก็จะเกิดปัญหากับการบริหารจัดการจนมีผลกระทบเป็นลูกโซ่
อะไรที่ขาดแคลนก็ทำงบประมาณโครงการจัดซื้อจัดหามาเพิ่มเติมให้พอใช้ในแต่ละส่วนงาน...ส่วนจะต้องหยิบยืมส่วนไหนไปใช้อย่างไรก็ทำให้เป็นเรื่องเป็นราว เป็นระบบ ง่ายต่อการติดตามทวงคืน ไม่อย่างนั้นก็จะเป็นเหมือนที่เห็น... คือคิดอยากจะหยิบฉวยข้าวของตรงไหนก็หยิบฉวยไปใช้โดยไม่บอกกล่าวผู้รับผิดชอบต่อวัสดุครุภัณฑ์นั้นได้รับรู้ จึงทำให้ของจากที่หนึ่งล่องหนหายตัวไปหลบอยู่มุมใดมุมหนึ่งโดยผู้รับผิดชอบไม่รู้ว่าจะติดตามกลับคืนได้จากที่ไหน... แล้วในที่สุดก็ปล่อยเลยตามเลย
หากแต่ละส่วนงานมีวัสดุอุปกรณ์ที่ครบครัน... คนทำงานก็สบายใจ เพราะทุ่นแรงทุ่นเวลาไม่ต้องแบกต้องหามข้ามตึกข้ามงานขึ้นตึกโน้นลงตึกนี้ให้เสียเวลาเสียพลังงานโดยใช่เหตุ
ที่เขียนมาให้อ่านไม่ใช่อะไรอะไรหรอกครับ เพียงเพราะเริ่มเห็นความสับสนที่กำลังเกิดกับระบบงานเทคโนโลยีทางการศึกษาอีกแล้วเท่านั้นเอง... โต๊ะ-เก้าอี้ของงานเริ่มจะสัญจรไปในที่ต่างๆอีกแล้ว ทั้งๆที่ได้เคยบอกกล่าวกันเอาไว้แล้วก็ตาม
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< August 2023 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)