:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
ไม่คิดไม่ฝันว่ามันจะต้องนำมาใช้อีก
จำได้ว่าเมื่อปี พ.ศ.2521 ผมมีโอกาสเข้าไปเป็น 1 ในคณะทำงานเกี่ยวกับโทรทัศน์โรงเรียน โดยความคิดริเริ่มของ ผอ.อร่าม รังสินธุ์ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายปกครอง แต่ท่านมีความคิดก้าวไกลเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี โดยมองว่าโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ใน พ.ศ.นั้นมีขีดความสามารถที่จะมีระบบโทรทัศน์วงจรปิดเอาไว้เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนของนักเรียน
เหตุที่คิดเช่นนั้นผมเดาเอาว่าท่านมองเห็นศักยภาพของครูที่จะดำเนินการในขณะนั้นจะสามารถทำงานได้ เนื่องจากมีมือหนึ่งของครูที่มีทักษะความชำนาญในเรื่องไฟฟ้าอีเลคทรอนิคอยู่หลายคน มีครูที่มีความสามารถในการจัดการและใช้ระบบโทรทัศน์วงจรปิดได้
ช่วงนั้นผมและเพื่อนๆทำงานกันสนุกเพราะด้วยวัยหนุ่มๆเหมือนกัน ... เครื่องไม้เครื่องมือในการถ่ายทอดสัญญาณก็ไม่ได้ทันสมัยเหมือนปัจจุบัน ต้องใช้เทคนิคต่างๆเข้าช่วยกันยุ่งไปหมด รวมถึงต้องใช้กำลังแบกหามอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่นกล้อง เครื่องบันทึก สายไฟสายเคเบิลที่ยาวเป็นร้อยเมตร ถ้างานในปีนี้เหมือนงานในปี 2521 เชื่อขนมกินได้ว่าจะไม่มีใครยอมทำแน่นอน...เพราะงานมันหนักจริงๆ
มาถึงวันนี้..ร่องรอยของระบบโทรทัศน์ตามสายของโรงเรียนยังมีให้เห็น...ระบบการแพร่สัญญาณยังสามารถทำงานได้อย่างดีในระดับหนึ่ง แต่เพราะสื่อประเภทนี้ถูกสื่อประเภทอื่นโดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทบดบังรัศมีของสื่อประเภทโทรทัศน์ตามสายของโรงเรียนไปทั้งหมด จึงทำให้แทบไม่มีใครคิดถึงการนำสื่อโทรทัศน์โรงเรียนกลับมาใช้อีกเลย
จนเมื่อเวลาผ่านไปผมซึ่งยังใช้ประโยชน์จากสัญญาณโทรทัศน์โรงเรียน กล่าวคืออาศัยเกาะสัญญาณเสียงจากการทำรายการเสียงตามสาย หรือเรียกโก้ๆว่าวิทยุโรงเรียน โดยนำสัญญาณเสียงที่ได้ไปเชื่อมระบบกระจายเสียงของโรงเรียนเพื่อกระจายเสียงให้ครูและนักเรียนได้ฟังกันตอนเช้าๆ จะถูกหูบ้างไม่ถูกหูบ้างก็ไม่รู้ได้เพราะไม่ได้ทำแบบสำรวจความคิดเห็นสักที แต่ก็คิดเข้าข้างตัวเองว่ารายการตอนเช้าๆนั้นก็คงจะมีประโยชน์และมีคนตั้งใจฟังบ้างหรอกน่า...จริงมั้ยครับ
ในเวลาต่อมาและเนื่องด้วยผมดูแลระบบอินเตอร์เน็ตของโรงเรียนอยู่ด้วย... เห็นมีสถานีโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ตอยู่มากมาย ก็พยายามหาความรู้ในเรื่องที่จะติดตั้งระบบวิดีโอสตรีมมิ่ง ทดลองทำโดยตั้งระบบเองมันก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวขลุกขลักๆอยู่จนที่สุดล้มเลิกไป...แต่เนื่องจากเทคโนโลยีด้านโทรทัศน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตมันก้าวหน้าไปมาก มีเครื่องไม้เครื่องมือสำเร็จแบบ all in one ที่สามารถส่งสัญญาณผ่านอินเตอร์เน็ตได้แบบไม่สะดุด ดังนั้นเมื่อศึกษาข้อดีข้อด้อยกันแล้วและฝ่ายบริหารไม่ขัดข้อง งานเทคโนฯจึงดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์ส่งสัญญาณโทรทัศน์ตามสายมาใช้ โดยตั้งใจตั้งเป้าหมายว่าจะตั้งเป็นช่องสัญญาณโทรทัศน์เป็นของโรงเรียน ส่งรายการได้เช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์ทั่วไป
และวันนี้ก็ได้ส่งสัญญาณแพร่ภาพกันออกไปแล้ว
สรุปว่าเราสามารถจัดการกับระบบส่งสัญญาณได้เป็นอย่างดี จากนี้ไปคือปัญหาของการที่จะนำเสนอรายการกันซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างยากลำบาก เพราะต้องประสานงานกับใครต่อใครมากมาย และต้องใช้กำลังคนซึ่งเป็นกำลังหลักมากกว่าที่มีในขณะนี้ เพราะที่มีในขณะนี้คือมีแต่ลูกมือ (นักเรียน) คนเทคโนฯแท้ๆยังไม่มีเลย
การทำงานจากนี้ไปอาจจะต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ประกอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภาพที่จะถ่ายทอดไปยังผู้ชม ที่เรียกว่า Instant Channel ที่เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำหน้ากากหรือใส่ Effect ต่างๆได้เหมือนช่องโทรทัศน์ทั่วๆไป ทั้งนี้เพื่อสร้างความเป็นมาตรฐานของสถานีโทรทัศน์ออนไลน์ของโรงเรียนต่อไปในอนาคต
ทราบว่าเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนดำริที่จะตั้งสถานีวิทยุโดยใช้ความถี่วิทยุชุมชน แต่เพราะข้อจำกัดหลายอย่างเรื่องวิทยุโรงเรียนดังกล่าวจึงชะลอไป...
ผมจึงอยากจะเสนอโครงการสถานีโทรทัศน์ออนไลน์ของโรงเรียนเข้ามาแทน .. การลงทุนจากนี้ไปไม่ได้มากมายหลายแสนบาทเหมือนการตั้งสถานีวิทยุ แต่ผลที่ได้จะต่างกันมากมาย เพราะสถานีวิทยุโทรทัศน์ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่ามีทั้งภาพและเสียงสื่อออกไปพร้อมๆกัน แถมสื่อไปได้กว้างไกลทั่วทั้งโลกในขณะที่สถานีวิทยุนั้นสื่อไปได้เพียงไม่เกิน 30 กิโลเมตรจากสถานีส่ง
เป็นไปได้หรือไม่ว่าโรงเรียนและเครือข่ายผู้ปกครอง รวมถึงสมาคมผู้ปกครองและครูเบญจมฯ ร่วมพิจารณาโครงการนี้แล้วร่วมดำเนินการ ถ้าระบบสมบูรณ์เต็มที่ เชื่อว่าจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของการใช้ระบบเพื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านโทรทัศน์โรงเรียน ทำให้ช่องว่างด้านการเรียนรู้ของนักเรียนแคบลงเพราะทุกคนสามารถเรียนรู้กับครูที่นักเรียนนิยมชมชอบ...ซึ่งน่าจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมของนักเรียนกระเตื้องขึ้นบ้าง... เรียกว่าช่วยกันคนละไม้ละมือและหลายๆแนวทาง
ผมไม่คิดฝันหรอกว่าจะได้นำสื่อที่เคยทำเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว กลับมาทำใหม่ แต่ใช้กับเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า นี่ก็แสดงว่าสื่อโทรทัศน์นั้นไม่ได้ล้าสมัยเลย อยู่ที่เราจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนกันหรือเปล่าเท่านั้นเอง
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< July 2023 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)