:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ICT » ไม่คิดไม่ฝันว่ามันจะต้องนำมาใช้อีก
ไม่คิดไม่ฝันว่ามันจะต้องนำมาใช้อีก
จำได้ว่าเมื่อปี พ.ศ.2521 ผมมีโอกาสเข้าไปเป็น 1 ในคณะทำงานเกี่ยวกับโทรทัศน์โรงเรียน โดยความคิดริเริ่มของ ผอ.อร่าม รังสินธุ์ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายปกครอง แต่ท่านมีความคิดก้าวไกลเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี โดยมองว่าโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ใน พ.ศ.นั้นมีขีดความสามารถที่จะมีระบบโทรทัศน์วงจรปิดเอาไว้เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนของนักเรียน

เหตุที่คิดเช่นนั้นผมเดาเอาว่าท่านมองเห็นศักยภาพของครูที่จะดำเนินการในขณะนั้นจะสามารถทำงานได้ เนื่องจากมีมือหนึ่งของครูที่มีทักษะความชำนาญในเรื่องไฟฟ้าอีเลคทรอนิคอยู่หลายคน มีครูที่มีความสามารถในการจัดการและใช้ระบบโทรทัศน์วงจรปิดได้



ช่วงนั้นผมและเพื่อนๆทำงานกันสนุกเพราะด้วยวัยหนุ่มๆเหมือนกัน ... เครื่องไม้เครื่องมือในการถ่ายทอดสัญญาณก็ไม่ได้ทันสมัยเหมือนปัจจุบัน ต้องใช้เทคนิคต่างๆเข้าช่วยกันยุ่งไปหมด รวมถึงต้องใช้กำลังแบกหามอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่นกล้อง เครื่องบันทึก สายไฟสายเคเบิลที่ยาวเป็นร้อยเมตร ถ้างานในปีนี้เหมือนงานในปี 2521 เชื่อขนมกินได้ว่าจะไม่มีใครยอมทำแน่นอน...เพราะงานมันหนักจริงๆ

มาถึงวันนี้..ร่องรอยของระบบโทรทัศน์ตามสายของโรงเรียนยังมีให้เห็น...ระบบการแพร่สัญญาณยังสามารถทำงานได้อย่างดีในระดับหนึ่ง แต่เพราะสื่อประเภทนี้ถูกสื่อประเภทอื่นโดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทบดบังรัศมีของสื่อประเภทโทรทัศน์ตามสายของโรงเรียนไปทั้งหมด จึงทำให้แทบไม่มีใครคิดถึงการนำสื่อโทรทัศน์โรงเรียนกลับมาใช้อีกเลย

จนเมื่อเวลาผ่านไปผมซึ่งยังใช้ประโยชน์จากสัญญาณโทรทัศน์โรงเรียน กล่าวคืออาศัยเกาะสัญญาณเสียงจากการทำรายการเสียงตามสาย หรือเรียกโก้ๆว่าวิทยุโรงเรียน โดยนำสัญญาณเสียงที่ได้ไปเชื่อมระบบกระจายเสียงของโรงเรียนเพื่อกระจายเสียงให้ครูและนักเรียนได้ฟังกันตอนเช้าๆ จะถูกหูบ้างไม่ถูกหูบ้างก็ไม่รู้ได้เพราะไม่ได้ทำแบบสำรวจความคิดเห็นสักที แต่ก็คิดเข้าข้างตัวเองว่ารายการตอนเช้าๆนั้นก็คงจะมีประโยชน์และมีคนตั้งใจฟังบ้างหรอกน่า...จริงมั้ยครับ

ในเวลาต่อมาและเนื่องด้วยผมดูแลระบบอินเตอร์เน็ตของโรงเรียนอยู่ด้วย... เห็นมีสถานีโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ตอยู่มากมาย ก็พยายามหาความรู้ในเรื่องที่จะติดตั้งระบบวิดีโอสตรีมมิ่ง ทดลองทำโดยตั้งระบบเองมันก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวขลุกขลักๆอยู่จนที่สุดล้มเลิกไป...แต่เนื่องจากเทคโนโลยีด้านโทรทัศน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตมันก้าวหน้าไปมาก มีเครื่องไม้เครื่องมือสำเร็จแบบ all in one ที่สามารถส่งสัญญาณผ่านอินเตอร์เน็ตได้แบบไม่สะดุด ดังนั้นเมื่อศึกษาข้อดีข้อด้อยกันแล้วและฝ่ายบริหารไม่ขัดข้อง งานเทคโนฯจึงดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์ส่งสัญญาณโทรทัศน์ตามสายมาใช้ โดยตั้งใจตั้งเป้าหมายว่าจะตั้งเป็นช่องสัญญาณโทรทัศน์เป็นของโรงเรียน ส่งรายการได้เช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์ทั่วไป

และวันนี้ก็ได้ส่งสัญญาณแพร่ภาพกันออกไปแล้ว

สรุปว่าเราสามารถจัดการกับระบบส่งสัญญาณได้เป็นอย่างดี จากนี้ไปคือปัญหาของการที่จะนำเสนอรายการกันซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างยากลำบาก เพราะต้องประสานงานกับใครต่อใครมากมาย และต้องใช้กำลังคนซึ่งเป็นกำลังหลักมากกว่าที่มีในขณะนี้ เพราะที่มีในขณะนี้คือมีแต่ลูกมือ (นักเรียน) คนเทคโนฯแท้ๆยังไม่มีเลย

การทำงานจากนี้ไปอาจจะต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ประกอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภาพที่จะถ่ายทอดไปยังผู้ชม ที่เรียกว่า Instant Channel ที่เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำหน้ากากหรือใส่ Effect ต่างๆได้เหมือนช่องโทรทัศน์ทั่วๆไป ทั้งนี้เพื่อสร้างความเป็นมาตรฐานของสถานีโทรทัศน์ออนไลน์ของโรงเรียนต่อไปในอนาคต

ทราบว่าเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนดำริที่จะตั้งสถานีวิทยุโดยใช้ความถี่วิทยุชุมชน แต่เพราะข้อจำกัดหลายอย่างเรื่องวิทยุโรงเรียนดังกล่าวจึงชะลอไป...

ผมจึงอยากจะเสนอโครงการสถานีโทรทัศน์ออนไลน์ของโรงเรียนเข้ามาแทน .. การลงทุนจากนี้ไปไม่ได้มากมายหลายแสนบาทเหมือนการตั้งสถานีวิทยุ แต่ผลที่ได้จะต่างกันมากมาย เพราะสถานีวิทยุโทรทัศน์ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่ามีทั้งภาพและเสียงสื่อออกไปพร้อมๆกัน แถมสื่อไปได้กว้างไกลทั่วทั้งโลกในขณะที่สถานีวิทยุนั้นสื่อไปได้เพียงไม่เกิน 30 กิโลเมตรจากสถานีส่ง

เป็นไปได้หรือไม่ว่าโรงเรียนและเครือข่ายผู้ปกครอง รวมถึงสมาคมผู้ปกครองและครูเบญจมฯ ร่วมพิจารณาโครงการนี้แล้วร่วมดำเนินการ ถ้าระบบสมบูรณ์เต็มที่ เชื่อว่าจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของการใช้ระบบเพื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านโทรทัศน์โรงเรียน ทำให้ช่องว่างด้านการเรียนรู้ของนักเรียนแคบลงเพราะทุกคนสามารถเรียนรู้กับครูที่นักเรียนนิยมชมชอบ...ซึ่งน่าจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมของนักเรียนกระเตื้องขึ้นบ้าง... เรียกว่าช่วยกันคนละไม้ละมือและหลายๆแนวทาง

ผมไม่คิดฝันหรอกว่าจะได้นำสื่อที่เคยทำเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว กลับมาทำใหม่ แต่ใช้กับเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า นี่ก็แสดงว่าสื่อโทรทัศน์นั้นไม่ได้ล้าสมัยเลย อยู่ที่เราจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนกันหรือเปล่าเท่านั้นเอง

Comments
No Comments have been Posted.
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< September 2025 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30          

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 24 2024 14:47:09