:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
ผมแปลกใจมากที่ทั้ง SIPA และ NECTEC ต่่างก็โปรโมทโปรแกรม Open Source แต่กระทรวง ICT กลับทำเฉยเมยไม่หยิบมาเป็นนโยบายเพื่อการปฏิบัติ ทั้งที่ Open Source เป็นโปรแกรมที่โปรแกรมเมอร์ในองค์กรต่างๆเขียนขึ้นมาเพื่อการใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เช่นโปรแกรม Open Office เป็นต้น
ผมแปลกใจมากที่กระทรวงศึกษา โดยหน่วยงานด้านสื่อการเรียนการสอนไม่เคยสนับสนุนการใช้โปรแกรม Open Source เพื่อใช้ประโยชน์ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในสังกัด โดยเฉพาะโปรแกรมจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ ที่เรียกกันว่า CMS & LMS ปล่อยให้คนในสถานศึกษาดิ้นรนกันไปตามบุญตามกรรม ใครอยากใช้อะไรก็ใช้กันไป บางครั้งบางคราวจัดซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้กันสบายๆด้วยราคาที่สูงส่งเป็นการอวดศักยภาพของสถานศึกษากรายๆว่ามีทุนทรัพย์ที่จะจัดซื้อจัดหามาให้ใช้ ส่วนจะใช้ประโยชน์ได้มากแค่ไหนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ผมนั่งมองความเป็นมาและเป็นไปเกี่ยวกับเรื่อง ICT ขององค์กรต่างๆในกระทรวงศึกษามานานค่อนชีวิต เห็นพัฒนาการที่ดำเนินไปอย่างสะเปะสะปะไร้ทิศไร้ทางต่างคนต่างทำแล้ว .. บอกคำเดียวว่าเศร้าใจครับ
ผมเชื่อมั่นว่าใครก็อยากเห็นองค์กรของตนเองเจริญงอกงามดีวันดีคืน ไม่อยากเห็นองค์กรของตนเองง่อยเปลี่ยเสียขา ก้าวหน้าไม่ทันโลกทันเหตุการณ์ ซึ่งผมก็เห็นใจนะครับที่ความเจริญก้าวหน้านั้นมันมีปัจจัยหลายอย่างหนุนให้เกิดการพัฒนา
สิ่งหนึ่งที่ต้องจัดการคือภาวะผู้นำของคนเป็นหัวหน้าองค์กรตั้งแต่ระดับบนถึงระดับล่าง จะต้องกำหนดนโยบายเป้าหมายของแผนงานในแต่ละเรื่องให้ชัดเจนและเป็นไปได้ จะต้องไม่มีคำว่าเกรงใจกับการปฏิบัติที่ไม่ตรงทิศทาง เพราะนั่นคืออุปสรรคของการบริหารจัดการ ผู้นำจะต้องกล้าตัดสินใจยกอุปสรรคที่ปิดกั้นทางไปสู่เป้าหมายออกไปไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นข้อกำหนด หรือบุคลากร แต่ทั้งนี้ต้องตั้งอยู่บนความถูกต้องเที่ยงธรรม
ย้อนกลับมาดูในเรื่อง ICT ครับ
ที่ผมแปลกใจมากคือเรื่องการพัฒนาระบบ LMS ในสถานศึกษาที่ผู้นำในสถานศึกษายังไม่รู้เลยว่า LMS เป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง สามารถมารถจัดหามาใช้ได้อย่างไร โดยเฉพาะ LMS ที่มีให้ใช้กันฟรีๆ
หลายคนบอกว่าของฟรีมีที่ไหน
ก็ต้องตอบว่าของฟรีมีอยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตนี่แหละครับ .. อยู่ที่จะเลือกใช้อะไรเท่านั้น
ของฟรีอย่างหนึ่ง คือ โปรแกรม MOODLE ที่เห็นว่าทั่วโลกเขาใช้กันและนับวันจะมีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น มีผู้พัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง ใครๆก็สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ และที่ดีคือสามารถเปลี่ยนแปลงแทรกสิ่งที่ต้องการของงานได้ ถ้าผู้นำมาใช้นั้นมีความรู้มากพอที่จะเปลี่ยนแปลงโปรแกรม
ในประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาใช้กันอยู่มากมายหลายสถาบัน สามารถใช้กับนักศึกษานับหมื่นคน ส่วนในระดับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นก็มีหลายโรงเรียนใช้โปรแกรมตัวนี้ซึ่งมันสามารถรองรับการใช้งานในระดับโรงเรียนได้เป็นอย่างดี แต่มันก็ยังใช้กันอยู่ในวงแคบๆ
ที่แปลกใจคือเมื่อมีของดีอย่างนี้อยู่ในโลก ทำไมในระบบการศึกษาจึงยังไม่เห็นข่าวคราวว่ามีการสนับสนุนให้ใช้
หรือยังคิดว่าโปรแกรมนี้มันฟรี เลยไม่สนใจ... หรือหากจะกล่าวว่าในระดับนโยบายยังไม่รู้จักคุณสมบัติของ LMS ตัวนี้จะถูกต้องหรือไม่ การใช้งานโปรแกรม MOODLE จึงจำกัดอยู่ในวงแคบๆระดับผู้ปฏิบัติการเรื่อง ICT เท่านั้น
ถึงเวลาหรือยังครับที่ผู้นำองค์กรการศึกษาจะหยิบเรื่องนี้มาศึกษาดูคุณสมบัติที่วิเศษ แล้วหาแนวทางสนับสนุนให้เกิดการใช้งานในวงกว้าง
ผมเชื่อมั่นนะครับว่าโปรแกรมตัวนี้จะสามารถช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนของครูไทยได้เป็นอย่างดีในยุคที่ใครๆก็ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปัจจุบันนี้
และที่สำคัญที่สุดคือเรื่องประหยัดงบประมาณ ท่านลงทุนแค่เรื่องฮาร์ดแวร์ เรื่องซอฟต์แวร์เป็นเรื่องของโปรแกรม MOODLE ที่ได้มาฟรีๆไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเมื่ออัปเกรด...ครับ
Please Login to Post a Comment.
<< March 2025 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)