:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ICT » แปลกใจมาก !!
แปลกใจมาก !!
ผมแปลกใจมากที่ทั้ง SIPA และ NECTEC ต่่างก็โปรโมทโปรแกรม Open Source แต่กระทรวง ICT กลับทำเฉยเมยไม่หยิบมาเป็นนโยบายเพื่อการปฏิบัติ ทั้งที่ Open Source เป็นโปรแกรมที่โปรแกรมเมอร์ในองค์กรต่างๆเขียนขึ้นมาเพื่อการใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เช่นโปรแกรม Open Office เป็นต้น



ผมแปลกใจมากที่กระทรวงศึกษา โดยหน่วยงานด้านสื่อการเรียนการสอนไม่เคยสนับสนุนการใช้โปรแกรม Open Source เพื่อใช้ประโยชน์ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในสังกัด โดยเฉพาะโปรแกรมจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ ที่เรียกกันว่า CMS & LMS ปล่อยให้คนในสถานศึกษาดิ้นรนกันไปตามบุญตามกรรม ใครอยากใช้อะไรก็ใช้กันไป บางครั้งบางคราวจัดซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้กันสบายๆด้วยราคาที่สูงส่งเป็นการอวดศักยภาพของสถานศึกษากรายๆว่ามีทุนทรัพย์ที่จะจัดซื้อจัดหามาให้ใช้ ส่วนจะใช้ประโยชน์ได้มากแค่ไหนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ผมนั่งมองความเป็นมาและเป็นไปเกี่ยวกับเรื่อง ICT ขององค์กรต่างๆในกระทรวงศึกษามานานค่อนชีวิต เห็นพัฒนาการที่ดำเนินไปอย่างสะเปะสะปะไร้ทิศไร้ทางต่างคนต่างทำแล้ว .. บอกคำเดียวว่าเศร้าใจครับ

ผมเชื่อมั่นว่าใครก็อยากเห็นองค์กรของตนเองเจริญงอกงามดีวันดีคืน ไม่อยากเห็นองค์กรของตนเองง่อยเปลี่ยเสียขา ก้าวหน้าไม่ทันโลกทันเหตุการณ์ ซึ่งผมก็เห็นใจนะครับที่ความเจริญก้าวหน้านั้นมันมีปัจจัยหลายอย่างหนุนให้เกิดการพัฒนา

สิ่งหนึ่งที่ต้องจัดการคือภาวะผู้นำของคนเป็นหัวหน้าองค์กรตั้งแต่ระดับบนถึงระดับล่าง จะต้องกำหนดนโยบายเป้าหมายของแผนงานในแต่ละเรื่องให้ชัดเจนและเป็นไปได้ จะต้องไม่มีคำว่าเกรงใจกับการปฏิบัติที่ไม่ตรงทิศทาง เพราะนั่นคืออุปสรรคของการบริหารจัดการ ผู้นำจะต้องกล้าตัดสินใจยกอุปสรรคที่ปิดกั้นทางไปสู่เป้าหมายออกไปไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นข้อกำหนด หรือบุคลากร แต่ทั้งนี้ต้องตั้งอยู่บนความถูกต้องเที่ยงธรรม

ย้อนกลับมาดูในเรื่อง ICT ครับ

ที่ผมแปลกใจมากคือเรื่องการพัฒนาระบบ LMS ในสถานศึกษาที่ผู้นำในสถานศึกษายังไม่รู้เลยว่า LMS เป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง สามารถมารถจัดหามาใช้ได้อย่างไร โดยเฉพาะ LMS ที่มีให้ใช้กันฟรีๆ

หลายคนบอกว่าของฟรีมีที่ไหน

ก็ต้องตอบว่าของฟรีมีอยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตนี่แหละครับ .. อยู่ที่จะเลือกใช้อะไรเท่านั้น

ของฟรีอย่างหนึ่ง คือ โปรแกรม MOODLE ที่เห็นว่าทั่วโลกเขาใช้กันและนับวันจะมีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น มีผู้พัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง ใครๆก็สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ และที่ดีคือสามารถเปลี่ยนแปลงแทรกสิ่งที่ต้องการของงานได้ ถ้าผู้นำมาใช้นั้นมีความรู้มากพอที่จะเปลี่ยนแปลงโปรแกรม

ในประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาใช้กันอยู่มากมายหลายสถาบัน สามารถใช้กับนักศึกษานับหมื่นคน ส่วนในระดับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นก็มีหลายโรงเรียนใช้โปรแกรมตัวนี้ซึ่งมันสามารถรองรับการใช้งานในระดับโรงเรียนได้เป็นอย่างดี แต่มันก็ยังใช้กันอยู่ในวงแคบๆ

ที่แปลกใจคือเมื่อมีของดีอย่างนี้อยู่ในโลก ทำไมในระบบการศึกษาจึงยังไม่เห็นข่าวคราวว่ามีการสนับสนุนให้ใช้

หรือยังคิดว่าโปรแกรมนี้มันฟรี เลยไม่สนใจ... หรือหากจะกล่าวว่าในระดับนโยบายยังไม่รู้จักคุณสมบัติของ LMS ตัวนี้จะถูกต้องหรือไม่ การใช้งานโปรแกรม MOODLE จึงจำกัดอยู่ในวงแคบๆระดับผู้ปฏิบัติการเรื่อง ICT เท่านั้น

ถึงเวลาหรือยังครับที่ผู้นำองค์กรการศึกษาจะหยิบเรื่องนี้มาศึกษาดูคุณสมบัติที่วิเศษ แล้วหาแนวทางสนับสนุนให้เกิดการใช้งานในวงกว้าง

ผมเชื่อมั่นนะครับว่าโปรแกรมตัวนี้จะสามารถช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนของครูไทยได้เป็นอย่างดีในยุคที่ใครๆก็ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปัจจุบันนี้

และที่สำคัญที่สุดคือเรื่องประหยัดงบประมาณ ท่านลงทุนแค่เรื่องฮาร์ดแวร์ เรื่องซอฟต์แวร์เป็นเรื่องของโปรแกรม MOODLE ที่ได้มาฟรีๆไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเมื่ออัปเกรด...ครับ
Comments
#1 | narong on November 01 2010 02:31:52
ถ้าภาครัฐบอกสักคำว่าสนับสนุนให้องค์กรต่างๆใช้โปรแกรม OPEN SOURCE ก็คิดว่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องซอร์ฟแวร์ไปได้มากมายนะ..จะบอกให้
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< July 2028 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
          1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
31            

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional January 12 2025 10:11:01