:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ขอคิดด้วยคน » บันทึกช่วยจำเรื่องการรับนักเรียนของเบญจมฯ
บันทึกช่วยจำเรื่องการรับนักเรียนของเบญจมฯ
การรับนักเรียน ม.1 และ ม.4 ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 – 2553


หลักการและแนวคิด

ถ้านับย้อนหลังตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 ลงไป โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ตกอยู่ในภาวะเช่นเดียวกับเพื่อนโรงเรียนยอดนิยมในประเทศคือมีนักเรียนจำนวนหนึ่งที่มาจากการฝากของผู้ที่อ้างว่าผู้มีอุปการคุณ และรวมถึงปัจจัยต่างๆที่เป็นแรงกดดันผู้บริหารโรงเรียนทั้งภายในและภายนอกจังหวัด ทำให้จำนวนนักเรียนในห้องเรียนหนึ่งๆมีจำนวนไม่น้อยกว่า 55 คน บางปีมากถึงห้องละ 65 คน โดยเฉพาะนักเรียนชั้น ม.1 เมื่อปีการศึกษา 2549 สร้างความยุ่งยากลำบากในการบริหารจัดการทุกอย่างให้กับฝ่ายบริหารรวมถึงครูผู้สอน ทำให้คุณภาพของผู้เรียนด้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่โรงเรียนต้องอยู่ในภาวะจำยอมต้องทำเนื่องจากเป็นเรื่องที่ทำกันมานานจนเหมือนเป็นเรื่องที่ถูกต้องและเป็นเรื่องธรรมดาๆ จนกระทั่งในปีการศึกษา 2550 มีแนวนโยบายการรับนักเรียนจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นคือ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ว่าจะยกเลิกระบบฝากเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรียกเก็บค่าแป๊ะเจี๊ยะจากผู้ปกครอง ซึ่งก็ได้รับการขานรับจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองนักเรียน และองค์กรสิทธิมนุษยชน ทำให้คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ คณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ คณะกรรมการรับนักเรียนปี 2550 และคณะครูในโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ เห็นพ้องต้องกันว่าจะไม่รับฝากนักเรียนอีกต่อไป โดยกำหนดจำนวนนักเรียนในชั้นเรียนหนึ่งไว้ที่ห้องละ 45 คน ตามแนวนโยบายของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จนเป็นที่มาของการรับนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 ปีการศึกษา 2550 โดยยุติการรับฝากนักเรียนได้เป็นปีแรก



และเมื่อมีรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เมื่อ วันที่ 8 มิถุนายน 2550 ว่า ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ กล่าวกรณีที่คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เสนอทางออกเพื่อแก้ปัญหาเด็กฝากในการรับนักเรียนชั้น ม.1 โดยเสนอให้กำหนดสัดส่วนร้อยละ 10 ของจำนวนรับนักเรียน ให้เป็นไปตามเกณฑ์ของคณะกรรมการสถานศึกษาแต่ละแห่งว่า เรื่องนี้ยังไม่ถือว่าเป็นข้อเสนอ มีการพูดเพียงว่านโยบายการรับนักเรียนในปีนี้ดีทำให้ลดปัญหาเด็กฝากและปัญหา แป๊ะเจี๊ยะได้ แต่ปัญหาที่ยังแก้ได้ไม่หมด คือกลุ่มอุปการคุณพิเศษที่มีข้อตกลงเดิมกับทางโรงเรียน และมีครูบางคนมาร้องว่าสอนอยู่โรงเรียนนี้แต่ทำไมไม่ให้สิทธิลูกเข้าเรียน ก็เลยมีการยกตัวอย่างในที่ประชุมว่าน่าจะกำหนดสัดส่วนไว้ร้อยละ 10 แก่ผู้มีอุปการคุณจะดีหรือไม่ ซึ่งตนจะรับมาพิจารณาว่า หากนำมาใช้แล้วจะมีผลกระทบและจะก่อให้เกิดปัญหาแป๊ะเจี๊ยะขึ้นมาอีกหรือไม่ แต่ส่วนตัวตนไม่เห็นด้วยกับเรื่องเหล่านี้มานานแล้ว การรับนักเรียนในปีนี้ที่ตนพยายามเลิกโควตาผู้มีอุปการคุณ ก็ทำให้ผู้ปกครองพอใจว่าต่อไปนี้ไม่มีเด็กฝาก หากเราจะกลับให้มีโควตาดังกล่าวก็ต้องอธิบายกับประชาชนได้ ทั้งนี้ที่ สพฐ.ระบุว่าการให้โควตาร้อยละ 10 ให้โรงเรียนใช้คัดเลือกนักเรียนนอกเหนือจากเกณฑ์ตามความจำเป็นนั้น โดยหลักการเป็นสิ่งที่ถูกต้องแต่เมื่อปฏิบัติแล้วจะเป็นแบบนี้หรือไม่

กรณีข่าวดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.2550 ชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการให้โควตาร้อยละ 10 สำหรับผู้มีอุปการคุณ ต่อ รมว.ศึกษาธิการ โดยทางชมรมมีความเห็นว่าการให้โควตาผู้มีอุปการคุณนี้ จะเป็นการเปิดช่องให้มีการฝากเด็กตามมาได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดทั้งหลักคุณธรรม, หลักสิทธิมนุษยชนและผิดกฎหมาย ดังนั้น หากกระทรวงศึกษาธิการจะมีการประกาศใช้นโยบายนี้ ทางชมรมฯก็จะมีการเคลื่อนไหวเพื่อร้องเรียนและฟ้องร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องอื่นๆ

จากกรณีปัญหาเรื่องฝากเด็กเข้าเรียน เป็นภาพสะท้อนปัญหาของการจัดการศึกษาชาติว่าขาดความพร้อม รัฐบาลไม่สามารถจัดเรื่องการศึกษาอย่างเท่าเทียม ทำให้ภาระต่างตกอยู่กับโรงเรียนยอดนิยมเพราะผู้ปกครองมองว่าเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมทุกด้าน เป็นเหตุให้ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานพยายามทุกวิถีทางที่จะให้บุตรหลานมีที่นั่งในโรงเรียนดังกล่าวให้ได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม โดยไม่คิดเรื่องปัญหาที่จะเกิดตามมา ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม ช่องว่างระหว่างคนในสังคมห่างขึ้นไปอีก เป็นปัญหาต่อเนื่องไปยังเรื่องอื่นๆในสังคมอย่างไม่มีวันสิ้นสุด การที่ชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้กระทรวงศึกษายุติเรื่องการรับฝากเด็กจึงเป็นเรื่องที่ประชาชนโดยทั่วไปสนับสนุนแนวคิด โดยให้เด็กที่จะต้องเข้าเรียน ม.1 และ ม.4 เข้าสู่กระบวนการคัดเลือกที่เท่าเทียม เป็นธรรมโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และจำกัดจำนวนการรับให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน

วิธีการจัดการของการรับนักเรียนในปีการศึกษา 2550 – 2553 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์

ฝ่ายบริหารโรงเรียนมีแนวคิดในเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการยอมรับ คือการมีส่วนร่วม ร่วมคิดร่วมทำ ซึ่งทั้งหมดนั้นอยู่ที่การปรึกษาหารือวางกรอบและแนวปฏิบัติเพื่อใช้ในการประกาศรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา โดยคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
1. ยึดกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ
2. ยึดนโยบายของกระทรวงศึกษาแต่ไม่ขัดข้อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ
3. ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดี
4. ฝ่ายบริหารโรงเรียนและคณะกรรมการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา กำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้องไม่เกินห้องละ 45 คน และให้ใช้วิธีการสอบคัดเลือกรอบเดียว
5. ดำเนินการทุกขั้นตอนด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้
6. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในท้องที่ทราบแต่เนิ่นๆ

ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการรับนักเรียนในกรอบไม่มีการฝากและมีจำนวนนักเรียนไม่เกิน 45 คนต่อห้อง

สิ่งหนึ่งที่โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ทุกยุคสมัยปฏิบัติต่อเนื่องกันมาคือการไม่รับแป๊ะเจี๊ยะแม้จะมีเด็กฝากมากมายก็ตาม ทำให้โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์มีภาพที่ขาวสะอาดในเรื่องดังกล่าว และทำให้ประชาชนทั่วไปยอมรับ และเป็นปัจจัยสำคัญที่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการรับนักเรียนจึงไม่ส่งผลกระทบกับการบริหารจัดการมากนัก ถ้าจะให้จำแนกปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการรับนักเรียนออกเป็นรายข้อจะสามารถจำแนกได้ดังนี้
1. การยึดถือกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยต้นๆที่ทำให้ฝ่ายบริหารและคณะกรรมการทุกฝ่ายมีกรอบแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดีที่สุด
2. การยึดแนวนโยบายการรับนักเรียนของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ สพฐ. แต่อยู่ภายใต้แนวคิดเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้
3. ครูในโรงเรียน คณะกรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่าฯ คณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู คณะกรรมการสถานศึกษา และคณะกรรมการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา ให้ความร่วมมือและมีความเห็นสอดคล้องกับแนวทางวิธีการรับนักเรียน
4. ผู้บริหารโรงเรียนมีความเด็ดเดียวที่จะยึดมั่นแนวทางการรับนักเรียนโดยไม่รับฝากและไม่มีความคิดในเรื่องการรับแป๊ะเจี๊ยะ โดยนำเรื่องการพัฒนาโรงเรียนมาเป็นข้ออ้าง เพราะลำพังงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ และการระดมทุนเพื่อการศึกษาเป็นครั้งคราวก็เพียงพอที่จะนำไปบริหารจัดการแล้ว

BRR NEWS
Comments
No Comments have been Posted.
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< March 2023 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
    1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31    

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional January 08 2025 00:16:10