:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
บันทึกช่วยจำเรื่องการรับนักเรียนของเบญจมฯ
การรับนักเรียน ม.1 และ ม.4 ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 – 2553
หลักการและแนวคิด
ถ้านับย้อนหลังตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 ลงไป โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ตกอยู่ในภาวะเช่นเดียวกับเพื่อนโรงเรียนยอดนิยมในประเทศคือมีนักเรียนจำนวนหนึ่งที่มาจากการฝากของผู้ที่อ้างว่าผู้มีอุปการคุณ และรวมถึงปัจจัยต่างๆที่เป็นแรงกดดันผู้บริหารโรงเรียนทั้งภายในและภายนอกจังหวัด ทำให้จำนวนนักเรียนในห้องเรียนหนึ่งๆมีจำนวนไม่น้อยกว่า 55 คน บางปีมากถึงห้องละ 65 คน โดยเฉพาะนักเรียนชั้น ม.1 เมื่อปีการศึกษา 2549 สร้างความยุ่งยากลำบากในการบริหารจัดการทุกอย่างให้กับฝ่ายบริหารรวมถึงครูผู้สอน ทำให้คุณภาพของผู้เรียนด้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่โรงเรียนต้องอยู่ในภาวะจำยอมต้องทำเนื่องจากเป็นเรื่องที่ทำกันมานานจนเหมือนเป็นเรื่องที่ถูกต้องและเป็นเรื่องธรรมดาๆ จนกระทั่งในปีการศึกษา 2550 มีแนวนโยบายการรับนักเรียนจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นคือ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ว่าจะยกเลิกระบบฝากเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรียกเก็บค่าแป๊ะเจี๊ยะจากผู้ปกครอง ซึ่งก็ได้รับการขานรับจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองนักเรียน และองค์กรสิทธิมนุษยชน ทำให้คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ คณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ คณะกรรมการรับนักเรียนปี 2550 และคณะครูในโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ เห็นพ้องต้องกันว่าจะไม่รับฝากนักเรียนอีกต่อไป โดยกำหนดจำนวนนักเรียนในชั้นเรียนหนึ่งไว้ที่ห้องละ 45 คน ตามแนวนโยบายของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จนเป็นที่มาของการรับนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 ปีการศึกษา 2550 โดยยุติการรับฝากนักเรียนได้เป็นปีแรก
และเมื่อมีรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เมื่อ วันที่ 8 มิถุนายน 2550 ว่า ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ กล่าวกรณีที่คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เสนอทางออกเพื่อแก้ปัญหาเด็กฝากในการรับนักเรียนชั้น ม.1 โดยเสนอให้กำหนดสัดส่วนร้อยละ 10 ของจำนวนรับนักเรียน ให้เป็นไปตามเกณฑ์ของคณะกรรมการสถานศึกษาแต่ละแห่งว่า เรื่องนี้ยังไม่ถือว่าเป็นข้อเสนอ มีการพูดเพียงว่านโยบายการรับนักเรียนในปีนี้ดีทำให้ลดปัญหาเด็กฝากและปัญหา แป๊ะเจี๊ยะได้ แต่ปัญหาที่ยังแก้ได้ไม่หมด คือกลุ่มอุปการคุณพิเศษที่มีข้อตกลงเดิมกับทางโรงเรียน และมีครูบางคนมาร้องว่าสอนอยู่โรงเรียนนี้แต่ทำไมไม่ให้สิทธิลูกเข้าเรียน ก็เลยมีการยกตัวอย่างในที่ประชุมว่าน่าจะกำหนดสัดส่วนไว้ร้อยละ 10 แก่ผู้มีอุปการคุณจะดีหรือไม่ ซึ่งตนจะรับมาพิจารณาว่า หากนำมาใช้แล้วจะมีผลกระทบและจะก่อให้เกิดปัญหาแป๊ะเจี๊ยะขึ้นมาอีกหรือไม่ แต่ส่วนตัวตนไม่เห็นด้วยกับเรื่องเหล่านี้มานานแล้ว การรับนักเรียนในปีนี้ที่ตนพยายามเลิกโควตาผู้มีอุปการคุณ ก็ทำให้ผู้ปกครองพอใจว่าต่อไปนี้ไม่มีเด็กฝาก หากเราจะกลับให้มีโควตาดังกล่าวก็ต้องอธิบายกับประชาชนได้ ทั้งนี้ที่ สพฐ.ระบุว่าการให้โควตาร้อยละ 10 ให้โรงเรียนใช้คัดเลือกนักเรียนนอกเหนือจากเกณฑ์ตามความจำเป็นนั้น โดยหลักการเป็นสิ่งที่ถูกต้องแต่เมื่อปฏิบัติแล้วจะเป็นแบบนี้หรือไม่
กรณีข่าวดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.2550 ชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการให้โควตาร้อยละ 10 สำหรับผู้มีอุปการคุณ ต่อ รมว.ศึกษาธิการ โดยทางชมรมมีความเห็นว่าการให้โควตาผู้มีอุปการคุณนี้ จะเป็นการเปิดช่องให้มีการฝากเด็กตามมาได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดทั้งหลักคุณธรรม, หลักสิทธิมนุษยชนและผิดกฎหมาย ดังนั้น หากกระทรวงศึกษาธิการจะมีการประกาศใช้นโยบายนี้ ทางชมรมฯก็จะมีการเคลื่อนไหวเพื่อร้องเรียนและฟ้องร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องอื่นๆ
จากกรณีปัญหาเรื่องฝากเด็กเข้าเรียน เป็นภาพสะท้อนปัญหาของการจัดการศึกษาชาติว่าขาดความพร้อม รัฐบาลไม่สามารถจัดเรื่องการศึกษาอย่างเท่าเทียม ทำให้ภาระต่างตกอยู่กับโรงเรียนยอดนิยมเพราะผู้ปกครองมองว่าเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมทุกด้าน เป็นเหตุให้ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานพยายามทุกวิถีทางที่จะให้บุตรหลานมีที่นั่งในโรงเรียนดังกล่าวให้ได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม โดยไม่คิดเรื่องปัญหาที่จะเกิดตามมา ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม ช่องว่างระหว่างคนในสังคมห่างขึ้นไปอีก เป็นปัญหาต่อเนื่องไปยังเรื่องอื่นๆในสังคมอย่างไม่มีวันสิ้นสุด การที่ชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้กระทรวงศึกษายุติเรื่องการรับฝากเด็กจึงเป็นเรื่องที่ประชาชนโดยทั่วไปสนับสนุนแนวคิด โดยให้เด็กที่จะต้องเข้าเรียน ม.1 และ ม.4 เข้าสู่กระบวนการคัดเลือกที่เท่าเทียม เป็นธรรมโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และจำกัดจำนวนการรับให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน
วิธีการจัดการของการรับนักเรียนในปีการศึกษา 2550 – 2553 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ฝ่ายบริหารโรงเรียนมีแนวคิดในเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการยอมรับ คือการมีส่วนร่วม ร่วมคิดร่วมทำ ซึ่งทั้งหมดนั้นอยู่ที่การปรึกษาหารือวางกรอบและแนวปฏิบัติเพื่อใช้ในการประกาศรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา โดยคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
1. ยึดกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ
2. ยึดนโยบายของกระทรวงศึกษาแต่ไม่ขัดข้อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ
3. ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดี
4. ฝ่ายบริหารโรงเรียนและคณะกรรมการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา กำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้องไม่เกินห้องละ 45 คน และให้ใช้วิธีการสอบคัดเลือกรอบเดียว
5. ดำเนินการทุกขั้นตอนด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้
6. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในท้องที่ทราบแต่เนิ่นๆ
ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการรับนักเรียนในกรอบไม่มีการฝากและมีจำนวนนักเรียนไม่เกิน 45 คนต่อห้อง
สิ่งหนึ่งที่โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ทุกยุคสมัยปฏิบัติต่อเนื่องกันมาคือการไม่รับแป๊ะเจี๊ยะแม้จะมีเด็กฝากมากมายก็ตาม ทำให้โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์มีภาพที่ขาวสะอาดในเรื่องดังกล่าว และทำให้ประชาชนทั่วไปยอมรับ และเป็นปัจจัยสำคัญที่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการรับนักเรียนจึงไม่ส่งผลกระทบกับการบริหารจัดการมากนัก ถ้าจะให้จำแนกปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการรับนักเรียนออกเป็นรายข้อจะสามารถจำแนกได้ดังนี้
1. การยึดถือกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยต้นๆที่ทำให้ฝ่ายบริหารและคณะกรรมการทุกฝ่ายมีกรอบแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดีที่สุด
2. การยึดแนวนโยบายการรับนักเรียนของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ สพฐ. แต่อยู่ภายใต้แนวคิดเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้
3. ครูในโรงเรียน คณะกรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่าฯ คณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู คณะกรรมการสถานศึกษา และคณะกรรมการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา ให้ความร่วมมือและมีความเห็นสอดคล้องกับแนวทางวิธีการรับนักเรียน
4. ผู้บริหารโรงเรียนมีความเด็ดเดียวที่จะยึดมั่นแนวทางการรับนักเรียนโดยไม่รับฝากและไม่มีความคิดในเรื่องการรับแป๊ะเจี๊ยะ โดยนำเรื่องการพัฒนาโรงเรียนมาเป็นข้ออ้าง เพราะลำพังงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ และการระดมทุนเพื่อการศึกษาเป็นครั้งคราวก็เพียงพอที่จะนำไปบริหารจัดการแล้ว
BRR NEWS
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< May 2023 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)