:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ขอคิดด้วยคน » ผลิตเด็กพันธุ์ใหม่ ผู้เรียนเป็นผู้ผลิต คิด ค้นหาสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองไม่ใช่ผู้สอนใส่ให้
ผลิตเด็กพันธุ์ใหม่ ผู้เรียนเป็นผู้ผลิต คิด ค้นหาสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองไม่ใช่ผู้สอนใส่ให้
บทความวันนี้ผมต้องขออภัยที่ต้องคัดลอกข้อความจากมติชนมาทั้งหมด เพราะผมไม่สามารถสรุปประเด็นในเรื่องราวได้ดีไปกว่าที่มติชนนำเสนอในคราวนี้

อยากให้คนที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาได้อ่านตั้งแต่ฝ่ายบริหารระดับสูงมาจนถึงระดับครูผู้ผู้ปฏิบติการสอน... เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วยวิเคราะห์วิธีการที่นำเสนอมานี้จะต้องทำอย่างไรให้เด็กไทยมีความรู้ มีปัญญาอย่างแท้จริง

--------------------------------------

เมื่อไม่นานมานี้ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้อำนวยการใหญ่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย และอดีตผู้บริหารบริษัท เครือซิเมนต์ไทย ในฐานะอดีตที่ปรึกษาคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ไปบรรยายพิเศษ เรื่อง “กระบวนการเรียนรู้และการบริหารจัดการ เชื่อมโยงจากตะวันตกสู่ตะวันออก” ในการประชุมวิชาการการบริหารและการจัดการครั้งที่ 6 จัดโดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ร่วมกับเครือข่ายวิจัยประชาชื่น



นายพารณ กล่าวว่า ปัจจุบัน นักการศึกษาส่วนใหญ่ยังเพียงหาวิธีการเรียนการสอนที่ต้องการแค่ดึงความสนใจ จากนักเรียน นักศึกษาเท่านั้น ซึ่งหลักการบริหารจัดการการศึกษาและสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้เรียน นักเรียนจะต้องสร้างองค์ความรู้ขึ้นด้วยตนเอง แต่เรามุ่งเพียงสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา (Innovations) โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงการสร้างผู้เรียนให้เป็นผู้ผลิตนวัตกรรมทางการเรียนรู้ (Innovators)

"นวัตกรรมการเรียนรู้และการศึกษานั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียน เป็นผู้ผลิต คิด ค้นหาสร้างองค์ความรู้ขึ้นด้วยตนเองก่อน ไม่ใช่ผู้สอนไปใส่ให้ เราต้องสร้างเด็กไทยพันธุ์ใหม่ขึ้นมา เช่นเดียวกับที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัยทำอยู่ คือการสร้าง Innovators และการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ปัญญา (Constructionism)”

ผู้อำนวยการใหญ่โรงเรียนอรุณสิกขาลัย กล่าว ถึงการศึกษาทางเลือกว่า มีกลุ่มคนต่างๆ มาให้ความสนใจมากขึ้น เนื่องจากโลกยุคต่อไปการศึกษาทางเลือกจะเป็นเรื่องที่มาไวและหลีกเลี่ยงไม่ ได้ ดังนั้นการให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์หรือตัวคน การศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนเป็นทั้งคนดีและคนเก่งไปพร้อมๆ กัน จะผลิตคนอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ก้าวต่อไปของโลกยุคใหม่การศึกษาไทยต้องผลิตคนที่ทั้งดีและเก่ง มีความสามารถ ฉลาด

"การสร้างคนดีนั้นเราไม่สามารถไปสอนได้ เพราะระบบการศึกษาสอนเพียงศีลธรรม แต่คนดีจะเกิดขึ้นได้ระบบผู้สอนต้องปลูกฝังเรื่องเหล่านี้ลงไปในชีวิต การเรียนการสอน" นายพารณ กล่าว และว่า สังคมไทยแต่เดิมเป็นสังคมแห่งปัญญา (Wisdom Based Society) แต่เรากลับมาให้ความสำคัญของการศึกษาอยู่ที่ตัวความรู้ เดินตามก้นฝรั่งชาติตะวันตกไปสู่สังคมแห่งความรู้ (Knowledge Based Society) ซึ่งไม่ควร เพราะทำให้ปัญญากลายเป็นเพียงความรู้

นายพารณ กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ปัญญาที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ว่า มีโมเดลการสอนและสร้างการเรียนรู้ 8 ขั้นตอน คือ

1.เริ่มสอนจากสิ่งที่ผู้เรียนสนใจอยากจะเรียน ไม่ใช่สอนตามสิ่งที่ผู้สอนอยากสอน

2.วางแผนบูรณาการวิชาการต่างๆ เข้าสู่สิ่งที่เด็กอยากเรียนแล้วนำบูรณาการออกเป็นกิจกรรม

3.ครูต้องนำแผนที่ได้ไปร่วมวางแผนกับผู้เรียนด้วย ใน 3 วันของการเปิดเทอมเพื่อตอบความต้องการเรียนรู้ของผู้เรียน

4.ใช้ กระบวนการสอนผ่านการเรียนรู้ ปฏิบัติจริง ยึดหลักโดยให้ผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ การทำกิจกรรม, หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องก่อนเรียน,ทดลองปฏิบัติทำ, สร้างชิ้นงานจากการเรียนรู้, เริ่มเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและของจริง, แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Show and Share) ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน

5.สรุปความรู้และเก็บบันทึกผลงาน

6.นำเสนอผลงาน

7.วิเคราะห์ประเมินผลการเรียนรู้ 4 มิติ ประเมินตนเอง ประเมินเพื่อน ครูและผู้ปกครองประเมินผลร่วมด้วยกัน
และ

8.ผู้เรียนต้องสังเคราะห์ ต่อยอดองค์ความรู้จากการเรียนรู้เรื่องนั้นๆ

(ภาพ/ ข้อมูล มติชน -ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย )
Comments
#1 | narong on December 04 2010 10:22:15
ผมเคยบอกว่า เมื่อโรงเรียนของเรามีโอกาสได้เลือกเด็กเข้าเรียนโดยไม่มีเด็กฝาก...บุคลากรของเบญจมฯของเราต้องทำงานเหนื่อยเป็น 2 เท่า เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เรียกว่าอย่างมีนัยสำคัญ หมายถึงค่าทางสถิติผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนจะต้องมีแนวโน้มที่สูงมากขึ้น

ซึ่งนั่นหมายความว่าทุกสาระการเรียนรู้จะต้องบูรณาการกันให้ได้คล้ายๆกับสิ่งที่ผู้อำนวยการใหญ่ของโรงเรียนดรุณสิกขาลัยได้กล่าวเอาไว้

ครูอาจจะต้องเหนื่อยมากขึ้น แต่ถ้าสิ่งที่ทำมันคือความเจริญก้าวหน้าของเด็กและองค์กรมันก็คุ้มค่าเหนื่อยนะครับ
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< July 2028 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
          1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
31            

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional January 12 2025 10:15:34