:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
คนเรามีความสามารถคิดวิเคราะห์กันได้ทุกคน มากบ้างน้อยบ้าง .. ในขณะที่สมองคนเราประกอบด้วยตัวเซลล์ประมาณ 10 พันล้านตัว ถึง 12 พันล้านตัว แต่ละตัวมีเส้นใยที่เรียกว่า แอกซอน (Axon) และเดนไดรต์ (Dendrite) สำหรับให้ กระแสไฟฟ้าเคมี (Electrochemical) แล่นผ่านถึงกัน การที่เราจะคิด หรือจดจำสิ่งต่างๆนั้น เกิดจากการเชื่อมต่อของ กระแสไฟฟ้า ใน สมอง คนที่ฉลาดที่สุดก็คือ คนที่สามารถใช้ กำลังไฟฟ้า ได้เต็มที่โครงสร้างของสมองนั่นเอง
จากการเรียนรู้ด้านกายภาพของมนุษย์ทำให้รู้ว่าสมองของคนเรานั้นมี 3 ส่วน ส่วนที่ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ทั่วไปมากมายนั้นคือสมองส่วนที่ 3 ที่เรียกว่า นิวแมมมาเลียนเบรน (New Mammalian brain) หรือสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยใหม่ คือสมองใหญ่ ทั้งหมด โดยเฉพาะบริเวณพื้นผิวของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ สติสัมปชัญญะ และรายละเอียดที่สลับซับซ้อน มีขนาดใหญ่ กว่าสมองอีก 2 ส่วนถึง 5 เท่าด้วยกัน สมองส่วนนี้เป็นศูนย์รวมเกี่ยวกับ ความฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ การคํานวณ ความรู้สึก เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความรักความเสน่หา เป็นสมองส่วนที่ทำให้มนษุย์รู้จูกคิด หาหนทางเอาชนะธรรมชาติ หรือควบคุมสิ่งแวดล้อมในโลกนี้ ... อย่างไรก็ตามสมองอีกสองส่วนได้แก่ อาร์เบรน (R-brian) หรือ เรปทิเลียนเบรน (Reptilian brain) และ ลิมบิกเบรน (Limbic brain) หรือ โอลด์แมมมาเลียนเบรน (Old Mammalian brain) ก็มีความสำคัญเนื่องเพราะมันต้องเชื่อมโยงกันนั่นเอง
ด้วยเหตุที่คนเรามีสมองอันล้ำค่าด้วยกันทุกคน แต่การพัฒนาสมองให้มีความเจริญนั้นกลับทำไม่ได้ทุกคนเพราะอะไร
ปัจจัยที่คนเรามีพัฒนาการทางสมองไม่เท่าเทียมกันเนื่องเพราะ ชาติพันธุ์ อาหาร สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และ ฯลฯ
อย่างไรก็ตามสมองคนปกติจะสามารถพัฒนาได้ตามความเชื่อของนักการศึกษาที่ว่า Education is growth (การศึกษาคือความเจริญงอกงาม จำไม่ผิดคือ ปรัชญาของสถาบันการศึกษาประสานมิตร สมัยที่ผมเรียน ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ ) ทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า คนเรามีความสามารถเรียนรู้ทักษะในด้านต่างๆได้ เพียงแต่ช้าหรือเร็วต่างกันเท่านั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆดังที่กล่าวมาแล้ว
ทีนี้มาว่ากันถึงเรื่องการเรียนรู้ในโรงเรียนของเรา
มีคำถามว่า วันนี้เด็กของเราพัฒนาสมองของตนเองเต็มศักยภาพของสมองแต่ละคนหรือยัง
ตอบได้ทันทีว่า..ยัง !!!
เด็กบางคนปิดกั้นการพัฒนาสมองของตนเองโดยเฉพาะด้านทักษะวิชาการ โดยอ้างว่า เรียนไม่รู้เรื่อง .... ถามว่าเพราะอะไร ??? จะมีคำตอบตามมาในทำนองโทษโน่นโทษนี่ 1..2..3..4... โดยลืมโทษตัวเองไปอย่างหนึ่ง
การบ้าน...เป็นตัวช่วยในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่ดี ... แต่เด็กหลายคนกลับเลือกที่จะไม่ทำการบ้านด้วยตนเอง แต่เพราะมีภาคบังคับไม่ส่งก็ไม่มีคะแนน หลายๆคนจึงใช้วิธีลอกการบ้านส่ง
พ่อแม่หรือครูก็มีความคิดว่า...เออ..ก็ยังดีมันลอกกันมาอย่างน้อยมันก็ได้อะไรติดสมองไปบ้างหรอกน่า แล้วก็ไม่มีการแก้ปัญหาในเรื่องนี้มานมนานกาเล... ปัญหาสะสมมานาน.. ดังนั้นเมื่อตัวเลขผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออกมาจึงทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าเด็กไทยเริ่มจะโง่กว่าหลายประเทศทั้งที่ก่อนหน้านั้นอาจจะเข้าใจว่าตัวเองฉลาด..แต่เพราะไม่มีข้อมูลยืนยันก็เลยอ้างไม่ได้เต็มปากเต็มคำ
เรื่องเด็กต้องทำการบ้านด้วยตัวเองจึงเป็นเรื่องที่ฝ่ายบริหารและครูน่าจะต้องมาช่วยคิดหาวิธีว่าทำอย่างไรจึงจะให้เด็กทำการบ้านด้วยตนเองให้ได้ ถ้ายังไม่ได้จะมีใครที่ไหนช่วยเป็นไกด์นำทางให้ได้บ้าง (ไกด์ ในที่นี้มิใช่คนทำการบ้านให้ แต่เป็นคนแนะนำให้รู้วิธีทำ วิธีแก้ปัญหาโจทย์นั่นเอง)
โครงงานก็เป็นการบ้านประเภทหนึ่ง ที่จะฝึกเด็กให้มีความสามารถมองปัญหา คิดหาวิธีแก้ปัญหาง่ายๆในชีวิตประจำวันอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มงวดของครูที่ปรึกษา... โครงงานเป็นการพัฒนาทักษะสมองด้านการคิด วิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติให้ได้ผลจริงด้วยการทดลองทำ ลงมือทำ จนมั่นใจว่าเป็นไปได้อย่างมีนัยสำคัญ... งานอย่างนี้สามารถบูรณาการได้หลายกลุ่มวิชา งานเพียงชิ้นเดียวจะสามารถทำให้เกิดความสมบูรณ์แบบได้อย่างถูกต้อง 100 เปอร์เซ็น ด้วยความร่วมมือกันตรวจงานของเด็กจากครูกลุ่มวิชาที่มีความสัมพันธ์กับโครงงานชิ้นนั้น
ถ้ามีความจริงจังกับโครงงานก็มีความเป็นไปได้ ที่โครงงานของเด็กบางกลุ่ม หรือบางคน จะกลายเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้...ถ้าถึงขั้นนั้นก็ไม่ต้องบอกแล้วว่าจะประสบความสำเร็จขนาดไหน
ผมเคยบอกกล่าวไว้แล้วว่า เมื่อโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ก้าวผ่านเรื่องไม่มีเด็กฝากเด็กเส้น ครูของเบญจมฯจะต้องทำงานในเรื่องฝึกฝนทางวิชาการให้กับเด็กมากขึ้นเป็น 2 เท่า ไม่อย่างนั้นสิ่งที่ก้าวข้ามมาก็ไม่มีประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ใดๆเลย
สิ่งที่คิดและเขียนในวันนี้จึงเป็นเสี้ยวหนึ่งที่จะจุดประกายให้ช่วยกันคิดต่อว่าเราจะสร้างจุดเด่นด้านการฝึกทักษะการเรียนรู้ให้กับเด็กๆของเราได้อย่างไร...ครับ
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก http://www.novabizz.com/NovaAce/Brain.htm
Please Login to Post a Comment.
<< April 2023 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)