:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
กรงขังของการพัฒนาการศึกษาไทย
เมื่อวานนี้ผมไปซื้อยาทาแก้คันที่ร้านหมอในตลาด ในขณะที่นั่งรอการจัดยา ผมก็หยิบมติชนรายสัปดาห์ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2550 ที่วางอยู่มาอ่าน แม้จะเป็นหนังสือเก่าก็ยังดีกว่านั่งเฉยๆ
พลิกไปเพียง 2 หน้าก็เจอเข้ากับบทความของ รศ.ดร.ไชย ยิ้มวิไล แห่ง มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท เป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบการศึกษาของไทย
เมื่อได้อ่านก็พบว่าการวิเคราะห์ของอาจารย์ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการ มองเห็นเด่นชัดว่าปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาการศึกษาของไทยนั้นก้าวไปไม่ทันโลกตะวันตกเพราะอะไร
อาจารย์เปรียบเทียบว่าปัจจัยที่ทำให้การศึกษาของประชาชนของตะวันตกเจริญรุดหน้านั้นเป็นเพราะองค์ประกอบ 5 ประการ คือ
1. ความเท่าเทียม (EQUALITY) เนื่องจากการปกครองของตะวันตกนั้นเน้นความเท่าเทียม ซึ่งต่างจากคนทางตะวันออกที่มีหลากหลายชนชั้น
2. เสมอภาค-และเป็นธรรม (EQUITY) ประเด็นนี้รัฐบาลตะวันตกให้ความสำคัญมาก
3. ระเบียบวินัย (DISCIPLINE) ประชาชนตะวันตกถูกฝึกในเรื่องระเบียบวินัยมาตั้งแต่วัยเยาว์ การรักษากฏหมาย และการปฏิบัติตามกฏหมายนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ มีการดำเนินการลงโทษอย่างชัดเจน
4. ความคิดสร้างสรรค์ (CREATIVITY) การฝึกฝนและสนับสนุนประชากรให้มีความคิดสร้างสรรค์ คิดงานเป็น มีระบบคุ้มครองความคิดของประชาชนอย่างจริงจัง
5. สภาพแวดล้อม (ENVIRONMENT) เป็นความสำคัญที่รัฐบาลจะจัดให้สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการศึกษาของประชาชน ..
---------------------------
รายละเอียดต่างๆมีมาก ซึ่งผมคงเก็บประเด็นมาคุยได้ไม่หมด แต่ทั้งหมดที่อ่านนั้นผมเห็นด้วยกับการวิเคราะห์ดังกล่าว ... ในปัจจุบันนี้เราพยายามพัฒนาคน พัฒนาประเทศตามโลกตะวันตก แต่ลืมในเรื่องหลักๆทั้ง 5 ประการข้างตันว่า วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาติเรานั้นไม่เหมือนกับเขา
บ้านเรายังมีละครน้ำเน่าให้คนได้ดูอยู่ทุกวัน วันละหลายชั่วโมง สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้บ้านเรานั้นมีเหมือนไม่มี เพราะบ้านเมืองเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้มากนัก เช่นพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ ... กระแสเรื่องอะไรที่มีมากก็เฮตามกันไปเป็นพักๆ พอเลิกเห่อก็ปล่อยทิ้งไปตามยถากรรม
สรุปว่าถ้าต้องการจัดการศึกษาให้เข้าระบบ เป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ก็คงจะต้องรื้อโครงสร้าง ปรับกระบวนยุทธ์กันอย่างใหญ่โตมโหฬาร ... มันยากนะ ... แต่ผมเชื่อว่าถ้าท่านนักวิชาการ และนักปฏิบัติ ตลอดจนรัฐบาล เอาจริง เพื่อต้องการพัฒนาคนพัฒนาประเทศแล้ว ก็น่าจะเดินไปได้
อยู่ที่ว่ารัฐบาลจะกล้าลงทุนในเรื่องการจัดการศึกษาหรือเปล่าเท่านั้น
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< April 2026 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)