:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
ผิดมั้ยที่จะนำการเมืองมาเกี่ยวเนื่องกับการสอน !!!
การเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวใครก็ทราบ
แต่เรื่องการเมืองเป็นเรื่องค่อนข้างต้องได้รับข้อมูลรอบด้านเพื่อการวิเคราะห์ เนื่องจากเกี่ยวกับผู้คนจำนวนมาก
การนำเรื่องเขาว่าต่อๆกันมาแล้วสรุปเป็นความคิดรวบยอดชี้ประเด็นว่านั่นถูก นี่ไม่ถูก อาจส่งผลเสียต่อตัวเองและสังคมรอบข้าง
การสอนเรื่องการเมืองในโรงเรียนนั้นผู้เป็นครูจะต้องลดอคติต่อบุคคล หรือเรื่องต่างๆที่ที่เกี่ยวข้อง นำสาระสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มาบอกเล่า โดยเฉพาะเรื่องแนวคิด โครงสร้าง และอาจบ่งบอกปัญหาการปกครองที่ผ่านๆมา ซึ่งอาจจะยกตัวอย่างบ้าง แต่คงไม่ถึงกับใส่อารมณ์กับเหตุการณ์จนเกินเลย
การสอน หรือการสอดแทรกเรื่องการเมืองการปกครองในห้องเรียนนั้น ผู้สอนจะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อความคิดของนักเรียน ถ้าผู้สอนมีอคติต่อการเมืองการปกครองแล้ว เท่ากับว่าอาจจะเป็นการล้างสมองเด็กๆได้เลยเพราะเมื่อเป็นอย่างนั้นผู้สอนน่าจะย้ำคิดย้ำพูดในเรื่องเดียวกันจนกระทั่งเด็กเหมือนจะถูกโคลนนิ่งความคิดต้นแบบไปจากผู้สอนคนนั้นได้
ตัวอย่างมีให้เห็นแล้วที่โรงเรียนสอนศาสนาบางโรงเรียนในแถบสามจังหวัดภาคใต้ ที่ครูมีอิทธิพลทางความคิดสามารถชักจูงให้เด็กๆเชื่อตามการชี้นำในทางไม่ดีต่อบ้านเมืองได้
การสอนในโรงเรียนในวันนี้นั้นน่าจะยึดหลักคิดเกี่ยวกับเรื่องความปรองดองของคนทั้งชาติมาเป็นตัวตั้ง... การเมืองการปกครองในรูปแบบเลือกตั้งนั้น ครูจะต้องสอนให้เด็กๆรู้จักอดทนและติดตามความเป็นไปในการปกครองของนักการเมือง คอยสดับตรับฟังข่าวรอบด้าน เพื่อช่วยกันคัดกรองนักการเมืองซึ่งเมื่อถึงเวลาเลือกตั้งถ้านักเรียนมีสิทธิออกเสียงด้วยแล้วจะลงโทษนักการเมืองที่ตัวเองได้รับรู้มานั้นด้วยการไม่เลือก..ความรู้อย่างนี้สิจึงเป็นอาวุธในการปราบปรามนักการเมืองฉ้อฉลให้ออกจากวงการไปได้อย่างถูกต้อง และทำให้เกิดความเกรงกลัวการฉ้อฉล และมุ่งมาแข่งขันกันในเรื่องทำประโยน์ให้บ้านเมือง
อาจจะต้องตำหนิการสอนในระบบโรงเรียนด้วยตรงที่เราไม่สามารถหล่อหลอมให้เด็กๆจำนวนมากที่ผ่านมือครูออกไปนั้นมีคุณธรรมคิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม.... สภาพวันนี้จึงมองเห็นการฉ้อฉลในเรื่องผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องทุกวงการ
ถึงเวลาแล้วละครับที่ครูจะต้องช่วยบ้านเมือง ปลูกฝังคุณธรรมนำความรู้ และให้รู้จักติดตามเรื่องการบ้านการเมืองเพื่อการรับรู้และสามารถคิดวิเคราะห์จากข้อมูลข่าวสารที่มีมากมายได้ มิใช่ใส่ความอคติต่อตัวบุคคล ต่อระบบการปกครองให้กับนักเรียนตลอดทั้งปี
อย่าลืมว่านักเรียนนั้นมีสมองเอาไว้ให้คิดวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆด้วยเหตุด้วยผล ครูจึงเป็นผู้นำข้อมูลมาป้อนให้ ด้วยตรรกะที่ว่า ข้อมูลถูกต้องผลวิเคราะห์ย่อมถูกต้องด้วย
ดังนั้นไม่ใช่เรื่องผิดที่จะนำเรื่องการเมืองมาแทรกอยู่ในกระบวนการสอนโดยไม่มีอคติกับการเมืองการปกครอง !!!
<< June 2018 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)