:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
ความจริงการมีชีวิตอยู่ของหมาคือเรื่องของธรรมชาติสร้างสรรค์ แต่ในบางครั้งในชีวิตของหมาก็จะมีคนเข้าไปยุ่งเกี่ยวผูกพันอยู่ด้วย
เรียกว่ามันคือสัมพันธภาพระหว่างคนและสัตว์ ที่คนจะให้ความเอื้ออารีย์ต่อมันด้วยความรักและเมตตา แม้มิใช่สัตว์เลี้ยงของตนก็ตาม
ถ้าพลิกปูมประวัติศาสตร์ชาติพันธ์ของเจ้าบรรดาหมาที่กล่าวมานี้ แรกเริ่มเดิมทีมันคงไม่ได้อาศัยอยู่กับคน มันคือสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์กินเนื้อและล่าเหยื่อ แล้วค่อยๆพัฒนามาเป็นสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงและทำให้เชื่อง
ถ้าศึกษาที่มาที่ไปจาก วิกิพีเดีย เขาเขียนไว้ว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสุนัขนั้นถูกฝังลึกในด้านโบราณคดีและหลักฐานที่ตรงกันชี้ให้เห็นช่วงเวลาของการทำให้สุนัขเชื่องในยุคหินใหม่ ใกล้ ๆ กับขอบเขตของช่วงเพลสโตซีนและโฮโลซีน ในระหว่าง 17,000 - 14,000 ปีมาแล้ว ซากกระดูกฟอสซิลและการวิเคราะห์ยีนของสุนัขในยุคอดีตกับปัจจุบัน และประชากรหมาป่ายังไม่ถูกค้นพบ สุนัขทั้งหมดสืบอายุอาจเกิดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เชื่องด้วยตัวเองหรือไม่ก็ได้ถูกทำให้เชื่องด้วยตัวมันเองในพื้นที่มากกว่าหนึ่งพื้นที่ สุนัขที่ถูกเลี้ยงให้เชื่องแล้วอาจจะผสมข้ามพันธุ์กับประชากรหมาป่าที่อยู่ในถิ่นนั้น ๆ ในหลาย ๆโอกาส กระบวนการนี้รู้จักในทางทางพันธุศาสตร์ว่า อินโทรเกรสชัน (Introgression)
หากสนใจใคร่รู้ไปศึกษาต่อกันได้ที่ลิงค์นี้ครับ เรื่องสุนัขในพจนานุกรมเสรี
หันมาสู่เรื่องที่ผมจะเขียนเล่าต่อไปครับ
ด้วยความผูกพันต่อหมาของผู้คนวันนี้ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าหมาจรจัดมากมาย
เราพบเจอข่าวสารที่เกี่ยวกับหมาจรจัดทั้งในและนอกประเทศที่เป็นภาระของคนเมือง ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ในเทศบาลนคร หรือเทศบาลเมือง และหรือแม้แต่ในเขตตำบลหมู่บ้าน
ข่าวและภาพที่สร้างความสะเทือนใจต่อคนที่รักสัตว์คือข่าวที่สัตว์โดยเฉพาะหมาที่ถูกทำร้าย จะถูกสื่อนำมาเป็นข่าวผ่านหน้าจอโทรทัศน์บ่อยๆ ยิ่งสร้างความกังวลใจให้กับคนรักสัตว์โดยเฉพาะผู้ที่รักหมาจนก่อตั้งเป็นศูนย์รับเลี้ยงหมาจรจัด แบ่งรายได้ที่หามาได้นั้นเลี้ยงหมาจนบางครั้งเลี้ยงกันจนหมดตัว Link1 ก็มีเป็นข่าวบ่อยๆ ซึ่งก็ขอชื่นชมเพราะเป็นผู้รักและรับผิดชอบต่อการแบกรับภาระนำเจ้าน้องหมาหลายๆตัวมาเลี้ยงไว้ในบริเวณบ้านของตนเอง
ปัญหาหมาจรจัดคงไม่หมดไปเพราะมีการขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆโดยไม่สามารถควบคุมได้ จนทำให้บางที่บางแห่งมีเจ้าหมาจรจัดเข้าไปอาศัยสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับเจ้าของสถานที่นั้นๆอยู่เนืองๆ
โรงเรียนเบญจม์ก็เป็นสถานที่หนึ่งที่มีหมาไร้เจ้าของเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนต่างๆของโรงเรียนอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งก็อยู่ตามประสาหมาคือซุกนอนตามซอกตามหลืบ ตามใต้ถุนอาคาร ออกลูกออกหลานเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ
ที่มีหมาจรจัดเข้ามาอาศัยในเขตโรงเรียนมากนั้นวิเคราะห์ได้ไม่ยากว่าเกิดจากปัจจัยอะไร
1.โรงเรียนเป็นแหล่งอาหารที่หาได้ไม่ยากเพราะในแต่ละวันมีการทิ้งเศษอาหารจากการรับประทานของนักเรียนและครูจำนวนเกือบ 4000 คน ลงในถังขยะ เราจึงเห็นเจ้าหมาเหล่านี้ล้มถังขยะคุ้ยหาเศษอาหารที่อยู่ในถังออกมากิน คาบกล่องโฟม / ถุงพลาสติกที่มีเศษอาหารออกมากินและทิ้งเกลื่อนมองเห็นได้ทั่วๆไป
2.โรงเรียนมีคนใจอารีย์มากพอสมควรต่อเจ้าน้องหมา รับเลี้ยงดูไม่ให้อดอยากจนเกินไป ทำให้เจ้าหมาเหล่านี้ยึดติดถิ่นที่ไม่ยอมจากไปไหนง่ายๆ
3.มีผู้ใจเมตตากรุณาจากภายนอกเอื้ออาทรรับเลี้ยงเจ้าหมาเหล่านี้นำอาหารเข้ามาให้จนถึงที่ สร้างเงื่อนไขให้เจ้าหมาตามหลักจิตวิทยา เคาะระฆัง(กะละมัง)แล้วหมาน้ำลายไหล เรียกว่าพอถึงเวลาเจ้าหมาทั้งหลายจะรอคอยผู้ส่งอาหารมาให้ ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่มันจะไม่ยอมทิ้งถิ่นนี้ไปอย่างเด็ดขาด
ดังนั้นการยอมเลี้ยงหมาจำนวนมากเอาไว้โดยไม่รู้ว่าใครคือเจ้าของตัวจริงก็ต้องแลกกับความเดือดร้อนรำคาญที่บรรดาเจ้าหมาเหล่านี้จะไปสร้างปัญหาความสกปรกด้วยการคุ้ยถังขยะหรือถ่ายมูลทั้งหนักทั้งเบาเอาไว้ตามสนามหญ้า หรือพื้นทางเดินหรือตามซอกมุมตึก หรือก่อความเสียหายด้วยการขุดคุ้ยสนามหญ้ากระจุยกระจายรวมทั้งกัดแทะข้าวของเครื่องใช้ และที่สำคัญคือต้องยอมเสี่ยงที่จะถูกเจ้าหมาบางตัวกัดเอา
ณรงค์ นันทวิจิตร
15/07/2554
Please Login to Post a Comment.
<< September 2028 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)