:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
วันนี้โรงเรียนของเราได้นำพานักเรียนจำนวนมากประมาณ 1000 คน เดินทางไปดูงานนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ ณ ศูนย์จัดนิทรรศการใหญ่ไบเทค บางนา จึงนำมาซึ่งประเด็นการเขียนบทความเรื่อง ทัศนศึกษา คืออะไร ???
ผมค้นและอ่านข้อเขียนของคุณ ชาลี ศิลปรัศมี เรื่อง การปฏิรูปการเรียนรู้ “"ทัศนศึกษา"” เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งมีคำตอบที่ผมตั้งประเด็นในวันนี้พอดี จึงขออนุญาตสำเนามาวางให้อ่านกันสักหน่อย ก่อนที่จะแสดงความคิดความเห็นต่อ
ทัศนศึกษา
ทัศนศึกษาตามรูปศัพท์เดิมแปลว่า “ไปดู-ไปเรียนรู้” แล้วรายงานปากเปล่าหรือรายงานการไปดู ไปเรียนรู้นั้นเป็นลายลักษณ์อักษร หรือ “รายงาน” เอาคะแนน
แต่สภาพปัจจุบันและที่ผ่านมาก่อนปัจจุบันนี้ ทุกโรงเรียนมักจะนำนักเรียน “ไปเที่ยว-ไปดู” มากกว่า “ไปดูเพื่อการศึกษาหาความรู้จากสิ่งที่ดูนั้น” (ทัศนศึกษา) เพราะครูที่นำเด็กไปกลับไม่รู้ในสิ่งที่ไปดู-ไปเรียนรู้ สภาพทั่วไปของการทัศนศึกษาจึงเป็นการไปเที่ยว ไปดู ไปช้อปปิ้งตามห้างฯ หากครูคนใดแหลมออกมาจะนำเด็กไปดูโบราณสถานโบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์ หอสมุดดังๆ ก็จะถูกครูคนอื่นว่า “ครึ” ไม่ทันสมัยทำให้เด็กโง่ลง สู้ไปห้างสรรพสินค้าไม่ได้ เพราะเด็กจะพบของทันสมัยทุกอย่าง เช่น บัตรคูปอง บันไดเลื่อน อาหารแบบบริการตัวเอง เกมไฟฟ้าทั้งหลาย เป็นต้น ครูที่จัดทัศนศึกษาแบบนี้เด็กนักเรียนมักจะมีพฤติกรรม “พรูขึ้น-พรูลง” คือ พอถึงเป้าหมายที่จอดเด็กก็วิ่งพรูลงมาสัมผัสกับสิ่งที่ต้องการ พอถึงเวลากลับจากสัญญาณของครูเด็กนักเรียนก็วิ่งพรูขึ้นรถจากไปหาที่ใหม่
ถามว่า “ทัศนะ” แล้วยัง ตอบว่า ทัศนะแล้ว
ถามว่า “ศึกษา” แล้วยังตอบว่า “ไม่” เพราะทั้งครูและนักเรียนไม่มีใครพูดถึงสิ่งที่ไปดูเป็นเชิงการเรียนรู้ วิเคราะห์ วิจารณ์ วิพากษ์ เพื่อให้เกิดข้อคิดและการนำเสนอคนอื่นในรูปแบบของเรื่องเล่าหรือรายงาน
อ่านมาถึงตรงนี้คงชัดเจนนะครับว่า การไปทัศนศึกษานั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่มันยากตรงที่ครูผู้สอนจะต้องวางแผนการไปทัศนศึกษาให้ได้ผลต่อการเรียนรู้จริงๆของเด็กๆได้อย่างไรต่างหาก
สำหรับรายละเอียดของบทความนี้ลองคลิกไปอ่านกันได้ที่นี่เลยครับ Lin k
ณรงค์ นันทวิจิตร
8/08/2554
<< October 2024 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)