:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
สุดปลายทางไม่ใช่ความฝัน !!!
ถ้าให้เปรียบเทียบโรงเรียนของเราเป็นบริษัทจำกัด ถือว่าบริษัทแห่งนี้กำลังกินทุน
ที่ว่าแบบนี้เพราะความคิดที่นิ่งอยู่กับที่ยังไม่มีใครคิดถึงการพัฒนาที่จะนำโรงเรียนไปสู่ความโดดเด่น แปลกใหม่
เรากำลังทำงานซ้ำๆอย่างที่เคยทำมาแบบประคับประคองให้โรงเรียนอยู่ได้ไปวันๆ
เราอยากเห็นโรงเรียนก้าวผ่านงานที่ทำจำเจ ไปสู่สิ่งใหม่ๆ ที่เรียกกันให้เก๋ไก๋ ว่าเบญจม์โฉมใหม่ ที่สามารถทำให้โรงเรียนของเรามีความล้ำเลิศทางวิชาการจริงๆอย่างที่ทุกคนคาดหวัง ซึ่งเมื่อมีการกล่าวขวัญถึงโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์แล้ว ในแวดวงสังคมการเรียนรู้จะต้องร้องอ๋อ เช่นเดียวกันกับเมื่อเอ่ยถึงนามโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ หรือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
การที่จะนำโรงเรียนไปสู่ความล้ำเลิศอย่างที่ว่านั้นความจริงแล้วมีความเป็นไปได้ เนื่องจากโรงเรียนเบญจมราชรังสฤฎิ์มีต้นทุน(บุญเก่า)มากอยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องมาช่วยกันคิดวิเคราะห์ว่าจะให้โรงเรียนมีความล้ำเลิศด้านใด
คนช่วยคิดนั้นคงไม่จำกัดวงอยู่ที่ครูและผู้บริหารโรงเรียน เพราะถ้าเป็นแบบนั้นก็คงเป็นอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้
คนช่วยคิดน่าจะมาจากหลายกลุ่ม
กลุ่มครูและผู้บริหารโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่ง
กลุ่มตัวแทนนักเรียนทุกระดับชั้น
กลุ่มตัวแทนผู้ปกครอง
กลุ่มตัวแทนศิษย์เก่า
โดยตั้งประเด็นที่ต้องการให้โรงเรียนโดดเด่นเป็นตุ๊กตาเอาไว้ เพื่อให้สามารถแตกความคิดเห็นของทุกกลุ่มได้ไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อได้ข้อสรุปแล้วว่าต้องการให้โรงเรียนพัฒนาไปทางไหนจึงให้ทั้งหมดมาประชุมร่วมกันเพื่อนำเสนอความคิดแต่ละกลุ่มและสรุปให้เหลือเพียงประเด็นเดียว
การประชุมอาจมิได้ประชุมแค่ครั้งหรือสองครั้ง อาจต้องให้เวลาตัวแทนทั้งหมดได้คิดอย่างรอบคอบ แต่อย่างไรก็ตามต้องมีกรอบเวลาในการที่จะหาข้อสรุปกันให้ได้ว่าจะต้องการให้โรงเรียนมีความโดดเด่นหรือล้ำเลิศในด้านใด
ที่ต้องให้ได้ข้อสรุปมาจากกลุ่มตัวแทนนั้น เพราะการพัฒนาที่กล่าวนี้จะต้องทำงานร่วมกัน เรียกว่าเดินร่วมทางเพื่อสานฝันให้เป็นจริง
จากนั้นจึงเป็นเรื่องการดำเนินการโดยโรงเรียน(ผู้บริหารและครู)ประสานงานและทำงาน มีสมาคมศิษย์เก่า และสมาคมผู้ปกครองและครู เป็นคณะทำงานระดมทุนเพื่อให้ภาระกิจที่ช่วยกันคิดขึ้นมานั้นดำเนินการไปได้อย่างไม่มีอุปสรรคในด้านงบประมาณ
เมื่อมองอย่างนี้หลายคนอาจคิดว่าจะเป็นความฝันที่เกินจริงหรือเปล่า แต่...ต้องคิดกลับทางว่า ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่มนุษย์คิดแล้วทำไม่ได้ ไม่อย่างนั้นโลกคงไม่เจริญเดินพ้นจากคนยุคหินมาไกลขนาดนี้หรอก...จริงไหมครับ
ณรงค์ นันทวิจิตร
24/08/2554
Please Login to Post a Comment.
<< October 2023 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)