:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » เกี่ยวกับเบญจมฯ » เหนื่อยกับการที่จะตามทวงและตามเช็ดตามล้าง
เหนื่อยกับการที่จะตามทวงและตามเช็ดตามล้าง
เป็นเรื่องที่บ่น และบ่นมานานมาก เกี่ยวกับเรื่องมีการนำข้าวของเครื่องใช้จากสำนักงานเทคโนโลยีฯไปใช้แล้วไม่เคยกลับมายังที่เก็บตามเวลาเลยสักครั้งเดียว

เคยบอกว่า ไม่รังเกียจที่จะให้ยืม แต่รังเกียจที่ยืมไปใช้แล้วไม่คืน

วันนี้เกิดความเหนื่อยและเริ่มมีความเบื่อเกิดขึ้นเล็กๆ ที่เห็นโต๊ะ เก้าอี้ที่ใช้ประจำอยู่ในสำนักงานเทคโนโลยีฯเริ่มกระจัดกระจายออกไปทั่วโรงเรียน แล้วก็ไปค้างอ้างแรมอยู่ที่โน่นที่นี่ โดยผู้รับผิดชอบยืมไปหรือถือวิสาสะนำไปใช้แล้วไม่ส่งคืน



นี่คือระบบทำงานที่ล้มเหลวที่ไม่ครบวงจรดังที่ผมเคยกล่าวไว้

ถ้าการทำงานอย่างเป็นระบบมีการเริ่มงานและมีการเก็บงานที่เรียบร้อย น่าจะเป็นเรื่องที่ดีและน่าชื่นชม

พูดกันตรงๆเลยดีกว่า ในเรื่องที่เกี่ยวกับโต๊ะ เก้าอี้ ที่มีความจำเป็นต้องใช้ในที่ใดที่หนึ่ง เจ้าของงานที่เกี่ยวข้องน่าจะทำโครงการจัดซื้อจัดหาเตรียมเอาไว้ให้พอใช้ เพื่อความสะดวกในการที่จะได้ไม่ต้องเปลืองแรงงาน(ที่เหลือน้อย) ของบ้านเบญจมฯ แล้วทำระบบจัดการการใช้ข้าวของให้ดีน่าจะสะดวกกว่าที่เมื่อมีงานในแต่ละครั้งจะต้องเที่ยวไปโยกของที่นั่นที่นี่มาใช้ เสียทั้งเวลา เสียทั้งแรงงาน

เมื่อเริ่มจัดตั้งตบแต่งสถานที่น่ะไม่เท่าไรเพราะมีกำลังงานมากมาย แต่ในรอบที่ต้องเก็บเข้าที่นี่สิ แค่คิดก็ท้อแล้วว่าจะต้องแบกของหนักๆขึ้นไปเก็บบนชั้นสองชั้นสาม



ในที่สุดของเหล่านั้นก็ถูกทิ้งมิได้ถูกเก็บเข้าที่เข้าทาง แม้เวลาผ่านไปจาก 1 วัน เป็น 2 วัน หรือ 3 วัน บางครั้งนานเป็นสัปดาห์ ของก็ยังวางกองอยู่ที่เดิม

งานที่เกี่ยวข้องจะคิดกันบ้างได้หรือไม่ว่า จัดหาโต๊ะเก้าอี้เพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆตามลักษณะงานที่เกี่ยวเนื่องกับงานของตนเองจะได้ไหม...

ที่พูดนี่มิได้รังเกียจที่จะให้ยืม แต่รังเกียจที่ยืมไปแล้วไม่นำกลับคืน ต่างหากครับ

ณรงค์ นันทวิจิตร
27/09/2554
Comments
#1 | narong on September 27 2011 02:06:56
****
โต๊ะที่ใช้ในห้องบริการโสตฯนั้นออกแบบเอาไว้เพื่อใช้รองเขียน และมีความยาวมากกว่าปกติที่สามารถให้นักเรียนนั่งใช้ได้ 4 คนในโต๊ะเดียว มิใช่ออกแแบมาเพื่อใช้วางสิ่งของหนักๆ เนื่องเพราะเป็นโต๊ะหน้าแคบประการหนึ่ง และไม่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักได้มากอีกประการหนึ่ง

ในขณะนี้มีการนำโต๊ะเหล่านี้ไปใช้งานผิดประเภทโดยเพียงมองเห็นว่ามันคือโต๊ะ แต่มิได้มองลึกลงไปว่ามันคือโต๊ะเพื่อใช้งานอะไร

ผมนำเสนอมาหลายครั้งว่า งานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมใดๆควรวางแผนและออกแบบวัสดุครุภัณฑ์ที่จะใช้ให้เหมาะสมกับงาน

งานในห้องประชุมขนาดใหญ่ ก็น่าจะมีโต๊ะเก้าอี้ตั้งประจำ มิใช่โยกย้ายไปมาทำให้เกิดความสับสนปนเปของวัสดุครุภัณฑ์ ซึ่งยากแก่การที่จะดูแลรักษา

ถึงเวลาที่งานทุกงานจะต้องคิดเรื่องนี้กันแล้วนะครับ
#2 | narong on September 27 2011 04:48:38
ผมเข้าออกโรงพยาบาลรามาธิบดีบ่อยๆ มองเห็นระบบงานที่สร้างขึ้นแล้วรู้สึกทึ่ง เพราะการจัดการระบบใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยเหลือมนุษย์ทำงาน ไม่ปล่อยปละละเลยเจ้าหน้าที่ๆต้องปฏิบัติงานระดับล่างๆให้ต้องเหนื่อยมากมาย คนมีหน้าที่บริหารงานด้านอาคารสถานที่และพัสดุ จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ทุ่นแรงให้กับเจ้าหน้าที่ในระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นรถเข๊นของ รถยนต์ไฟฟ้า ลิฟต์ส่งของ หรือพวกวัสดุโต๊ะ เก้าอี้ เรียกว่ามีการจัดการวางไว้ให้ใช้อย่างพอเพียง มีระบบตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสิ่งของ อะไรที่ไม่ให้เคลื่อนอะไรที่เคลื่อนที่ได้

ผมอยากเห็นโรงเรียนเบญจมฯมาคิดในเรื่องนี้บ้าง เพราะวันนี้เจ้าหน้าที่คนงานอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้ายังต้องใช้แรงงานเหมือนกับเขาอายุน้อยๆ ผมว่าไม่นานโรงเรียนนี้จะไม่เหลือคนทำงาน เพราะไม่หนีงาน เกงาน ก็ คิดลาออกกันหมด...ถ้ามีการจัดการบริหารทั้งวัสดุครุภัณฑ์ให้ลงตัวและพอเพียงแก่การใช้งานแล้ว ผมว่าจะมีคนตั้งใจที่จะช่วยทำงานมากขึ้น ไม่ว่าครู นักเรียน หรือนักการภารโรง ... เชื่อผมซี่
#3 | narong on September 27 2011 04:54:52
ปัญหาหนึ่งที่ได้ฟังมาคือการอ้างว่าการจัดซื้อจัดจ้างไม่สะดวก...ซึ่งประเด็นนี้ต้องให้ความเป็นธรรมว่า สิ่งที่ขอจัดซื้อจัดจ้างนั้นอยู่ในแผนหรือโครงการประจำปีหรือไม่ .. คนทำงานต้องรู้จักสำรวจตรวจสอบแล้ววางแผนงาน ทำโครงการเพื่อขอจัดซื้อจัดจ้างตามระบบ เพราะถ้าคิดแบบเดิมๆ คือ เดินสะดุดตรงไหนก็จะทำตรงนั้น อย่างนั้นเรียกว่าทำงานไม่มีแผนงานครับ การวางแผนงบประมาณก็เกิดความลำบากในเรื่องการจัดสรรเม็ดเงินเพื่อการบริหาร.... อย่าโทษกันไปมานะครับ...ต้องถามตนเองว่าได้ทำตามระบบหรือยัง ????
#4 | narong on September 27 2011 04:58:51
การเบิกจ่ายเงินนอกแผนงานนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะบริหาร การคิดเอาเองว่ามันน่าจะใช้ได้ต้องเลิกคิด เพราะคิดเช่นนั้นรังแต่จะทำให้เกิดปัญหาต่อผู้ดูแลเรื่องเงินๆทองๆ... การนั่งทับอยู่บนกองเงินของคนอื่นโดยเฉพาะเงินของราชการนั้นมันเสี่ยงแค่ไหนที่จะต้องรับผิดเมื่อเกิดการผิดระเบียบการเบิกจ่ายขึ้นมา.....
#5 | narong on September 27 2011 05:01:01
การสร้างระบบที่ดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆเรื่องของโรงเรียนนี้นั้น หากทำได้จะเป็นความชอบที่นำไปใช้ในการประเมินงานเพื่อนำเสนอขอโน่นขอนี่ให้เป็นเกียรติประวัติของโรงเรียน ... แต่ถ้าไม่ทำมันก็คงจะตอบคำถามไม่ได้ว่าคุณจัดการกับระบบที่กล่าวนี้ได้อย่างไร
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< November 2023 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
    1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30      

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 25 2024 17:42:09