:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
การตีเด็กควรเป็นทางเลือกหนึ่งในการทำโทษเด็ก
การตีเด็ก ควรเป็นทางเลือกหนึ่งในการทำโทษเด็ก
“ไม้เรียว สร้างรัฐมนตรี” นั้นแป็นคำพูดที่ได้ยินมานานแสนนานและความหมายของมันก็คือ การตีเด็กของคุณครูนั้นเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้เด็กเป็นคนที่มีคุณภาพได้
แต่ปัจจุบันโรงเรียนไม่สามารถตีเด็กได้แล้ว เพราะเป็นกฎของกระทรวงศึกษาธิการที่ห้ามครูตีเด็กตั้งแต่สมัยรัฐมนตรีศึกษาฯ ชื่อ สมศักดิ์ ปริศนานันธกุล
การ ยกเลิกการตีเด็กคงเป็นการมองมุมที่เป็นผลเสียของมันเป็นหลัก เช่น ครูชอบตีเด็กด้วยอารมณ์, ตีอย่างไร้เหตุผล,ตีโดยขาดการไต่สวนพิจารณาโทษที่ถูกต้อง ทำ ให้มีบางครั้งมีการตีเด็กจนถึงขั้นบาดเจ็บ
แต่ หลังจากการยกเลิกการตีเด็กเป็นต้นมา ก็เกิดปัญหาใหญ่ขึ้น ซึ่งดูจะใหญ่กว่าปัญหาที่เกิดจากการตีเด็กเป็นอย่างมาก ปัญหานั้นก็คือ ครูขาดอำนาจการต่อรองกับเด็ก เด็กที่ประพฤติดีๆนั้นตีหรือไม่ ตีก็ไม่มีปัญหา เพราะยังไงเขาก็ไม่โดนตีอยู่แล้ว
แต่เด็กดื้อ, เด็กมีปัญหานี่สิเรื่องใหญ่ ให้เรียนก็นั่งคุย ทำตัวป่วนในห้องเรียน ให้ทำการบ้านก็ไม่ทำ ขาด เรียนหรือโดดเรียนก็บ่อย ติด ๐ ติด ร.ก็ไม่มาแก้ไข เด็กบางคน อยู่ม.๓ ติด ๐ ติด ร.เกือบ ๒๐ วิชา เจ้าตัวเองยังจำไม่ได้เลยว่ามีวิชาอะไรบ้าง เรียกผู้ปกครองมาพบก็ไม่มา คะแนนความประพฤติก็ไม่เหลือให้หักแล้ว
ครู เองก็ไม่รู้ว่าจะเอาอำนาจต่อรองอะไรไปใช้กับเด็กกลุ่มนี้ ท้ายที่สุดก็ต้องปล่อยเลยตามเลย เด็กกลุ่มนี้ก็ไม่ได้รับการพัฒนา ต้องออกกลางคัน และจะออกไปสร้างปัญหาให้สังคมอย่างไม่หยุดหย่อน นี่ถ้าครูยังตีเด็กได้ เด็กกลุ่มนี้น่าที่จะถูกกำราบตั้งแต่ต้นก่อนที่ความดื้อด้านจะฟักตัวเติบ ใหญ่จนแก้ไขไม่ได้แบบนี้
เชื่อ ว่าครูเกือบทุกคนคงยืนยันได้ว่าหลังจากการห้ามตีเด็กเป็นต้นมานั้น เด็ก มีความประพฤติและผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนที่ต่ำลง
นี่ น่าจะเป็นปัญหาของการแก้ปัญหาแบบไม่รู้จริง หรือเป็นการแก้ ปัญหาแบบเห็นข้อเสียบางส่วนก็เลยโยนมันทิ้งทั้งหมดเลย
ใน เมื่อการตีเด็กนั้นมีทั้งข้อดีข้อเสีย และการยกเลิกการตีเด็ก นั้นก็ก่อปัญหามากมาย ทำไมเราไม่กลับมาใช้การตีเด็กเป็นวิธี การหนึ่งในการลงโทษเด็ก ผมย้ำว่าเป็นวิธีการหนึ่งในการลงโทษเด็ก ผมขอย้ำอีกทีว่าเป็นวิธีการหนึ่งในการลงโทษเด็กเท่านั้น ด้วยการกำหนดวิธีการที่ป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียขึ้นดังนี้
1. ครูต้องไม่ตี เด็กด้วยความโกรธ
2. ครูต้องไม่ตี เด็กโดยขาดการไต่สวนและขาดวิธีสืบหาความผิดที่ถูกต้อง และควรมีครูคนอื่นเป็นคณะกรรมการไต่สวนด้วย
3. ครูต้องตีเด็ก ด้วยไม้เรียวที่เป็นมาตรฐาน ไม่ใช่หาอะไรเจอก็เอามาตี
4. ครูต้องตีเด็ก ด้วยจำนวน,ความแรงและท่าตีที่กำหนดให้
5. ครูต้องตีเด็ก ที่ตำแหน่งของร่างกายที่กำหนดไว้เท่านั้น
6. ครูต้องตีเด็ก ที่นักเรียนยอมรับความผิดแล้วเท่านั้น ถ้าไม่ยอมแต่เด็กมี ความผิด ก็ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง แต่ถ้าผู้ปกครองไม่ยอมก็ให้กรรมการวินัยชุดใหญ่ของโรงเรียนเป็นผู้ชี้ขาด เป็นต้น
การกำหนดเช่นนี้ก็น่า จะป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากการตีเด็กได้ และคงไว้แต่มุมดีๆที่จะสามารถดูแลเด็กๆที่มีปัญหาที่เกิดจากสังคมที่เสื่อม ลงเรื่อยๆได้ และทั้งหมดนี้ก็เพื่อตัวพวกเขาเอง ครอบครัว และประเทศชาติ
พอกันทีเถิดครับกับการกอดอุดมคติหรือปรัชญา ฝรั่งไว้อย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่มองบริบทของสังคม และสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่
กรุณาส่งต่อและติดตามบทความอื่นๆได้ที่ fanpage การศึกษา อุบาทว์ ชาติวิบัติ
บทความของ อำนวย สุนทรโชติ
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< November 2023 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)