:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
รู้เขารู้เรา...เอาชนะไวรัสคอมพิวเตอร์(2)
ต่อจากคราวที่แล้ว
เมื่อเครื่องท่านติดไวรัส แล้วจะทำอย่างไร
ง่ายๆเลย คือ
1. เมื่อรู้ว่าเครื่องติดไวรัส งดการใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น และกรุณางดใช้เครื่อง
2. ติดต่อผู้ชำนาญการเพื่อดำเนินการตรวจสอบ และกำจัดไวรัสออกจากเครื่องของท่าน
3. ให้ท่านเรียนรู้ปัญหาที่เกิดกับเครื่องของท่านจากผู้เชี่ยวชาญที่ดำเนินการแก้ปัญหาให้ท่าน เพื่อนำความรู้ไปใช้เพื่อป้องกันการติดไวรัสซ้ำอีก
ในเรื่องป้องกันการติดเชื้อนี้ ผู้เชี่ยวชาญจาก NECTEC คือคุณ กิตติศักดิ์ จิรวรรณกุล ได้แนะนำไว้ว่า
1. เลือกใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่เหมาะสมหรือตามที่องค์กรกำหนด การเลือกนั้นเป็นเพียงการเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีและองค์กร ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเครื่องที่ใช้งานอยู่มีประสิทธิภาพไม่สูงนัก ก็อาจจะเลือกใช้งานโปรแกรมป้องกันไวรัสที่มีขนาดเล็กและทำงานได้รวดเร็ว หรือถ้าบุคลากรภายในองค์กรขาดความตระหนักในการปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสก็ควรที่จะเลือกโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ผู้ดูแลระบบสามารถควบคุมเครื่องดังกล่าวให้ทำการปรับปรุงฐานข้อมูลหรือสแกนหาไวรัสจากระยะไกลได้ เป็นต้น
2. สร้างแผ่นบูต emergency disk เพื่อใช้ช่วยในการกู้ระบบ การสร้างแผ่น emergency disk หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Rescure disk นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเครื่องติดไวรัสที่ไม่สามารถจะกำจัดได้โดยผ่านระบบปฏิบัติการวินโดวส์ หรือผลกระทบของไวรัสที่ทำให้เครื่องไม่สามารถบูตได้ตามปกติ เราก็สามารถใช้แผ่น emergency disk มาช่วยในการกู้ข้อมูลและกำจัดไวรัสออกจนทำให้บูตเครื่องได้ตามปกติ
3. ปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสทุกวันหรืออย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนหัวใจของการใช้งานโปรแกรมป้องกันไวรัส เนื่องจากไวรัสคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาออกมาใหม่ทุกวัน ดังนั้นจึงควรที่จะสอนโปรแกรมป้องกันไวรัสให้รู้จักไวรัสชนิดใหม่ๆ ด้วย โดยการปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสที่ใช้งานนั่นเอง
4. เปิดใช้งาน auto - protect โดยส่วนใหญ่โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ติดตั้งจะทำการสร้างโพรเซสที่จะตรวจหาไวรัสตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสสามารถถูกเอ็กซิคิวต์ในเครื่องได้
5. ก่อนเปิดไฟล์จากแผ่นที่นำมาใช้จากที่อื่นให้สแกนหาไวรัสก่อน แผ่นดิสก์ที่นำไปใช้ที่อื่นแล้วนำกลับมาเปิดที่เครื่อง จะมั่นใจได้อย่างไรว่าแผ่นนั้นไม่มีไวรัสอยู่ ดังนั้นควรจะตรวจหาไวรัสในแผ่นก่อนที่จะเปิดอ่านข้อมูลที่ถูกบรรจุในแผ่นดิสก์ดังกล่าว
6. ทำการตรวจหาไวรัสทุกสัปดาห์ ในแต่ละสัปดาห์แน่นอนว่ามีไฟล์ที่ผ่านเข้าออกเครื่องมากมาย ไม่ว่าจะเป็น อี-เมล์ที่ได้รับ ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต ตลอดจนไฟล์ชั่วคราวของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่เก็บในแต่ละครั้งที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าไฟล์เหล่านั้นไม่มีไวรัสแฝงตัวมา ดังนั้นจึงควรที่จะทำการตรวจหาไวรัส โดยการสแกนหาทั้งระบบ อาจจะเป็นทุกเย็นของวันศุกร์ก่อนกลับบ้านก็เป็นได้
ให้ปฏิบัติกันตามคำแนะนำนี้นะครับ
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< September 2024 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)