:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
สนิมเกิดแต่เนื้อ ในตน
กัดกินเนื้อเหล็กจน กร่อนขร้ำ
บาปเกิดแต่ตนคน เป็นบาป
บาปย่อมทำโทษซ้ำ ใส่ผู้บาปเอง
ผมยกตัวอย่างนี้มาเพื่อจะบอกว่า ... องค์กรที่เสื่อมถอยลงนั้นก็เพราะการกระทำของคนในองค์กรนั้นเอง หากองค์กรมีความเข้มแข็ง ยึดมั่นในความถูกต้องตามกฏกติกาที่มีหรือที่ร่วมกันสร้างและรักษากันมาแล้ว ความเจริญรุ่งเรืองย่อมนับวันทวีมากขึ้น เป็นที่เชื่อถือเชื่อมั่นของผู้คนในสังคมที่แวดล้อมอยู่
อย่างกรณีของเบญจมราชรังสฤษฎิ์ของเรา ... เราร่วมกันยึดมั่นในเรื่องโรงเรียนปลอดเด็กฝากมาแล้วเป็นเวลา 5 ปี เป็นที่รับรู้ของพ่อแม่ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้หลักผู้ใหญ่ของแปดริ้ว
แม้จะมีเสียงค่อนขอด ต่อว่า ว่าทำไมเป็นเหมือนคนใจแคบ ไม่เอื้อเฟื้อพรรคพวก เพื่อนฝูง แม้แต่ผู้บังคับบัญชาระดับสูง
สิ่งที่เราพยายามอธิบายให้ทุกคนในสังคมรับรู้คือ
เราต้องการให้เป็นกรณีศึกษา เป็นแบบอย่างของเด็กรุ่นลูกหลาน สอนให้เขารู้ว่าถ้าจะต้องการอะไรจะต้องใช้ความสามารถของตนเอง มันหมายถึงความภูมิใจของเขา ... มิใช่เขาไม่มีความสามารถแต่พ่อแม่ขอใช้บารมีของคนอื่นๆมาเพื่อช่วยให้เขาได้ตามประสงค์แม้จะรู้ว่าต้องเหยียบบ่า ข้ามหัวของคนอื่นมาก็ตาม .. ซึ่งอย่างนั้นเท่ากับให้ท้ายส่งเสริมค่านิยมที่ผิดๆให้กับเขา ทำให้เขาคิดว่าโอกาสต่อไปหากเขาไม่ได้อะไรดังใจก็จะร้องขอให้คนอื่นช่วยร่ำไปโดยไม่พยายามที่จะใช้ความสามารถของตน
หากตัวช่วยล้มหายตายจากไปแล้วจะเป็นอย่างไร ..
เรามาช่วยกันสร้างค่านิยมที่ถูกต้อง สอนให้ลูกหลานใช้ความสามารถของตนเอง และยอมรับความสามารถที่ตนเองได้ เพื่อจะได้พัฒนาตนเองในโอกาสต่อไป
มาถึงวันนี้ผมได้ยินข่าวหนาหูว่ามีพ่อแม่ผู้ปกครองครองบางคนวิ่งหาตัวช่วย อาศัยผู้มากบารมีทั้งทางการเมืองและทางราชการเอ่ยปากขอความอนุเคราะห์มายังโรงเรียนให้พิจารณาเด็กๆที่มาสมัครสอบคัดเลือกเข้าเรียน....
การใช้คำว่าขอความอนุเคราะห์ เหมือนจะสุภาพ แต่ในสถานการณ์อย่างนี้ ผมกลับเห็นว่าคำๆนี้คือคำหยาบคาย หรือถ้าพูดให้แรงกว่าคือคำข่มขู่ให้จัดการเรื่องที่ขอให้อย่างไม่มีเงื่อนไข
หากพิจารณาให้ตามคำขอ ... โรงเรียนจะตอบคำถามสังคมนี้ได้อย่างไร ... ความวุ่นวายจะเกิดขึ้นทันที เพราะถ้าโรงเรียนเกิดบ้าจี้จัดให้ตามคำขอความอนุเคราะห์สักคนหนึ่ง คนผิดมิใช่คนขอแต่กลับเป็นผู้รับผิดชอบในโรงเรียนถ้ามีการฟ้องร้องศาลปกครองกันขึ้นมา (เชื่อว่าจะต้องมี)
เราต้องการทำให้โรงเรียนเบญจมฯเป็นโรงเรียนปลอดเด็กฝาก ... เพราะนี่เป็นเรื่องที่เราจะต้องให้ความเป็นธรรมกับนักเรียนทุกคนที่มาสมัครสอบแข่งขันกัน ใครมีความสามารถมากกว่าก็ได้ไปตามลำดับ ... คนที่ไม่ได้รับการคัดเลือกก็จะต้องยอมรับกัน เพราะไม่อย่างนั้นเรื่องนี้ไม่จบ จะกลายเป็นชนวนเหตุให้เกิดความผิดพ้องหมองใจกันว่าเลือกที่รักมักที่ชัง.... ความสุขระหว่างบ้านและโรงเรียนจะเกิดได้อย่างไร
และเมื่อเรื่องมันไม่จบที่นี่ ดังนั้นเรื่องมันคงเกินความสามารถของครูอังคณาจะตัดสินนะครับ....ซึ่งคงไปจบที่ศาลปกครอง .. แล้วใครอยากจะไปกันบ้างเล่า (หรือว่าคนที่ขอความอนุเคราะห์อยาก)
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< November 2024 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)