:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
สิ่งที่ขาดหายไปของการทำงาน !!!
หลังจากการทำงานใดๆ ที่ต้องใช้คณะทำงานมากๆ เรามักจะชื่นชมผลสำเร็จของงานกันมากกว่าที่จะกล่าวถึงปัญหาอุปสรรค
ทำไมจึงพูดได้อย่างนี้
เพราะประสบการณ์การทำงานมานานมากกว่า 40 ปี ทำให้ผมกล้าพูดได้ว่าเราไม่ค่อยได้หยิบยกปัญหาอุปสรรคต่างๆในการทำงานมาคุยกันภายหลังงานนั้นจบสิ้นลงไปแล้ว ทั้งๆที่มันมีความสำคัญที่ทำให้งานที่ลุล่วงไปนั้นมีผลสัมฤทธิ์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น
น้อยครั้งที่คณะทำงานใดๆจะหวนกลับไปนั่งถกกันถึงปัญหาอุปสรรคของการทำงานใดๆ เพื่อพัฒนางานให้ดีขึ้นถ้างานนั้นเป็นงานที่ต้องทำกันเป็นประจำทุกปี หรือทำกันเป็นห้วงเวลาทุกสามเดือน หกเดือน
ด้วยเหตุนี้ปัญหาเดิมๆจึงมักเกิดขึ้นกับงานอย่างนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ผมเคยพูดเคยเขียนอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับเรื่องปัญหาการทำงานที่ไม่ครบวงจร เป็นปัญหาอุปสรรคในการทำงานในองค์กรอย่างยิ่ง ... กล่าวเช่น มีการเริ่มต้นทำงาน ติดตั้ง ตบแต่ง ให้งานดูดีมีคลาส จัดดำเนินงานมีสคริปชัดเจน ทำให้งานลื่นไหลจนกระทั่งปิดงาน มีเสียงปรบมือในความสำเร็จที่งดงาม
หลังจากงานเลิกต่างคนต่างแยกย้าย.... ซึ่งหลายคนเข้าใจว่างานเสร็จสิ้นลงแล้ว แต่มิใช่อย่างที่เข้าใจ เพราะงานสุดท้ายคืองานเก็บกวาด นำสิ่งของอุปกรณ์เข้าที่เก็บให้เรียบร้อยยังไม่ได้เริ่ม หรือเริ่มแต่ไม่สมบูรณ์
ไม่สมบูรณ์หมายถึงอะไร
หมายถึงมีอุปกรณ์อีกมากมายถูกทิ้งไว้ในที่จัดงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ หรืออื่นๆ อาจเป็นเพราะไม่มีกำลัง หรือมีปัญหาใดๆก็ตามที่ไม่อาจทำให้งานสำเร็จลงได้ 100% ตรงนี้ต่างหากที่ทำให้คุณค่าของการจัดงานได้รับคำชมเชยไม่เต็มร้อย
ในเมื่อเรามีกำลังที่จะเตรียมงาน และดำเนินงาน ก็ควรจะต้องมีกำลังที่จะต้องเก็บงานทุกรายละเอียดเมื่อเสร็จงานแม้ว่าจะต้องใช้สรรพกำลังมาระดมกันก็ต้องทำ เพื่อมิให้คุณค่าของงานที่ตั้งใจทำด้อยค่าด้อยราคา
เมื่อคณะทำงานมาประชุมสรุปงานก็จะต้องพูดคุยถึงปัญหาอุปสรรคอย่างตรงไปตรงมา เพื่อการพัฒนางานในครั้งต่อไป หรือนำไปใช้กับงานที่มีลักษณะใกล้เคียง ให้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่าละเลยปัญหาบางปัญหาเพียงเพราะกลัวความขัดแย้ง เลยไม่นำขึ้นมาถกแถลงกันด้วยเหตุผล เพราะในที่สุดแล้วปัญหาที่ถูกละเลยนั้นมันก็กลับมาเป็นปัญหาอุปสรรคของงานซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ทำให้คนในสังคมรอบข้างที่รู้ที่เห็นตำหนิติฉินนินทากันร่ำไปว่าพวกนี้ทำงานไม่เป็น
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< June 2027 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)