:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องฮือฮาในวงการศึกษาเกี่ยวกับการรับนักเรียนใหม่เข้าเรียนในโรงเรียนดัง
เรื่องราวบานปลายเมื่อมีบางฝ่ายผสมโรงยุให้เด็กประท้วงโรงเรียนโดยการอดข้าวเพื่อหวังให้ได้เข้าเรียนโรงเรียนที่ตัวเองอยากเรียน
ที่มาที่ไปก็เพราะส่วนหนึ่งมาจากการที่เด็กและผู้ปกครองไม่ยอมรับกติกาการรับนักเรียนที่แต่ละคนรู้ดีว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถเข้าไปเรียนในโรงเรียนนั้นๆได้ เมื่อไม่ได้ก็อ้างเหตุผลร้อยแปดพันเก้าเพื่อจะให้ได้สิทธิ์นั้น... หนักที่สุดบางคนที่เป็นกองเชียร์อ้างว่าทั้งหลายทั้งปวงนั้นขัดกฏหมายรัฐธรรมนูญ
ไปกันใหญ่ซิครับพระคุณท่าน
ความจริงแล้วแต่ละโรงเรียนจะมีกติกา เช่นที่โรงเรียนเบญจมฯเท่าที่รู้เห็นนั้นโรงเรียนจะดำเนินการ
1. ดูนโยบายจาก เจ้ากระทรวง และ สพฐ.
2. กรรมการสถานศึกษาพิจารณาเรื่องการรับนักเรียนในแต่ละปี
3. กรรมการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาวางกรอบการรับนักเรียนตาม 1 และ 2 ด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้
กติกาที่วางไว้นั้นจะแจ้งนักเรียนรู้กันทุกปี เป็นที่รู้กันในกลุ่มนักเรียนชั้น ม.ต้น ... ใครที่เตรียมตัวดีมาตลอดย่อมได้รับอานิสงส์ในบั้นปลาย คือได้รับการคัดเลือกขึ้นเรียนชั้น ม.4 ตามเกณฑ์ที่กำหนด ใครที่ไม่ได้รับเลือกโรงเรียนก็ไม่ได้รอนสิทธิ์ยังสามารถสมัครสอบคัดเลือกเข้าเรียนพร้อมกับนักเรียนทั่วไปได้อีก หากมีความสามารถสอบผ่านก็ได้เรียน
จะมีบ้างที่นักเรียนอ้างว่าเป็นเด็กกิจกรรม ทำโน่นทำนี่ แต่เพราะที่ผ่านมามัวแต่ทำกิจกรรมละทิ้งการเรียน บางคนจึงพลาดโอกาสเข้ามานั่งเรียนต่อ ม.4 ที่นี่ ... ก็น่าเห็นใจ แต่ไม่ใช่ประเด็นที่จะนำไปหักล้างกฏกติกาที่วางกันไว้
โรงเรียนใหญ่ โรงเรียนดัง จะมีปัญหามากในกรณีที่เด็ก ม.ต้นมีจำนวนมากพอๆกับจำนวนเด็ก ม.ปลาย ถ้าคัดเลือกนักเรียน ม.ต้นขึ้นเรียนทั้งหมดก็ไม่มีที่นั่งให้นักเรียนจากที่อื่นๆ ....
อย่างนี้จะทำอย่างไร
ทางแก้ไขปัญหา...ท้องถิ่นนั้นๆก็คงต้องไปดูจำนวนประชากรที่กำลังเรียนในชั้น ม.ต้น แต่ละปีว่ามีเท่าไร ... จากนั้นฝ่ายการศึกษาของแต่ละเขตจะต้องวางแผนการรับนักเรียนร่วมกับโรงเรียนต่างๆเพื่อมิให้เกิดปัญหานักเรียนล้นที่นั่น แต่ไปขาดที่โน่น นี่ นั่น
ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครอง และนักเรียนได้รับรู้โดยทั่วกัน พวกเขาจะได้วางแผนชีวิตได้ถูกต้อง ก็จะทำให้ปัญหาน้อยลงหรือไม่มีเลย
ที่ผ่านมาและเท่าที่รู้ ผมยังไม่เคยเห็นการประชาสัมพันธ์เรื่องเหล่านี้สักเท่าไรเลย โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์เชิงให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการจัดการรับนักเรียนของเขตพื้นที่การศึกษา
ลองทำกันเถิดครับ...ข้อมูลต่างๆนั้นเชื่อว่ามีอยู่แล้ว...จัดทำ PR เรื่องการรับนักเรียนตั้งแต่ต้นปี กระจายข่าวสารให้สังคมรับรู้รับทราบ... ผมว่าทุกฝ่ายจะยอมรับการจัดการรับนักเรียนในปีต่อไปอย่างแน่นอน...
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< January 2025 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)