:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
เรื่องนกรู้
ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพ่อค้าเกวียน เจริญวัยแล้วทำการค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม คราวหนึ่งไปถึงดงลึก จึงตั้งพักอยู่ปากดง เรียกคนทั้งหมดมาประชุมกัน กล่าวว่า ในดงนี้ต้นไม้ที่มีพิษมีอยู่ทั่วไป พวกท่านยังไม่ได้ถามเรา อย่าได้บริโภคใบ ดอก หรือผล อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอันขาด พวกนั้นรับคำแล้วพร้อมกันย่างเข้าสู่ดง
ที่ปากดงมีต้นกิงผลพฤกษ์อยู่ที่ประตูบ้านแห่งหนึ่ง ลำต้น กิ่ง ใบอ่อน ดอก ผล ทุกๆ อย่างของต้นกิงผลพฤกษ์นั้น เหมือนต้นมะม่วงไม่ ผิดเลย ใช่แต่เท่านั้น ผลดิบและผลสุกก็เหมือนมะม่วง ทั้งสีและสัณฐาน ทั้งกลิ่นและรส ก็ไม่แผกกันเลย แต่บริโภคเข้าแล้วอาจทำให้สิ้นชีวิตได้ เหมือนกับยาพิษชนิดร้ายแรง ฉะนั้น พวกที่ล่วงหน้าไป บางหมู่เป็นคนโลเล สำคัญว่า นี่ต้นมะม่วง ก็บริโภคเข้าไป บางหมู่คิดว่า ก่อนจะกินต้องถามหัวหน้าก่อน จึงยืนรอ พอหัวหน้ามาถึงก็บอกหัวหน้าว่า จะกินมะม่วงเหล่านี้ พระโพธิสัตว์รู้ว่า นี่ไม่ใช่ต้นมะม่วง ก็ห้ามว่า ต้นไม้นี้ชื่อว่า กิงผลพฤกษ์ ไม่ใช่ต้นมะม่วง พวกท่านอย่ากิน พวกที่กินเข้าไปแล้ว ก็จัดการให้อาเจียนออกมา แล้วให้ดื่มของหวาน
ในครั้งก่อน พวกคนเดินทางหรือพ่อค้าที่พักอยู่โคนต้นไม้นี้ ได้บริโภคผลอันเป็นพิษเข้าไป ด้วยสำคัญว่า เป็นผลมะม่วง รุ่งขึ้น พวกชาวบ้านแถบนั้นพากันออกมา เห็นคนตายก็ช่วยกันฉุดไปทิ้งในที่รกๆ แล้วยึดเอาข้าวของและเกวียนไปหมด ในครั้งนี้ก็เช่นกัน พอรุ่งอรุณ พวกชาวบ้านต่างพูดจับจองว่า โคเป็นของเรา เกวียนเป็นของเรา สิ่งของเป็นของเรา แล้วพากันรีบวิ่งไปสู่โคนต้นไม้นั้น ครั้นเห็นพวกพ่อค้าเกวียนปลอดภัย พวกชาวบ้านก็ถามว่า พวกท่านรู้ได้อย่างไรว่า ต้นไม้นี้ไม่ใช่ต้นมะม่วง พวกพ่อค้าตอบว่า พวกเราไม่รู้ แต่หัวหน้าพวกเรารู้ พวกชาวบ้านจึงถามพระโพธิสัตว์ว่า พ่อบัณฑิต ท่านทำอย่างไรจึงรู้ว่าต้นไม้นี้ไม่ใช่ต้นมะม่วง พระโพธิสัตว์ตอบว่า ถ้าต้นไม้มีผลอร่อยนี้เป็นต้นมะม่วงแล้วไซร้ ในเมื่อคนขึ้นได้ง่าย และก็ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้าน ผลของมันจักไม่เหลือเลยต้องถูกคนเก็บกินจนหมด เรากำหนดอย่างนี้จึงรู้ว่าต้นไม้นี้เป็นต้นไม้มีพิษ
(อรรถกถาผลชาดก เอกนิบาต)
คัดมาจาก http://www.dhammajak.net/book/panya/panya18.php
-----------------------
สาระที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
๑. พระโพธิสัตว์ในชาดก จัดเป็นบุคคลประเภท นกรู้ หมายถึงผู้มีไหวพริบรู้เท่าทันเหตุการณ์หรือภัยที่จะมาถึงตน เมื่อรู้แล้วก็หาทางป้องกันหรือแก้ไขเสียแต่ต้นมือ ความเสียหายก็ไม่เกิด หรือช่วยผ่อนหนักเป็นเบา ส่วนคนที่เซ่อซ่าไร้วิสัยทัศน์ หรือมัวแต่นอนใจว่ายังไม่เป็นไร มีแต่จะฉิบหายถ่ายเดียว
-------------------
การยกเรื่องนี้มาคุยวันนี้มีเหตุครับ
คำว่านกรู้ที่อ่านมานั้นมีความหมายเปรียบเทียบในด้านดี..ได้รู้ถึงภัยอันตรายที่จะมาสู่ตนและหมู่พวก
แต่คำว่านกรู้ที่กำลังจะกล่าวถึงนี้เป็นความหมายด้านลบ ที่คนบางคนรู้ว่ากำลังจะมีงานหนักงานลำบาก จึงคิดหลบเลี่ยงจากงานนั้นปล่อยให้หมู่พวกแบกรับกันไปโดยตัวเองลอยชายลอยนวล ลอยตัว คนประเภทนี้อยู่ในสังคมใดมักเป็นตัวถ่วง ถึงคราวลำบากจะกระโจนหนี...
ดังนั้นคนประเภทนี้นอกจากจะใช้คำเปรียบว่า นกรู้ แล้ว ยังอาจจะใช้คำเปรียบว่า รู้มาก ได้ด้วย
หากอยู่ในสังคมใดมักเป็นที่รังเกียจของคนในสังคมนั้น
แต่เชื่อหรือไม่ว่าคนประเภทนี้มักจะไม่คิดมาก เพราะระบบการทำงานของบ้านเรานั้นผู้นำองค์กรมักจะขี้สงสาร.. เลี้ยงกันไปจนคนประเภทนี้เคยตัวพร้อมที่จะกินแรงเพื่อนต่อไปจนกว่าจะถึงวันที่จะมีผู้นำสักคนทนไม่ได้ไล่ออกจากสังคมนั้นไป
แต่ เชื่อเถอะ ไม่มีวันเห็นหรอก !!
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< September 2022 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)