:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
วันนี้ได้พบกับลูกเบญจมฯคนหนึ่ง ที่เข้ามาขอใช้บริการเกี่ยวกับรูปถ่าย
เท่าที่ได้คุยกันเล็กน้อย และเท่าที่รู้เรื่องราวของเด็กคนนี้และกลุ่มเพื่อน ต้องบอกว่าน่าสงสารและน่าเห็นใจ ที่เขาไม่สามารถจะจบหลักสูตรประโยคการศึกษาตอนปลาย
เพราะผลการเรียนไม่ผ่านมากมายก่ายกอง
ถ้าย้อนมองอดีต เด็กกลุ่มนี้ถูกดันให้ขึ้นมาเรียนในชั้นเรียนวิชาสามัญทุกคนตามนโยบายของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาฯ เมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา ทั้งๆที่ทุกคนรู้ว่าเด็กกลุ่มนี้จะเรียนวิชาสามัญไม่ได้แน่ เพราะพื้นฐานความรู้ของพวกเขาย่ำแย่ ทั้งเรื่องภาษาและการคำนวณ
ความเป็นจริงพวกเขาน่าจะได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวให้เรียนวิชาชีพ แต่เพราะความกลัวของผู้ปกครองส่วนหนึ่งที่มองสถาบันวิชาชีพเหมือนแหล่งมั่วสุมของคนเกเร กลัวว่าถ้าส่งบุตรหลานให้เข้าไปเรียนแล้วมันจะยิ่งย่ำแย่ถึงขั้นกู่ไม่กลับ จึงยินดีที่รัฐมีนโยบายรับนักเรียนโรงเรียนเดิมเข้าเรียนชั้น ม.4 ทั้งหมด เพียงแค่หวังว่ารั้วโรงเรียนสามัญคงจะช่วยไม่ให้ลูกหลานของพวกเขาย่ำแย่ไปกว่านี้
แต่ทั้งหมดนั้นส่วนหนึ่งน่าจะเป็นการคิดแทนคนเรียน ซึ่งเมื่อเอาเข้าจริงการเรียนในโรงเรียนสายสามัญ ที่ต้องเรียนวิชาการเป็นหลักนั้น ก่อความเบื่อรำคาญแก่คนเรียน เพราะยิ่งเรียนยิ่งไม่ค่อยจะรู้เรื่องทั้งก็เพราะความรู้พื้นฐานของพวกเขาแทบไม่มีเหลืออยู่เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของภาษาที่เป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนขั้นสูง จะต้องใช้ความรู้เรื่องภาษาไปใช้ในการอ่านค้นคว้าหาความรู้ เมื่อไม่มีความคล่องแคล่วในเรื่องนี้การเรียนวิชาสามัญที่แม้จะแทบไม่ต้องเรียนวิชาคำนวณเลยก็ตามก็ไม่สามารถเรียนต่อไปได้
ที่สุดก็คือไม่เรียน..ไม่มีความสุขที่จะเรียน แถมอาจจะต้องถูกใครต่อใครโดยเฉพาะครูและพ่อ-แม่เองดุด่าว่ากล่าวตักเตือน ซึ่งก็ยิ่งเกิดปัญหาต่ออารมณ์ความรู้สึกของคนวัยรุ่น
ที่สุดพวกเขาก็ทิ้งการเรียน แสวงหาความสนุกสนานไปวันๆ ปล่อยเวลาผ่านไป 3 ปี ที่สุดก็ไม่สามารถจะจบหลักสูตรได้ เพราะว่าผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์เกือบทุกวิชา
เวลาที่ผ่านไปหลายคนอาจจะคิดว่าพวกเขาน่าจะคิดได้สำนึกดีตั้งแต่เรียนชั้น ม.5 แต่เพราะปัจจัยหลายๆอย่างนั่นแหละครับที่ทำให้พวกเขากว่าจะคิดได้มันก็สายเกินจะแก้ไข
ทั้งที่พ่อแม่ ผู้ปกครองก็รู้ ครูผู้สอนก็รู้
แต่ก็ไม่สามารถจะช่วยอะไรได้เพราะพวกเขาไม่อยากได้ใคร่ดีกับเรื่องการเรียนแล้ว.... แต่ก็อยากจะจบออกจากโรงเรียนไปพร้อมเพื่อนร่วมรุ่น
หลายๆคนพยายามดิ้นรนหาทางช่วยตนเอง โดยขอให้คนนั้นคนนี้ช่วย แต่เรื่องพรรณนี้ที่ผลการเรียนไม่ผ่านมากมายนี่ ช่วยยังไงก็ไม่มีทางหมดแน่ นอกจากต้องเรียนซ้ำชั้น
ถ้าพวกเขาคิดได้ว่าไหนๆก็เสียเวลาไม่เรียนมาตั้ง 3 ปี มาตั้งหน้าตั้งตาเรียนซ้ำสักปี แม้จะจบหลักสูตรไม่พร้อมรุ่นก็ยังดีกว่าไม่จบเลย
ที่เขียนมานี่เพราะเห็นปัญหาที่เกิดซ้ำซากรุ่นแล้วรุ่นเล่า ที่จะต้องมีเด็กๆที่ไม่อยากเรียนวิชาการ หากแต่ต้องการเรียนอยู่ในโรงเรียนเบญจมฯเท่านั้น สร้างปัญหาให้กับทั้งตนเอง และผู้ปกครอง ตลอดจนครูผู้สอน เหลืออยู่ในโรงเรียน
ความจริงแล้วเด็กเหล่านี้เสียโอกาสในการพัฒนาตนเอง ในเมื่อเขาไม่เก่งเรื่องวิชาการ พวกเขาน่าจะมีช่องทางเรียนอย่างอื่นที่เมื่อจบแล้วสามารถหางานทำเลี้ยงตนเองได้
จะบอกว่าเรื่องอย่างนี้เป็นอุทาหารณ์ให้กับท่านผู้ปกครองได้บ้างไหมว่า ท่านควรรู้จักทักษะความสามารถของบุตรหลานท่านด้วยว่าเด็กๆในปกครองของท่านั้นมีความสามารถในเรื่องอะไร
วิชาการ หรือวิชาชีพ
เมื่อรู้แล้วควรส่งเสริมพวกเขาให้ถูกทาง... จะได้ไม่ต้องให้พวกเขามาเสียเวลา เสียโอกาสในชีวิตช่วงหนึ่ง
ช่วยกันนะครับ...สอนให้พวกเขารู้จักตนเอง รู้จักความสามารถของตนเอง และเมื่อเขารู้แล้วพวกเขาน่าจะสามารถเรียนรู้ไปได้จนสุดทางชีวิตของพวกเขา
ณรงค์ นันทวิจิตร : เขียน
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< February 2025 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)