:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ขอคิดด้วยคน » พระพุทธเจ้าที่เราไม่รู้จัก...
พระพุทธเจ้าที่เราไม่รู้จัก...
วันนี้(1 มิถุนายน 2558 วันวิสาขบูชา)ได้มีโอกาสเปิดอ่านบทความเผยแพร่เกี่ยวกับเรื่องวันวิสาขบูชาที่พระอาจารย ไพรวัลย์ วรรณบุตร ได้เขียนไว้ในเฟสบุ๊คส่วนตัวของท่าน ภายใต้หัวข้อ พระพุทธเจ้าที่เราไม่รู้จัก จึงได้ขอคัดลอกบทความของท่านทั้งหมดมาให้ท่านสาธุชน ครูบาอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษาได้อ่าน.... อยากให้ท่านได้อ่านให้จบพร้อมใช้สติปัญญาพิจารณาตามไปด้วยว่าควรเป็นเช่นนั้นหรือไม่

**************************

ไพรวัลย์ วรรณบุตร
บทความเนื่องในวันวิสาขบูชา

พระพุทธเจ้าที่เราไม่รู้จัก

เมื่อถึงวันวิสาขบูชาในแต่ละปี ก็จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าครั้งใหญ่กันทีหนึ่ง และกิจกรรมวันวิสาขะนี้ ดูจะได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมของชาวพุทธมากกว่ากิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาอื่นๆ อย่างวันอาสาฬหะหรือวันมาฆะ ที่ดูเหมือนว่า คนพุทธสมัยใหม่ แทบจะไม่รู้จักที่มาที่ไปหรือเนื้อหาสาระของวันเหล่านี้กันเสียแล้ว บ้างก็จำสับสนกันระหว่างวันอาสาฬหะกับวันมาฆะ เอาวันมาฆะเป็นวันอาสาฬหะ มั่วไปหมด

อนึ่ง เมื่อกล่าวถึงวันวิสาขะ ชาวพุทธทั่วโลก ไม่จำเพาะแค่คนไทยเท่านั้น ควรจะต้องก้มหัวให้กับคนศรีลังกา ที่สามารถเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ให้รองรับวันดังกล่าว เป็นวันสำคัญสากลของโลกได้สำเร็จอย่างเป็นเอกฉันท์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา โดยการให้เหตุผลว่า พระพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนให้มวลมนุษย์มีกรุณาธรรมและขันติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ตลอดจนถึงสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม อันสอดคล้องกับแนวทางของสหประชาชาติ ที่มุ่งเน้นในเรื่องของสันติภาพเป็นสำคัญ ทั้งศาสนาของพระองค์ยังเปิดกว้าง ให้ผู้คนเข้ามาพิสูจน์และทดลองได้ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นศาสนิกก็ตาม

นี่คือสิ่งที่เราจะต้องตระหนักให้มากเวลาที่จะพูดถึงความสำคัญสากลของวันวิสาขบูชา เราควรจะต้องรู้ว่า คนต่างศาสนาเขาให้ความยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าของเราในฐานะและบทบาทอะไร อะไรคือความเป็นสากลในสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านทรงทำต่อมวลมนุษยชาติ จนแม้แต่คนต่างศาสนาต้องยอมรับและให้การสดุดียกย่องต่อพระองค์ หาใช่เอาแต่หลงคิดไปว่า การที่เขาให้ความสำคัญนี้ เพราะเขาเห็นความอัศจรรย์ที่คนคนหนึ่งสามารถ เกิด ตรัสรู้ และตาย ในวันเดียวเดือนเดียวกันได้เท่านั้น



ในวันวิสาขะ อัตถะที่กล่าวถึงการประสูติตรัสรู้และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งหนึ่งที่ยืนยันให้เห็นได้ชัดว่า ในวิถีชีวิตของคนคนหนึ่งที่เป็นถึงพระพุทธเจ้า ไม่ได้มีอะไรที่ลึกลับหรือวิจิตรพิศดารอยู่เลย สถานที่อันเกี่ยวข้องกับการประสูติตรัสรู้และปรินิพพานของพระองค์ที่มองดูเหมือนว่าน่าอัศจรรย์เพราะเกิดในวันและเดือนที่เหมือนกันนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นแค่ป่าเขาลำเนาไพรทั้งสิ้น หาใช่พระราชวัง หรือสัณฐาคารอันใหญ่โตไม่ และยิ่งวิถีชีวิตหลังการออกผนวชด้วยแล้ว จะหาความสุขสบายทางกายอย่างที่ควรจะได้รับ ในฐานะของโอรสกษัตริย์ แทบไม่มีเลย

เป็นที่น่าเสียดายอย่างหนึ่งว่า ทุกวันนี้เวลาที่เราศึกษาพุทธประวัติ เราศึกษาแต่ความยิ่งใหญ่ ศึกษาแต่ความวิจิตรพิศดารต่างๆของพระพุทธเจ้า ดั่งการเริ่มเล่าถึงการประสูติ ก็ฉายภาพแต่ครั้งเมื่อเป็นโพธิสัตว์เทพบุตรที่เสวยสุขอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตโน่น แทนที่จะกล่าวถึงเทือกเขาเหล่ากอ และความเป็นมาแห่งต้นตระกูลของพระองค์อย่างละเอียด อันจะช่วยให้เราเข้าใจถึงระบบความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของคนในยุคก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประสูติได้บ้าง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการศึกษาประวัติของพระองค์

นี่จึงไม่แปลกเลยที่พุทธประวัติ ฉบับซึ่งพระเณรเรียนกันอยู่นี่ จะขาดอรรถรส และไร้ซึ่งองค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของระบบสังคมอินเดียในสมัยพุทธกาล ภาพความเป็นผู้ที่เต็มไปด้วยความอัศจรรย์และปาฏิหาริย์ตลอดเรื่องราวที่ปรากฎในพระพุทธประวัติ ซึ่งเราศึกษากันอยู่นี้ ดูจะขัดแย้งกับหลักธรรมที่เรียบง่ายซึ่งมีไว้เพื่อการการสลายอัตตาอย่างสิ้นเชิง

การให้ค่ากับการเป็นพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีมาอย่างเต็มที่แล้วของพระพุทธเจ้า ทำให้เราลืมที่จะให้ความสนใจกับรายละเอียดของการดิ้นรนต่อสู้ในการปลดเปลื้องอิสรภาพทางจิตวิญญาณให้กับตนเองของเจ้าชายสิตธัตถะ ดั่งที่เรามักเห็นในตำราว่า เวลาพระโพธิสัตว์มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ก็จะต้องมีเทวดาเข้ามาเกี่ยวข้องช่วยเหลืออยู่เสมอ เสมือนหนึ่งว่าพระองค์ไม่มีศักยภาพด้วยตัวของพระองค์เอง พระปัญญาและพระกรุณาของพระองค์ที่เรายกย่องกันหนักหนา ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ถูกทำให้ปรากฎเห็นชัดสักเท่าไหร่เลย

เรื่องของพระอินทร์ที่มาดีดพิณสามสายให้เลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยการอ้างของพระอรรถกถาจารย์ และเรื่องของท้าวสหัมบดีพรหมที่มาทูลเชิญให้แสดงธรรมเป็นตัวอย่างในกรณีเหล่านี้ได้ดี หากลองคิดต่างออกไป แทนที่จะเชื่อโดยไม่ตั้งคำถาม นี่ไม่ใช่เป็นเพราะว่า พุทธประวัติฉบับที่เราศึกษากันอยู่นี้ให้ความสำคัญกับเรื่องของบุคคลาธิฐานมากไปหรอกหรือ เพราะหากเราเลิกให้ความสำคัญกับเรื่องของบุคคลาธิฐานเสียบ้าง แล้วเข้าถึงธรรมาธิฐานให้มากกว่านี้ บางทีเราอาจมองเห็นอะไรต่อมิอะไรเกี่ยวกับเรื่องราวในพุทธประวัติได้ลึกซึ้งกว่าที่เป็นอยู่ก็ได้

บางทีเราอาจตีความได้ไหมว่า ท้าวสหัมบดีพรหมที่มาทูลเชิญให้แสดงธรรม ที่จริงแล้วก็คือพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์เอง ที่กระตุ้นเตือนให้พระองค์ทำหน้าที่ของความเป็นพุทธะให้บริบูรณ์ ด้วยการต้องแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ อันเป็นหน้าที่ของผู้เป็นพระพุทธเจ้าที่จะทรงหลีกหนีมิได้ ดังเรื่องของพระอินทร์ที่มาดีดพิณสามสายก็เหมือนกัน บางทีเราอาจตีความได้ไหมว่า นั่นคือพระปัญญาธิคุณของพระองค์เอง ที่กระตุ้นเตือนพระองค์ให้มองเห็นทางสายกลางที่จะนำพระองค์ไปสู่การตรัสรู้ มิได้มีเทพเทวาที่ไหนเลย ที่จะมาเป็นที่พึงคอยช่วยเหลือให้แก่พระองค์ได้ การจะเป็นพระพุทธเจ้าทั้งที แต่ยังต้องคอยให้คนอื่นมากระตุ้นเตือนอยู่บ่อยบ่อย ดูจะไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไหร่เลย

ที่จริงในพุทธประวัติยังมีอีกหลายเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ที่ควรค่าแก่การตีความให้เป็นธรรมาธิฐาน อย่างเรื่องของวันเทวโวโรหณะ หรือวันพระเจ้าเปิดโลก ที่เราเข้าใจกัน ที่ว่าพระพุทธเจ้าขึ้นไปแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา แล้วเมื่อคราวที่จะเสด็จลงมา ทรงบันดาลให้สามโลกเสมอกันสามารถเห็นกันได้หมด เราจะตีความได้ไหมว่า การเปิดโลกที่ว่านี้ อย่างการทำให้นรกสวรรค์เป็นสิ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าของมนุษย์ทุกคน คือการทำลายกำแพงขวางกั้นแห่งระบบชนชั้นวรรณะของพระพุทธเจ้า การทำให้มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพเท่าเทียมกัน และมีความเสมออย่างเท่าเทียมกันหมด เมื่ออยู่ต่อหน้าของสัจธรรม มนุษย์มีศักยภาพที่จะฝึกฝนตนเองให้ขึ้นสู่ที่สูง หรือปล่อยปละละเลยตนเองให้ลงสู่ที่ต่ำก็ได้

ในทรรศนะของอาตมามองว่า การหลงเชื่อตำราทั้งหมดบางครั้งก็ทำให้เราได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดและไม่ครบถ้วนได้เหมือนกัน อย่างกรณีของการเสด็จออกบวชนั้น ที่เราเข้าใจว่า ทรงหนีออกบวชในยามราตรี นี่ก็ขัดแย้งกับพุทธพจน์อย่างสิ้นเชิง ที่ตรัสด้วยพระองค์เองว่า เสด็จออกซึ่งหน้า ทั้งที่พระมารดาและพระบิดาไม่ปรารถนา พากันกรรแสงร้องไห้ น้ำตานองหน้าอยู่ ไม่ได้ทรงหนีบวชอย่างที่เราเข้าใจกัน มากไปกว่านั้น ในบางตำรายังบอกว่า เหตุผลที่จริงของการออกบวช ไม่ใช่เพราะว่าทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูต แต่เป็นเพราะว่า ทรงขัดแย้งกับพระราชนิกูล และแพ้โหวตในสภา เกี่ยวกับเรื่องของสงครามการแบ่งน้ำ

เรื่องเหล่านี้ ไม่มีพูดถึงเลย ในตำราพุทธประวัติกระแสหลัก ใครจะรู้บ้างว่า เมืองกบิลพัสดุ์ ที่ดูเหมือนยิ่งใหญ่ แท้ที่จริงแล้วเป็นแค่ประเทศราช ภายใต้อาณัติของเจ้าแผ่นดินแคว้นโกศล และใช้ระบบหมุนเวียน เลือกกษัตริย์ขึ้นครองราชย์ตามวาระ เท่านั้น ทั้งยังใช้เกณฑ์เสียงข้างมากจากสภาในการตัดสินเรื่องราวต่างๆ เรื่องนี้ ดูจะสอดคล้องกับวิธีการระงับอธิกรณ์ที่เรียกว่า เยภุยยสิกา ซึ่งพระพุทธเจ้านำมาใช้กับสังคมสงฆ์ในภายหลังอีก

ที่จริงมีสิ่งที่อยากจะเขียนมากกว่านี้ แต่ก็กลัวว่าจะลากยาวจนเลยเถิดไปจากเรื่องที่พูดถึงอยู่ จึงขอกลับมาพูดถึงเรื่องของพระพุทธเจ้าต่อ อาตมาสังเกตว่า สิ่งหนึ่งของความเป็นมนุษย์ปกติที่พระพุทธเจ้ามี นอกเหนือจากการเป็นเอกบุรุษของโลกในวรรณกรรมทางศาสนา ที่ไม่ว่าจะทรงกระทำการใดก็ให้สำเร็จดั่งประสงค์ไปเสียทั้งหมด นั่นก็คือการต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของพระไตรลักษณ์เฉกเช่นเดียวกับมนุษย์คนอื่น นี่เป็นความแตกต่างชัดเจน ระหว่างศาสดาของพุทธศาสนากับศาสดาของศาสนาอื่นๆ ที่มักถูกสร้างให้เป็นผู้มีความเป็นอมตะนิรันดร์กาล และอยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ใดใดทั้งสิ้น ทั้งยังมีอำนาจสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆขึ้นมาอีก ความเป็นพุทธเจ้า ไม่ได้ทำให้กายภาพของพระองค์วิเศษวิโสไปกว่าคนอื่น เรื่องราวในพุทธประวัติ เป็นเครื่องยืนยันถึงสิ่งเหล่านี้ได้ดี

ว่ากันว่า แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ยังทรงมีโรคประจำพระวรกาย ความเป็นพระพุทธเจ้า ไม่ได้ช่วยให้กายภาพของพระองค์ล่วงพ้นอำนาจของพยาธิไปได้ โรคที่ว่านี้ มีชื่อว่า ปักขันธิกาพาธ หรือโรคถ่ายเป็นเลือด โรคนี้มีผลมาจากเมื่อคราวการบำเพ็ญทุกกรกิริยาถึง ๖ ปี ที่ทำให้ระบบขับถ่ายภายในพระวรกายของพระองค์ผิดปกติ ที่มากำเริบหนักสุดก็เมื่อคราวฉันเห็ดพิษของนายจุนทะ ว่ากันว่าเกือบจะทำให้ทรงดับขันธ์ปรินิพพานเสียตอนนั้นเลยทีเดียว แต่ก็ยังทรงขันติคุณอดกลั้นเวทนาเอาไว้ เพื่อจะไปยังเมื่อกุสินารา สถานที่ที่ทรงตัดสินพระทัยแล้วว่าจะปรินิพพานที่นี่

อีกเรื่องหนึ่งที่ยืนยันความเป็นมนุษย์ปกติของพระพุทธเจ้าได้ดี และเราอาจไม่เคยได้รู้มาก่อน ก็คือว่า พระองค์ก็ทรงชราภาพเหมือนคนแก่คนอื่นๆ ทั่วไป ในวัย ๘๐ ปี ดั่งที่พระอานนท์เคยทูลเรื่องนี้กับพระองค์ว่า เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์และไม่เคยมีมาก่อน ที่บัดนี้ ฉวีวรรณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนแต่ก่อน พระวรกายก็เหี่ยวย่นหย่อนยาน มีหลังค่อม หู ตา จมูก ลิ้น ก็เปลี่ยนไปหมด แต่แม้ว่าพระวรกายจะทรงชราภาพไปตามกาลเวลา สิ่งหนึ่งที่ยังทรงมีบริบูรณ์ดั่งเดิมเสมอนั่นก็ตือ พระสติปัญญา ทรงเคยตรัสบอกพระอานนท์ว่า ถึงจะทรงมีพระชันษา ๘๐ แต่พระสติปัญญา หาได้ฟั่นเฟื่อนไปตามพระชันษาไม่

คนอย่างพระพุทธเจ้า ที่บำเพ็ญปรหิตประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างเดียว ตั้งแต่หลังการได้ตรัสรู้ แม้จะเป็นระยะเวลาไม่มากนักเพียงแค่ ๔๕ พรรษากาล แต่ก็ได้ก่อให้เกิดคุณูปการนับไม่ถ้วน ทรงเผยแผ่พระธรรมให้เป็นแก่นสาร และก่อตั้งสังคมสังฆะให้เป็นแบบอย่าง เพื่อที่จะปูทางแห่งสันติสุขให้กับมวลมนุษย์ ทรงเป็นแบบอย่างของมนุษย์ธรรมดาที่มีวิถีชีวิตอันเรียบง่าย แต่สามารถทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ในการปลดเปลื่องความทุกข์ให้กับใครต่อใครได้เป็นอเนกอนันต์ พระอัสสาสะและพระปัสสาสะ (ลมหายใจเข้าออก) มีแต่เพื่อการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เท่านั้น พระปณิธานที่ทรงตั้งไว้ แต่ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ในอดีตชาติก่อนหน้า ที่จะขนถ่ายมวลสัตว์ให้ข้ามพ้นจากวัฏฏะสงสาร มิได้เหือดแห้งไปเลย

การมีชีวิตอยู่เพื่อคนอื่นนั้น เห็นได้แม้แต่จากการที่ถึงจะทรงมีอาพาธหนักบรรทมจวนใกล้จะดับขันธ์ ก็ยังโปรดให้สุภัททปริพาชกเข้าเฝ้าทูลถามปัญหา อย่างที่ไม่ได้ทรงดำริว่าเป็นการรบกวน หรือแม้จากการที่ทรงเลือกเอาเมืองกุสินารา ซึ่งเป็นแค่เมืองเล็กเล็ก ไว้ก่อนหน้าที่จะปรินิพพาน ก็ด้วยมีพระกรุณา ไม่ปรารถนาให้ผู้อยู่หนหลังต้องมาเข่นฆ่าสังหารกัน เพราะพระบรมสารีริกธาตุนั้นเป็นเหตุ

ในปัจฉิมกาลสุดท้าย ก่อนที่ใกล้จะเสด็จลาลับดับขันธ์จนถึงปรินิพพานเต็มที่แล้ว ก็ยังมิทรงลืมที่จะประทานโอวาท กล่าวเตือนหมู่แห่งภิกษุอันเป็นหน่อเนื้อเชื้อศากยบุตรของพระองค์ว่า หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบัดนี้เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด

นี่เป็นพระดำรัสสุดท้าย เพราะหลังจากที่สิ้นพระสุรเสียงนี้แล้ว ก็ไม่มิได้เอ่ยตรัสคำใดอีก บรรทมนิ่ง จวบจนปรินิพพพาน อันเป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ของความเป็นพระพุทธเจ้า พุทธกิจที่ทรงสู้ลำบากบำเพ็ญมาถึง ๔๕ ปี ได้จบบริบูรณ์แล้ว
Comments
No Comments have been Posted.
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< September 2023 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
        1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30  

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 27 2024 20:25:33