:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
กระจายอำนาจสู่โรงเรียน...ฝันจริงหรือฝันค้าง
ค้างคาใจกับข่าวคราวเรื่องกระทรวงศึกษากำหนดให้มีการให้ความรู้แก่ผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่กำหนดให้เป็นโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงการกระจายอำนาจสู่โรงเรียน จำนวน 609 แห่ง ...เหตุที่ค้างคาใจเพราะไม่แน่ใจว่าความเป็นจริงแล้วมอบอำนาจให้จริงหรือไม่ และมอบมาแค่ไหน
ผมอ่านรายงานของการเสวนาเรื่องนี้ของ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศูนย์ศาลายา โดยมี อาจารย์ ดร.เก็จกนก เอื้อวงศ์ เป็นที่ปรึกษา
ผลจากการเสวนาย่อยครั้งนี้ สรุปได้ว่าการกระจายอำนาจทั้ง 4 ด้านนั้น
ด้านวิชาการ เป็นด้านที่โรงเรียนแต่ละแห่งสามารถทำได้อย่างดีเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาวิชาชีพ จะมีปัญหาเฉพาะเรื่องการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ ที่ครูมองว่าจะเป็นการจัดอบรมให้ความรู้ ซึ่งแนวทางแก้ไข คือ อาจใช้การส่งเสริมผ่านสื่ออิเลคทรอนิคส์หรือในรูปวารสาร จุลสารวิชาการ,
ด้านการบริหารทั่วไป เป็นด้านที่โรงเรียนสามารถปฎิบัติดีรองจากด้านวิชาการ โดยปัญหาในด้านนี้ คือ การวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผน ที่ต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถและมีเวลาและด้านการประสานการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัยที่ครูกลัวว่าจะเพิ่มภาระงาน รวมถึงยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย,
ส่วนด้านการบริหารงานบุคคล แม้จะเป็นภาระงานที่โรงเรียนทุกแห่งดำเนินการอยู่แล้ว แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตรากำลัง คือ การจัดสรรอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แม้โรงเรียนจะทำได้แต่ถ้าขาดงบประมาณก็คงดำเนินการไม่ได้ รวมถึงอาจได้ครูไม่ตรงตามความต้องการ และด้านการสรรหาและบรรจุหากดำเนินการผ่านโรงเรียนอาจจะเกิดระบบเส้นสายขึ้นได้
ส่วนด้านที่ครูมองว่ามีปัญหาและอุปสรรคมากที่สุดคือ ด้านงบประมาณ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินและระเบียบ ซึ่งต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทาง เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง รวมถึงการกำหนดรูปแบบรายการครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง ซึ่งต้องใช้ผู้มีความรู้
การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษานับเป็นเรื่องที่ดี แสดงให้เห็นถึงความมีวิสัยทัศน์ของผู้ใหญ่ในกระทรวง ที่ช่วยให้สถานศึกษา มีอิสระในการบริหารจัดการ สามารถยืนบนขาของตัวเอง แต่สิ่งที่เป็นห่วง คือ
1. ผลพวงจากการกระจายอำนาจจะส่งผลให้สถานศึกษาที่มีชื่อเสียงหรือโรงเรียนดัง สามารถกำหนดค่าบำรุงการศึกษาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นได้
2. สิ่งสำคัญเมื่อกระจายอำนาจแล้ว กระทรวงต้องให้อัตรากำลังเพื่อบรรจุบุคลากรทางการศึกษาเฉพาะทาง เพราะหากไม่มีอัตรากำลังให้โรงเรียนแล้ว คงกลายเป็นฝันค้างที่ไม่มีทางเป็นจริงแน่ทีเดียว
ในส่วนตัวผมก็ชักสับสนว่า ศธ. ทำเรื่องกระจายอำนาจ แล้วเรื่องการโอนโรงเรียนไปสังกัด อปท. จะทำอย่างไร มันคนละเรื่องใช่หรือไม่....
คิดไปคิดมาเลยคิดได้ว่าผมนี้โชคดีจริงหนอ ที่จะพ้นความสับสนในอีกไม่กี่ร้อยวันข้างหน้านี้แล้ว....
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< November 2023 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)