:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ขอคิดด้วยคน » กระจายอำนาจสู่โรงเรียน...ฝันจริงหรือฝันค้าง
กระจายอำนาจสู่โรงเรียน...ฝันจริงหรือฝันค้าง
ค้างคาใจกับข่าวคราวเรื่องกระทรวงศึกษากำหนดให้มีการให้ความรู้แก่ผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่กำหนดให้เป็นโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงการกระจายอำนาจสู่โรงเรียน จำนวน 609 แห่ง ...เหตุที่ค้างคาใจเพราะไม่แน่ใจว่าความเป็นจริงแล้วมอบอำนาจให้จริงหรือไม่ และมอบมาแค่ไหน

ผมอ่านรายงานของการเสวนาเรื่องนี้ของ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศูนย์ศาลายา โดยมี อาจารย์ ดร.เก็จกนก เอื้อวงศ์ เป็นที่ปรึกษา

ผลจากการเสวนาย่อยครั้งนี้ สรุปได้ว่าการกระจายอำนาจทั้ง 4 ด้านนั้น

ด้านวิชาการ เป็นด้านที่โรงเรียนแต่ละแห่งสามารถทำได้อย่างดีเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาวิชาชีพ จะมีปัญหาเฉพาะเรื่องการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ ที่ครูมองว่าจะเป็นการจัดอบรมให้ความรู้ ซึ่งแนวทางแก้ไข คือ อาจใช้การส่งเสริมผ่านสื่ออิเลคทรอนิคส์หรือในรูปวารสาร จุลสารวิชาการ,

ด้านการบริหารทั่วไป เป็นด้านที่โรงเรียนสามารถปฎิบัติดีรองจากด้านวิชาการ โดยปัญหาในด้านนี้ คือ การวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผน ที่ต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถและมีเวลาและด้านการประสานการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัยที่ครูกลัวว่าจะเพิ่มภาระงาน รวมถึงยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย,

ส่วนด้านการบริหารงานบุคคล แม้จะเป็นภาระงานที่โรงเรียนทุกแห่งดำเนินการอยู่แล้ว แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตรากำลัง คือ การจัดสรรอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แม้โรงเรียนจะทำได้แต่ถ้าขาดงบประมาณก็คงดำเนินการไม่ได้ รวมถึงอาจได้ครูไม่ตรงตามความต้องการ และด้านการสรรหาและบรรจุหากดำเนินการผ่านโรงเรียนอาจจะเกิดระบบเส้นสายขึ้นได้

ส่วนด้านที่ครูมองว่ามีปัญหาและอุปสรรคมากที่สุดคือ ด้านงบประมาณ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินและระเบียบ ซึ่งต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทาง เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง รวมถึงการกำหนดรูปแบบรายการครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง ซึ่งต้องใช้ผู้มีความรู้

การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษานับเป็นเรื่องที่ดี แสดงให้เห็นถึงความมีวิสัยทัศน์ของผู้ใหญ่ในกระทรวง ที่ช่วยให้สถานศึกษา มีอิสระในการบริหารจัดการ สามารถยืนบนขาของตัวเอง แต่สิ่งที่เป็นห่วง คือ

1. ผลพวงจากการกระจายอำนาจจะส่งผลให้สถานศึกษาที่มีชื่อเสียงหรือโรงเรียนดัง สามารถกำหนดค่าบำรุงการศึกษาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นได้
2. สิ่งสำคัญเมื่อกระจายอำนาจแล้ว กระทรวงต้องให้อัตรากำลังเพื่อบรรจุบุคลากรทางการศึกษาเฉพาะทาง เพราะหากไม่มีอัตรากำลังให้โรงเรียนแล้ว คงกลายเป็นฝันค้างที่ไม่มีทางเป็นจริงแน่ทีเดียว


ในส่วนตัวผมก็ชักสับสนว่า ศธ. ทำเรื่องกระจายอำนาจ แล้วเรื่องการโอนโรงเรียนไปสังกัด อปท. จะทำอย่างไร มันคนละเรื่องใช่หรือไม่....

คิดไปคิดมาเลยคิดได้ว่าผมนี้โชคดีจริงหนอ ที่จะพ้นความสับสนในอีกไม่กี่ร้อยวันข้างหน้านี้แล้ว....
Comments
No Comments have been Posted.
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< November 2024 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
        1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30  

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 22 2024 22:01:22