:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
ประเมินความรู้นร.ไทยเกือบรั้งท้าย
เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. โครงการ PISA (Programme for International Student Assessment) ซึ่งเป็นโครงการสำรวจความรู้และทักษะการเรียนของเด็กอายุ 15 ปี ในประเทศสมาชิกขององค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) และประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่ไม่ใช่สมาชิก เรียกว่าประเทศร่วมโครงการ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการมาตั้งแต่ปี 2543 ได้เปิดเผยผลประเมินสมรรถนะของนักเรียนอายุ 15 ปี จาก 57 ประเทศ จำนวนกว่า 4 แสนคน พบว่า ในส่วนของประเทศไทยนักเรียนไทยมีเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่มีผลการประเมินทุกด้านที่มีผลเทียมทันกับนักเรียนจากประเทศกลุ่มสมาชิก OECD นั่นคือนักเรียนจากโรงเรียนสาธิต ส่วนกลุ่มอื่นๆ อยู่ในระดับอ่อนมาก โดยเฉลี่ยคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนไทยอยู่ในระดับที่ต้องการดูแลจากทุกฝ่ายเพื่อยกระดับอย่างเร่งด่วน
โครงการ PISA ชี้ว่าในการประเมินรอบปี 2006 หลายประเทศมีผลการประเมินสูงขึ้น นับตั้งแต่ ค.ศ.2000 เป็นต้นมา เช่น เกาหลี มีคะแนนการอ่านเพิ่มสูงขึ้นมาก และเป็นการเพิ่มให้นักเรียนกลุ่มคะแนนสูง ทำให้ช่องว่างระหว่างนักเรียนเก่งกับนักเรียนอ่อนยิ่งกว้างออกไป ขณะที่โปแลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีคะแนนเพิ่มสูงขึ้นมาก และเป็นการเพิ่มในกลุ่มนักเรียนที่เป็นกลุ่มอ่อน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาของโปแลนด์ แต่สำหรับนักเรียนไทยกลับมีคะแนนที่ลดลง ทั้งๆ ที่มีการปฏิรูปการศึกษาเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้เกาหลีมีคะแนนการอ่านเป็นอันดับ 1 สูงกว่าฟินแลนด์ซึ่งเคยมีคะแนนการอ่านเป็นอันดับ 1 แต่ในครั้งนี้ตกลงมาอยู่อันดับ 2 ตามด้วยจีน-ฮ่องกง แคนาดา และนิวซีแลนด์ ส่วน 5 อันดับประเทศที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ย OECD เรียงตามลำดับได้แก่ ไอร์แลนด์ ออสเตรเลีย โปแลนด์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม สวิตเซอร์แลนด์ สำหรับประเทศไทยมีคะแนนค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD โดยอยู่ในอันดับ ประมาณ 41-42 จาก 57 ประเทศ
นอกจากนี้ผลการประเมินยังชี้ว่า นักเรียนแต่ละประเทศรู้เรื่องวิทยาศาสตร์แตกต่างกันมาก นักเรียนจากฟินแลนด์มีคะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยจีน ฮ่องกง แคนาดา จีน ไทเป เอสโทเนีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ย OECD เรียงตามลำดับได้แก่ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ เกาหลี เยอรมนี สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐเช็ก สวิตเชอร์แลนด์ ออสเตรีย เบลเยียม และไอร์แลนด์ ส่วนประเทศไทยมีคะแนนด้านวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ย โดยนักเรียนไทยถึง 47% ที่รู้วิทยาศาสตร์ต่ำกว่าระดับพื้นฐาน และมีเพียงหนึ่งในร้อยคนเท่านั้นที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในระดับสูง.
Please Login to Post a Comment.
<< October 2022 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)