:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ขอคิดด้วยคน » ประเมินความรู้นร.ไทยเกือบรั้งท้าย
ประเมินความรู้นร.ไทยเกือบรั้งท้าย
เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. โครงการ PISA (Programme for International Student Assessment) ซึ่งเป็นโครงการสำรวจความรู้และทักษะการเรียนของเด็กอายุ 15 ปี ในประเทศสมาชิกขององค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) และประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่ไม่ใช่สมาชิก เรียกว่าประเทศร่วมโครงการ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการมาตั้งแต่ปี 2543 ได้เปิดเผยผลประเมินสมรรถนะของนักเรียนอายุ 15 ปี จาก 57 ประเทศ จำนวนกว่า 4 แสนคน พบว่า ในส่วนของประเทศไทยนักเรียนไทยมีเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่มีผลการประเมินทุกด้านที่มีผลเทียมทันกับนักเรียนจากประเทศกลุ่มสมาชิก OECD นั่นคือนักเรียนจากโรงเรียนสาธิต ส่วนกลุ่มอื่นๆ อยู่ในระดับอ่อนมาก โดยเฉลี่ยคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนไทยอยู่ในระดับที่ต้องการดูแลจากทุกฝ่ายเพื่อยกระดับอย่างเร่งด่วน

โครงการ PISA ชี้ว่าในการประเมินรอบปี 2006 หลายประเทศมีผลการประเมินสูงขึ้น นับตั้งแต่ ค.ศ.2000 เป็นต้นมา เช่น เกาหลี มีคะแนนการอ่านเพิ่มสูงขึ้นมาก และเป็นการเพิ่มให้นักเรียนกลุ่มคะแนนสูง ทำให้ช่องว่างระหว่างนักเรียนเก่งกับนักเรียนอ่อนยิ่งกว้างออกไป ขณะที่โปแลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีคะแนนเพิ่มสูงขึ้นมาก และเป็นการเพิ่มในกลุ่มนักเรียนที่เป็นกลุ่มอ่อน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาของโปแลนด์ แต่สำหรับนักเรียนไทยกลับมีคะแนนที่ลดลง ทั้งๆ ที่มีการปฏิรูปการศึกษาเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้เกาหลีมีคะแนนการอ่านเป็นอันดับ 1 สูงกว่าฟินแลนด์ซึ่งเคยมีคะแนนการอ่านเป็นอันดับ 1 แต่ในครั้งนี้ตกลงมาอยู่อันดับ 2 ตามด้วยจีน-ฮ่องกง แคนาดา และนิวซีแลนด์ ส่วน 5 อันดับประเทศที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ย OECD เรียงตามลำดับได้แก่ ไอร์แลนด์ ออสเตรเลีย โปแลนด์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม สวิตเซอร์แลนด์ สำหรับประเทศไทยมีคะแนนค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD โดยอยู่ในอันดับ ประมาณ 41-42 จาก 57 ประเทศ

นอกจากนี้ผลการประเมินยังชี้ว่า นักเรียนแต่ละประเทศรู้เรื่องวิทยาศาสตร์แตกต่างกันมาก นักเรียนจากฟินแลนด์มีคะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยจีน ฮ่องกง แคนาดา จีน ไทเป เอสโทเนีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ย OECD เรียงตามลำดับได้แก่ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ เกาหลี เยอรมนี สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐเช็ก สวิตเชอร์แลนด์ ออสเตรีย เบลเยียม และไอร์แลนด์ ส่วนประเทศไทยมีคะแนนด้านวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ย โดยนักเรียนไทยถึง 47% ที่รู้วิทยาศาสตร์ต่ำกว่าระดับพื้นฐาน และมีเพียงหนึ่งในร้อยคนเท่านั้นที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในระดับสูง.
Comments
#1 | rong_nan on December 08 2007 23:54:01
โครงการเร่งด่วนที่โรงเรียนจะต้องรีบดำเนินการนั่นคือ โครงการรักการอ่าน จะต้องกำหนดให้เป็นวาระแห่งโรงเรียน ครูและนักเรียนจะต้องเป็นนักอ่านให้มากขึ้น

ทุกสาระจะต้องกำหนดเป้าหมาย และกลยุทธ์ ในการที่จะทำให้เกิดการรักการอ่านที่เห็นเป็นรูปธรรม มิใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกลุ่มสาระที่เกี่ยวกับภาษาโดยเฉพาะแต่ฝ่ายเดียว....

เพราะการอ่านคือหัวใจของการเรียนรู้

ผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาต่าง ๆ ที่ยังต่ำอยู่นั้นเป็นเพราะเรื่องที่ทุกคนอ่านน้อยนี่เอง
#2 | rong_nan on December 09 2007 02:17:42
ขอเสนอความเห็นก่อน..ใน OK Nation Block

ในเรื่องทั้งหมดที่เป็นปัญหาของนักเรียนไทยในยุคนี้คือ เรื่องที่นักเรียนส่วนมากอ่านหนังสือน้อย แทบจะเรียกได้ว่าวันๆอ่านหนังสือไม่กี่บรรทัด

เมื่อเป็นอย่างนี้ความรู้ที่น้อยอยู่แล้วก็ยิ่งน้อยลงไปอีก ดังนั้นในเรื่องนี้กระทรวงศึกษาธิการ และสพฐ. ควรที่จะต้องกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติเรื่องรักการอ่านให้กับโรงเรียนถือปฏิบัติ เพื่อนำไปจัดกิจกรรมรักการอ่านในโรงเรียนให้เกิดเป็นรูปธรรม มิใช่จัดกิจกรรมเพื่อโชว์ไปวัน ๆ โดยไม่มีเป้าหมายอย่างที่ผ่านๆมา

ส่งเสริมการสอนทักษะภาษาไทยและภาษาที่ 2 ให้กับเด็กไทย ให้มีความสามารถอ่านออกเขียนได้อย่างดี เพราะนี่คือพื้นฐานของการที่นักเรียนจะต้องใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ต่อไปจากการอ่านการเขียน

ที่ผ่านมาในรอบนานเป็นทศวรรษ ยิ่งเรียนยิ่งมีจำนวนนักเรียนอ่านเขียนหนังสือไม่คล่องเพิ่มมากขึ้น ซ้ำร้ายนักเรียนบางคนอ่านเขียนหนังสือแทบไม่ได้เลยก็ยังมี

เรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ชั้นประถม จนจบมหาวิทยาลัย บางคน(จำนวนมาก) ยังพูดกับฝรั่งไม่ได้ก็ยังมีให้เห็นมากมาย

ถึงเวลาแล้วละครับที่จะต้องมาทบทวนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในระบบโรงเรียนให้มาก ทุ่มเทลงทุนเพื่อการศึกษาของเด็กเยาวชนให้เกิดผลดี ลงทุนไปเถอะครับ ผมคนหนึ่งและเชื่อว่าพ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนยินดีที่จะจ่ายภาษีให้กับเรื่องนี้..... อย่ามัวแต่จดจ้องอยู่เลย...เพราะอ่านข่าวเรื่องนี้วันนี้แล้ว บอกตรงๆผมกลัวว่าลูกหลานของผมในประเทศนี้จะด้อยพัฒนา เดินตามประเทศเพื่อนบ้านไม่ทันครับ
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< March 2025 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
          1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
31            

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 23 2024 04:50:21