:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ขอคิดด้วยคน » พ.ร.บ. พัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา
พ.ร.บ. พัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา
"....ศ.ดร.วิจิตร กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันปัจจุบันเทคโนโลยีทางการศึกษาของศธ.กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆในสังกัด เมื่อลงทุนแล้วอาจจะไม่คุ้ม จึงจะมีหน่วยงานกลางซึ่งเป็นองค์กรมหาชนขึ้นมาทำหน้าที่ประสาน ส่งเสริม วิจัยและพัฒนาทั้งคน เครื่องมือจะคุ้มค่ากว่า จะรวบรวมหน่วยงานต่างๆที่ดูแลด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาของศธ.ทั้งหมดแล้วจัดระบบใหม่สถาบันกลางที่เป็นองค์กรมหาชนนี้ เพื่อจัดและพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาและบุคลากรให้เกิดการใช้งานที่คุ้มค่า ..."

คำกล่าวบางตอนของการให้สัมภาษณ์ ของ นายวิจิตร ศรีสะอ้าน รมว.ศธ. เกี่ยวกับการเสนอร่าง พ.ร.บ. พัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา ข้างต้นนั้น เป็นความจริงแท้แน่นอน เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น การศึกษาของไทยถูกออกแบบมาให้มีการใช้สื่อการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนวิชาครูมา จะต้องผ่านรายวิชาที่ว่าด้วยโสตทัศนศึกษา หรือเทคโนโลยีการศึกษา อย่างน้อย 1 รายวิชา เพื่อให้สามารถมองเห็นแนวทางในการใช้สื่อกาเรียนการสอน

เมื่อผมออกมาทำงาน และเข้ามาอยู่ในวงการของงานสนับสนุนการสอนเกี่ยวกับเรื่องสื่อการเรียนการสอน หรือที่เมื่อก่อนนี้เรียกว่างานโสตทัศนศึกษา ที่ฝ่ายบริหารมองเห็นว่าเป็นงานที่ผู้ทำงานมีหน้าที่ถ่ายรูป และติดตั้งเครื่องขยายเสียง โดยที่มีการจัดบุคลากรที่มีทักษะด้านถ่ายรูป และจัดเรื่องเครื่องเสียงได้ มาทำงาน โดยท่านที่จัดการอย่างนั้นรับทราบกรอบงานของงานนี้เพียงเท่าที่ผมได้เขียนไว้เบื้องต้นแล้ว

แต่ในมุมมองของผมที่มองมาตลอดเวลาว่า งานโสตทัศนศึกษา นั้น ไม่ใช่มีเพียงถ่ายรูป และติดตั้งเครื่องขยายเสียงเท่านั้น แต่มันมีขอบข่ายงานที่กว้างกว่านั้น ที่บุคลากรที่มาทำงานด้านนี้จะต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกมากมาย ซึ่งถ้าเป็นไปได้ก็จะต้องถึงกับไปศึกษาเพิ่มเติมเฉพาะความรู้ด้านนี้กันมาเลยทีเดียว

และเมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโลยีก้าวล้ำนำหน้าคนใช้ จนคนใช้งานตามแทบไม่ทัน (ในขณะที่คนส่วนมากตามไม่ทันจริงๆ) จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้คนที่เรียนเฉพาะทางมาทำงานด้านนี้ ที่เปลี่ยนชื่อเป็นงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

แต่ความเป็นจริงกลับเป็นตรงกันข้าม ไม่มีสัญญาณบอกเลยว่าโรงเรียนจะได้บุคลากรเฉพาะทางในสาขานี้มาทำงานได้

ผมไม่ได้ดูถูกเพื่อนร่วมงานว่าไม่มีความสามารถที่จะพัฒนางานด้านนี้ แต่ผมมองว่างานด้านนี้ควรให้ผู้ที่เรียนรู้เฉพาะทางมาพัฒนางานน่าจะง่ายกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะความรู้ของคนที่เรียนมานั้นเป็นความรู้ที่ครบวงจรของการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา

การให้ครูแต่ละคนมาสร้างสื่อเพื่อการเรียนการสอนเองนั้นเป็นความฝันอันสูงสุด(เอื้อม) ทั้งนี้เพราะภาระงานของครูในปัจจุบัน ถ้าตั้งใจปฏิบัติจริงแล้ว แม้เวลาที่จะเป็นส่วนตัวก็แทบจะไม่มีอยู่แล้ว ถ้าให้สร้างสื่อเองด้วย ผมว่าจะกดขี่แรงงานครูมากเกินไป

น่าจะมีหน่วยงานกลางมารองรับให้เป็นเรื่องเป็นราว มีเจ้าหน้าที่ประจำรอรับงานเพื่อผลิตตามความต้องการของครู น่าจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในการที่จะให้ครูมีสื่อช่วยในการเรียนการสอน

เมื่อมีการผลักดันให้มี พ.ร.บ. พัฒนาเทคโนโลยการศึกษา ผมจึงแอบดีใจที่คิดว่าต่อไปนี้งานเทคโนโลยีการศึกษา โดยเฉพาะของเบญจมฯ น่าจะได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากรให้เป็นเรื่องเป็นราว เพื่อเป็นกำลังหลักให้กับครูจำนวนเกือบ 200 คน ให้สามารถสร้างสื่อของตนเองได้สำเร็จเสียที แม้ไม่เต็ม 100 ก็ยังดีว่ามีการเริ่มต้น

แต่ฝันก็คงต้องฝันต่อไป เพราะ พ.ร.บ. ฉบับนี้ยังไม่ผ่านการพิจารณาของสภา ...ก็หวังลึกๆว่า การผลักดันจะเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อมีรัฐบาลใหม่... เมื่อกฏหมายฉบับนี้ถูกประกาศใช้ ความชัดเจนของการจัดการสื่อเทคโนโลยีก็คงจะได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ให้สามารถจัดตั้งองค์กร เพื่อจัดดำเนินการผลิตสื่อเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเยาวชนต่อไป
Comments
No Comments have been Posted.
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< January 2025 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
    1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31    

No events.

BRR facebook
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2567(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

เบญจมฯสาร ฉบับที่ 53 (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2566 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานอาคารสถานที่ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA)
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional December 22 2024 13:30:56