:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
พ.ร.บ. พัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา
"....ศ.ดร.วิจิตร กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันปัจจุบันเทคโนโลยีทางการศึกษาของศธ.กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆในสังกัด เมื่อลงทุนแล้วอาจจะไม่คุ้ม จึงจะมีหน่วยงานกลางซึ่งเป็นองค์กรมหาชนขึ้นมาทำหน้าที่ประสาน ส่งเสริม วิจัยและพัฒนาทั้งคน เครื่องมือจะคุ้มค่ากว่า จะรวบรวมหน่วยงานต่างๆที่ดูแลด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาของศธ.ทั้งหมดแล้วจัดระบบใหม่สถาบันกลางที่เป็นองค์กรมหาชนนี้ เพื่อจัดและพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาและบุคลากรให้เกิดการใช้งานที่คุ้มค่า ..."
คำกล่าวบางตอนของการให้สัมภาษณ์ ของ นายวิจิตร ศรีสะอ้าน รมว.ศธ. เกี่ยวกับการเสนอร่าง พ.ร.บ. พัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา ข้างต้นนั้น เป็นความจริงแท้แน่นอน เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น การศึกษาของไทยถูกออกแบบมาให้มีการใช้สื่อการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนวิชาครูมา จะต้องผ่านรายวิชาที่ว่าด้วยโสตทัศนศึกษา หรือเทคโนโลยีการศึกษา อย่างน้อย 1 รายวิชา เพื่อให้สามารถมองเห็นแนวทางในการใช้สื่อกาเรียนการสอน
เมื่อผมออกมาทำงาน และเข้ามาอยู่ในวงการของงานสนับสนุนการสอนเกี่ยวกับเรื่องสื่อการเรียนการสอน หรือที่เมื่อก่อนนี้เรียกว่างานโสตทัศนศึกษา ที่ฝ่ายบริหารมองเห็นว่าเป็นงานที่ผู้ทำงานมีหน้าที่ถ่ายรูป และติดตั้งเครื่องขยายเสียง โดยที่มีการจัดบุคลากรที่มีทักษะด้านถ่ายรูป และจัดเรื่องเครื่องเสียงได้ มาทำงาน โดยท่านที่จัดการอย่างนั้นรับทราบกรอบงานของงานนี้เพียงเท่าที่ผมได้เขียนไว้เบื้องต้นแล้ว
แต่ในมุมมองของผมที่มองมาตลอดเวลาว่า งานโสตทัศนศึกษา นั้น ไม่ใช่มีเพียงถ่ายรูป และติดตั้งเครื่องขยายเสียงเท่านั้น แต่มันมีขอบข่ายงานที่กว้างกว่านั้น ที่บุคลากรที่มาทำงานด้านนี้จะต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกมากมาย ซึ่งถ้าเป็นไปได้ก็จะต้องถึงกับไปศึกษาเพิ่มเติมเฉพาะความรู้ด้านนี้กันมาเลยทีเดียว
และเมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโลยีก้าวล้ำนำหน้าคนใช้ จนคนใช้งานตามแทบไม่ทัน (ในขณะที่คนส่วนมากตามไม่ทันจริงๆ) จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้คนที่เรียนเฉพาะทางมาทำงานด้านนี้ ที่เปลี่ยนชื่อเป็นงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
แต่ความเป็นจริงกลับเป็นตรงกันข้าม ไม่มีสัญญาณบอกเลยว่าโรงเรียนจะได้บุคลากรเฉพาะทางในสาขานี้มาทำงานได้
ผมไม่ได้ดูถูกเพื่อนร่วมงานว่าไม่มีความสามารถที่จะพัฒนางานด้านนี้ แต่ผมมองว่างานด้านนี้ควรให้ผู้ที่เรียนรู้เฉพาะทางมาพัฒนางานน่าจะง่ายกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะความรู้ของคนที่เรียนมานั้นเป็นความรู้ที่ครบวงจรของการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา
การให้ครูแต่ละคนมาสร้างสื่อเพื่อการเรียนการสอนเองนั้นเป็นความฝันอันสูงสุด(เอื้อม) ทั้งนี้เพราะภาระงานของครูในปัจจุบัน ถ้าตั้งใจปฏิบัติจริงแล้ว แม้เวลาที่จะเป็นส่วนตัวก็แทบจะไม่มีอยู่แล้ว ถ้าให้สร้างสื่อเองด้วย ผมว่าจะกดขี่แรงงานครูมากเกินไป
น่าจะมีหน่วยงานกลางมารองรับให้เป็นเรื่องเป็นราว มีเจ้าหน้าที่ประจำรอรับงานเพื่อผลิตตามความต้องการของครู น่าจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในการที่จะให้ครูมีสื่อช่วยในการเรียนการสอน
เมื่อมีการผลักดันให้มี พ.ร.บ. พัฒนาเทคโนโลยการศึกษา ผมจึงแอบดีใจที่คิดว่าต่อไปนี้งานเทคโนโลยีการศึกษา โดยเฉพาะของเบญจมฯ น่าจะได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากรให้เป็นเรื่องเป็นราว เพื่อเป็นกำลังหลักให้กับครูจำนวนเกือบ 200 คน ให้สามารถสร้างสื่อของตนเองได้สำเร็จเสียที แม้ไม่เต็ม 100 ก็ยังดีว่ามีการเริ่มต้น
แต่ฝันก็คงต้องฝันต่อไป เพราะ พ.ร.บ. ฉบับนี้ยังไม่ผ่านการพิจารณาของสภา ...ก็หวังลึกๆว่า การผลักดันจะเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อมีรัฐบาลใหม่... เมื่อกฏหมายฉบับนี้ถูกประกาศใช้ ความชัดเจนของการจัดการสื่อเทคโนโลยีก็คงจะได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ให้สามารถจัดตั้งองค์กร เพื่อจัดดำเนินการผลิตสื่อเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเยาวชนต่อไป
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< May 2025 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
No events.
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT2)